กลองยาวประยุกต์ อําเภอแวงใหญ่ นายทองปาน ท้าวนิล ที่อยู่ 102 หมู่ที่ 4 วัดทรงธรรม บ้านหนองกระรอก อําเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่าการแสดงกลองยาวเป็นศิลปะการแสดง ฟ้อนเป็นคณะใหญ่ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบุญคูณลาน จัดแสดงรําวงย้อนยุคในโอกาสเฉลิมฉลองต่างๆ ประวัติความเป็นมา/การสืบทอด คณะกลองยาว ตามหมู่บ้าน ในสมัยก่อน ใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยใช้กลอง ประมาณ 3 - 5 ลูก ไม่มีพิณหรือแคนบรรเลง ลายประกอบ อาศัยลวดลายของ จังหวะกลอง และลีลาการที่ฉาบใหญ่เป็นสิ่งดึงดูด เมื่อคณะกลองยาว พัฒนาขึ้นเป็นคณะกลองยาวจริงๆ เพื่อดึงดูดให้เจ้าภาพงานมาว่าจ้างบางคณะ จึงได้เพิ่มจํานวนกลองขึ้นมา ให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้น เช่น 10 ลูกบ้าง 14 ลูกบ้าง 20 ลูกบ้าง และนอกจากจะให้ผู้ชายตีกลองบางคณะอาจใช้ผู้หญิงตีก็มี แต่ในยุคนั้น ยังเป็นการโชว์กลองยาวอยู่ จึงยังไม่มีพิณ แคนบรรเลงประกอบ และยังไม่มีขบวนนางรําฟ้อนประกอบคนตีกลอง จะฟ้อนไปด้วยตีกลองไปด้วยคณะกลองยาวในยุคปัจจุบัน ได้นําหลายๆ อย่างประยุกต์ เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น นั่นคือ นอกจากใช้การโชว์กลอง เป็นจุดขายแล้ว ยังขายความบันเทิงอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้พิณ แคนบรรเลงประกอบ ใช้อิเล็กโทนบรรเลงประกอบ ใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อให้เสียงพิณ หรืออิเล็กโทนดังไกลมีขบวนนางรําฟ้อนประกอบขบวนแห่ มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ และบางคณะ อาจมีการจัดรูปแบบขบวน ตกแต่งรถสําหรับขบวนแห่แบบต่างๆ