วัดโฆษาร่วมกับชุมชนตำบลห้วยไร่ประกอบไปด้วยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ในตำบลห้วยไร่และใกล้เคียง ได้จัดให้มีการนำรวงข้าวมาประดับให้เป็นรูปเจดีย์หลังจากเสร็จสิ้นจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงคุณของแม่โพสพหรือแม่พระโพสพ โดยถือคติความเชื่อว่า
“แม่พระโพสพเป็นเทพเจ้าที่คอยดูแลรักษานาข้าวให้มีความอุดมสมบูรณ์”จนพวกเราได้นำมารับประทานเป็นอาหารมาถึงปัจจุบัน จากความเชื่อและความสำคัญในความเป็นมาดังกล่าวของแม่พระโพสพ ชาวไทยจึงได้มีพิธีกรรมต่างๆทั้งก่อนทำนาและขณะกำลังข้าวกำลังเติบโตตลอดจนหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเป็นการบูชาระลึกความสำคัญของแม่พระโพสพ
จากความเชื่อและความสำคัญดังกล่าว ทางวัดโฆษาจึงได้ร่วมกับชุมชนตำบลห้วยไร่ ประกอบไปด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในตำบลห้วยไร่และใกล้เคียง โดยได้เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการของการหว่านกล้า การปักดำและการเก็บเกี่ยวข้าว จากนั้นก็นำเอาข้าวมาแยกใบข้าวออกจากรวงข้าวแล้วนำเอารวงข้าวมาประดับเป็นรูปเจดีย์รวงข้าว แล้วก็ทำพิธีสมโภชเฉลิมฉลองโดยการจัดขบวนแห่อันประกอบไปด้วยขบวนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการในการทำนาจนได้เมล็ดข้าว เสร็จแล้วก็ประกอบทำพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล เช่น พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน
บนเจดีย์ข้าวเปลือก พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีเวียนเทียนรวงข้าวรอบเจดีย์ข้าว พิธีปฏิบัติธรรมรอบเจดีย์ข้าวนิทรรศการความสำของแม่พระโพสพตลอดจนเป็นมาของเจดีย์ข้าวเปลือกวัดโฆษา เป็นต้น ตลอดจน
การจัดพิธีการฉลองสมโภชเจดีย์ข้าวเปลือก โดยจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดช่วงการตั้งเจดีย์ข้าวฉลอง
เพื่อให้ผู้ที่สนใจมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานบนเจดีย์ข้าวเปลือกและเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงคุณ
ของแม่พระโพสพ โดยจะจัดตั้งแสดงไว้เป็นเวลาประมาณ ๑ เดือน คือระหว่างประมาณช่วงต้นเดือนธันวาคมถึงสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี เสร็จแล้วก็จะนำเมล็ดข้าวที่ได้จากเจดีย์ข้าวไปจำหน่าย เพื่อนำรายได้
หลังหักค่าใช่จ่ายมาใช้เพื่อสาธารณกุศลด้านต่าง ๆ ต่อไป
จึงถือได้ว่างานประเพณีบุญคูณลาน โดยการก่อเป็นเจดีย์ข้าวเปลือกของชาวชุมชนตำบลห้วยไร่
ถือว่าเป็นการส่งเสริมสร้างคุณค่าที่ควรสืบสานตำนานการทำนาและการทำเจดีย์ข้าวเปลือก อันนำมาซึ่ง
ความสามัคคีแก่กลุ่มที่มาร่วมงานและผู้ที่มามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ เพื่อการสืบต่อให้มียาวนานยิ่งๆขึ้นไป