ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
สถิติการใช้งาน (ตั้งแต่ 12 มกราคม 2554)
ผู้ใช้งานปัจจุบัน :
-
ผู้ใช้งานทั้งหมด :
-
ผู้ใช้งานวันนี้ :
-
หน้าเข้าชมทั้งหมด :
-
หน้าเข้าชมวันนี้ :
-

จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ลักษณะทางกายภาพนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขาป่าและที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไป ทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า ๑ มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ลงสู่แม่น้าเจ้าพระยาตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประวัติโดยสังเขป กล่าวถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์นั้นเริ่มจากชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อครั้งโบราณน่าจะชื่อว่าเมือง“เพชบุระ” ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาแปรเปลี่ยนเป็น “เพชรบูรณ์” กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด จากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่ามีร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมา จนกระทั่งถึงในสมัยประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการใช้ตัวอักษรในการบันทึก สื่อสารและถ่ายทอดนั้น พบว่ามนุษย์ในสมัยนั้น มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ในถ้ำ เพิงผา รู้จักเพาะปลูกพืชบางชนิด เลี้ยงสัตว์ มีเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ แบบง่ายๆ เชื่อในเรื่องธรรมชาติ และมีประเพณีการฝังศพ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่และมีเทคโนโลยีในการผลิต ที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นลำดับบริเวณที่ปรากฏร่องรอยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น พบหลายพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ ด้านทิศตะวันตกที่อำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน พบเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินขัด เช่น กำไลหิน และขวานหิน กำหนดอายุอยู่ในราว ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ด้านทิศใต้ที่อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และที่อำเภอศรีเทพ ซึ่งมีเมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งเป็นเมืองโบราณ ในยุคต้นประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุเก่าแก่ไปกว่า ๒,๐๐๐ ปี และยังถือได้ว่าแหล่งโบราณคดีที่พบบริเวณนี้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชุนชนโบราณในจังหวัดลพบุรีและบริเวณลุ่มแม่น้าป่าสักอีกด้วย บริเวณด้านทิศเหนือที่อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ในปัจจุบันได้พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ที่ฝังรวมกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับทำจากโลหะ แก้ว หิน และพบตะกรันโลหะ ๒ ซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านโลหกรรมในพื้นที่แถบนี้ ต่อมา เมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษรแล้ว ได้ถือว่าเข้าสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยอาจเริ่มนับตั้งแต่สมัยที่รับวัฒนธรรมทวารวดี หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในช่วงนี้ได้แก่ที่เมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบและมีร่องรอยการติดต่อสัมพันธ์กับแหล่งชุมชน ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบทวารวดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา มีศาสนสถานที่เป็นสถูปเจดีย์เนื่องในศาสนาพุทธ เช่น เขาคลังใน และเขาคลังนอก โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ทั้งธรรมจักร พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์จำนวนมากมีจารึกอักษรปัลลวะและหลังปัลลวะ จารึกเนื้อหาเกี่ยวศาสนาเป็นส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง ๑,๒๐๐–๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงประมาณ ๘๐๐– ๙๐๐ ปีมาแล้ว อิทธิพลของเขมรได้แผ่มาถึงเมืองศรีเทพเช่นเดียวกันกับ เมืองโบราณในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยมีรูปเคารพและปราสาทอิทธิพลเขมรสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู เช่น ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ฤาษี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งเขมรที่แผ่ขยายอำนาจมาถึงยังดินแดนแถบนี้ เมืองศรีเทพก็เจริญอยู่เป็นช่วงสุดท้าย และหลังจากนั้นร่องรอยของเมืองเมืองนี้ก็ได้ขาดหายไป

สมัยสุโขทัย

ในช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นด้านตะวันออกเฉียงใต้ พ่อขุนรามคำแหงได้แผ่ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการแผ่ขยายมาถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของสุโขทัย ตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ ด้านที่ ๔ และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ วัดอโศการาม ด้านที่ ๒ พ.ศ. ๙๔๙ จากศิลาจารึกหลักที่ คำว่า“ลุมบาจาย” นั้น เชื่อว่าได้แก่เมืองหล่มเก่า และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ คำว่า “วัชชปุระ” เชื่อว่าเป็นเมืองเพชรบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าอาณาเขตของกรุงสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย (พ.ศ. ๙) มีเมืองเพชรบูรณ์เป็นรัฐสีมา ก่อนที่กรุงสุโขทัยจะรุ่งเรืองขึ้นมานั้น จารึกสุโขทัยหลักที่ ๒(จารึกวัดศรีชุม) ได้ปรากฏชื่อ พ่อขุนผาเมือง (โอรสพ่อขุนนาวนำถม ผู้ครองเมืองราด) ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว ทำการยึดเมืองสุโขทัยคืนจาก ขอมสมาสโขลญลำพง และได้ให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยต่อไป ชาวเพชรบูรณ์จึงเคารพนับถือและได้สร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้ที่อำเภอหล่มสัก เพื่อรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์สืบไป หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดว่า "เมืองเพชรบูรณ์" เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ของวัดมหาธาตุเมืองเพชรบูรณ์ เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ ของสุโขทัย เมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้พบศิลปวัตถุมากมาย เช่น เครื่องสังคโลกของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน

สมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยา เมืองเพชรบูรณ์ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ในช่วงพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ. ๙๙-๒๐๓) ได้กล่าวถึงศักดินาข้าราชการที่มียศสูงสุด มีศักดินาหนึ่งหมื่น หนึ่งในนั้น ได้แก่ พระยาเพชรรัตน์สงคราม (ประจำเพชรบูรณ์) และในช่วงเวลาเดียวกัน เมืองศรีถมอรัตน์(ศรีเทพ)ขึ้นทำเนียบเป็นหัวเมืองรวมอยู่ด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นที่ พระศรีถมอรัตน์ ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์ ซึ่งเป็นเขาสำคัญ ของเมือง เมืองเพชรบูรณ์ยังถูกกล่าวถึงอีกหลายครั้งในฐานะหัวเมืองสำคัญ ดังปรากฏในพงศาวดารไทยรบพม่า สรุปความได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ถูกพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาตี ได้มีกองทัพจากพระไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ในฐานะพันธมิตร ยกทัพมาช่วยทางด่านนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์

ในสมัยพระมหาธรรมราชา เกิดเหตุการณ์พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมรยกทัพมารุกรานหลายครั้ง ใน พ.ศ. ๒๑๒๕ พระยาละแวกส่งทัพโดยมีพระทศราชาและพระสุรินทรราชาเข้าตีเมืองนครราชสีมา เมื่อได้แล้วจึงเตรียมเคลื่อนทัพไปตีเมืองสระบุรี ในคราวนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ให้พระศรีถมอรัตน์ (เจ้าเมืองศรีเทพ สมัยนั้นเรียกว่าเมืองท่าโรง) และพระชัยบุรี (เจ้าเมืองชัยบาดาล) เป็นผู้นำกองทัพหัวเมือง เข้าร่วมขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์ว่า เมืองเพชรบูรณ์ สร้างขึ้นมา ๒ ยุคบนบริเวณเดียวกัน ยุคแรกคงอยู่ในเวลาที่เมืองสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครอง เพราะสร้างเมืองเอาลำน้ำป่าสักไว้กลางเมืองลักษณะเดียวกับเมืองพิษณุโลก แนวกำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ ๘๐๐ เมตร ยุคที่ ๒ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยมีป้อมและกำแพงลักษณะเดียวกับป้อมกำแพงเมืองที่สร้างที่ลพบุรี เป็นแต่ร่นแนวกำแพงเมืองเล็กลงกว่าเดิม๔

สมัยธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓ ๘ กองทัพพม่าโดยอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพมาตีกรุงธนบุรี ได้ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ตีฝ่านำทัพออกมาได้ และมาชุมนุมพักทัพสะสมเสบียงที่เมืองเพชรบูรณ์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์และศรีเทพ(สีเทพ) ยังปรากฏในเอกสารสมุดไทยดำใบบอกข่าวการสวรรคตของรัชกาลที่ ๒ ในฐานะหัวเมืองขึ้นกรมมหาดไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการยกฐานะของเมืองและเปลี่ยนชื่อเมืองจากศรีเทพเป็นวิเชียรบุรี และสร้างเมืองหล่มสักขึ้น โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เดิมบริเวณหล่มเก่ามี“เมืองลม” หรือ “เมืองหล่ม” ในสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองที่ชาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางมาอาศัยอยู่จำนวนมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนแปลงนามเจ้าเมืองเพชรบูรณ์และเมืองวิเชียรบุรี ซึ่งใช้ชื่อเดิมมาแต่สมัยอยุธยา

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ขึ้นเป็นมณฑล ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ มณฑลเพชรบูรณ์ ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระเนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ การคมนาคม กับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสักกับเพชรบูรณ์๕ ผู้บริหารราชการเป็นตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลผู้ดำรงตำแหน่งคนแรก คือพระยาเพชรรัตน์สงคราม (เฟื่อง) พ.ศ.๒๔๔๗ ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ยุบอีกครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้น มี ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า (หล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน๖ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๖ ได้ยกเลิกมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีหลักฐานเอกสารแสดงให้เห็นว่าทุกอำเภอมีคนหลาย เชื้อชาติอาศัยอยู่คละกันไป ทั้งชาวจีน พม่า ลาว เขมร เงี้ยว แขก มอญ มีอาชีพทำไร่ยาสูบ ทำนา ทำไร่อ้อย และเลี้ยงไหม

สมัยนครบาลเพชรบูรณ์

ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้วางแผนการจัดสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แทนกรุงเทพฯ โดยให้กรุงเทพฯเป็นเมืองท่า ในขณะเดียวกันก็ใช้เพชรบูรณ์เป็นฐานทัพในการขับไล่ญี่ปุ่นด้วย และตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ห่างจากกรุงเทพ ๓๔๖ กิโลเมตร สามารถติดต่อกับประเทศจีนโดยผ่านพม่าและลาวได้สะดวกเช่นกัน นอกจากนี้แล้วหากเกิดเหตุการณ์ในภาวะสงคราม การขัดแย้งระหว่างประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ในขณะนั้น เพชรบูรณ์จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย แต่เนื่องจากระเบียบการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ต้องยกเลิกไป แต่อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาปรับปรุง และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งอาคารสถานที่ขึ้นมากมายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ช่วงเวลานั้น และทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๒๕ บริเวณพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ต้องการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองได้แทรกซึมและครอบครอง มีผู้ก่อการร้ายเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล หลังจากที่สู้รบเป็นเวลา ๑๔ ปีเศษ รัฐบาลจึงได้รับชัยชนะ ปัจจุบันยังมีสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์บนเทือกเขาค้อที่เคยเป็นสมรภูมิการสู้รบทางอุดมการณ์และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมืองเพชรบูรณ์ก็มีรูปแบบการปกครองดังเช่นในปัจจุบัน

กล่าวโดยสรุปได้ว่า พื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีหลักฐานการปรากฏอยู่ของชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำ ป่าสักมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากนั้นได้รับอารยธรรมจากภายนอก ได้แก่วัฒนธรรม ทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณ ทำให้ชุมชนเหล่านั้นมีพัฒนาการด้านต่างๆจนกลายเป็นสังคมเมือง ขนาดใหญ่สืบมา เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นและในสมัย กรุงศรีอยุธยา มีเมืองเพชรบูรณ์และเมืองศรีเทพเป็นเมืองสำคัญและต่อเนื่องจนถึงช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเขตการปกครองอีกหลายครั้ง จนครั้งหนึ่งเมืองเพชรบูรณ์เกือบมีฐานะเป็น เมืองหลวงของประเทศไทยแทนกรุงเทพฯ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และหลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงพัฒนาด้านต่างๆมากมาย จนกระทั่งเป็นเมืองเพชรบูรณ์ในปัจจุบัน

***************************************

นายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์

นักโบราณคดี ปฏิบัติการ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ค้นคว้าเรียบเรียง