ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 12' 7.6738"
16.2021316
Longitude : E 102° 45' 2.7961"
102.7507767
No. : 196717
ภูมิปัญญาอาหารอีสาน น้ําพริกปลาร้า
Proposed by. ขอนแก่น Date 17 June 2022
Approved by. ขอนแก่น Date 17 June 2022
Province : Khon Kaen
0 493
Description

น้ําพริกปลาร้านางสุลภา เถาทวงษ์ อายุ 50 ปี 145 หมู่ 12 บ้านหนองขาม ตําบลโนนสมบรณ์ อําเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่า ด้วยท้องถิ่นอําเภอบ้านแฮด มีปลามากมายทั้งปลาเล็กปลาใหญ่ และสามารถจับปลาได้จํานวนมาก คนอีสานจึงมีแนวคิดแปรรูปอาหารด้วยวิธีการนําปลามาหมักในภาชนะปิดสนิทใช้ระยะเวลาหาร หมักเฉลี่ย 3-4 เดือน ซึ่งคนอีสานจะเรียกผลผลิตที่ได้จากกระบวนการหมักนี้ว่า “ปลาร้า” การปรุงอาหารของชาวอีสาน มักใส่ปลาร้าเป็นส่วนประกอบ ทําให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานและในเนื้อปลาก็มีโปรตีนด้วย การแปรรูปอาหารจากปลาร้าที่มีอยู่มาทําเป็น “น้ําพริกปลาร้า” หรือ “แจ่วบอง”ไว้สําหรับรับประทานกันภายในครอบครัว รวมถึงการนําความรู้ ทักษะมาพัฒนาเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ชุมชนของตนเอง แจ่วบองจึงเป็นอาหารหลักของชาวบ้านไทยอีสาน ครั้นในวิถีชีวิตของชาวอีสานเวลาที่จะต้องไปไร่ไปนา คนอีสานจะมีน้ําพริกปลาร้าติดไปด้วย เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหาร แจ่วบองเป็นการแปรรูปจากสมุนไพร ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก กระเทียม หอมแดง ปลาร้า เพิ่มรสชาติ โดยการ เติม เกลือ และน้ําตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมขึ้น แจ่วบองจึงเป็นน้ําพริกพื้นบ้านที่ให้คุณค่า ทางโภชนาการมีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ

วัตถุดิบการทําอาหาร ประกอบด้วย :

1. ปลาร้า : ปลาร้าอย่างดีทําจากปลาช่อน ปลาดุก นํามาล้างน้ําอุ่นที่เตรียมไว้ ล้างให้สะอาดนําไปฝั่งแดด พอหมาด ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาร้ากระเด็นเวลาสับหรือบดปลาร้าที่พึ่งแดดพอหมาด ๆ นํามาขูดเอาเนื้อแล้วนํามาบดหรือสับให้ละเอียดนําปลาร้าที่สับหรือบดละเอียดแล้ว นําไปนึ่งให้สุก

2. พริกแห้ง : น้ําพริกแห้งมาเด็ดขั้วออกแล้วล้างน้ําให้สะอาด ฝั่งแดดให้แห้ง พริกที่ตากแล้วคั่วให้สุกพอหอม ระวังอย่าให้พริกไหม้ พริกที่คั่วสุกแล้วนําไปโขลกหรือบดให้ละเอียด

3. หอม กระเทียมแห้ง : น้ําหอมแห้งกระเทียมแห้งแกะเปลือกออกให้สะอาด นําไปล้างแล้วฝั่งแดดพอแห้ง จากนั้นนําหอมกระเทียมที่พึ่งแดดเข้าเครื่องอบ หรือคั่วให้สุกโขลกหรือบดให้ละเอียด

4. ข่า : นําข่ามาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นๆ สับเป็นชิ้นเล็กๆ นําไปโขลกหรือบดให้ละเอียด เข้าเครื่องอบ หรือคั่วให้สุก

5. ตะไคร้ นําตะไคร้มาล้างน้ําให้สะอาด นั่นฝอยโขลกหรือบดให้ละเอียด แล้วนําเข้าเครื่องอบหรือคั่วให้สุก

6. ใบมะกรูด : เด็ดใบมะกรูดแล้วนํามาล้างน้ําให้สะอาด ฝั่งลมพอประมาณ และนํามาหันฝอยเข้าเครื่องอบ หรือคั่วให้สุกกรอบ แล้วมาโขลกหรือบดให้ละเอียด

7. มะขามเปียก นํามะขามต้มน้ําให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเนื้อมะขามเปียกมากวน

วิธีทํา

นําปลาร้าที่นึ่งสุกแล้วใส่ในครกหรือภาชนะที่เตรียมไว้หลังจากนั้นตามด้วย พริกแห้ง หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด มะขามเปียก คลุกเคล้าเข้ากันคนให้ทั่วชิมรสแล้วนําไปบรรจุภาชนะรับประทานกับผักสด ผักลวก เทคนิคในการทําน้ําพริกปลาร้า ในส่วนผสมของปลาร้าจะใช้มะขามเปียกแทนน้ํามะนาว เนื่องจากถ้าใช้น้ํามะนาวจะทําให้น้ําพริกเสียไวขึ้น เมื่อผสมปลาร้าสับกับเครื่องปรุงได้สัดส่วนแล้วทําให้สุก เก็บไว้ในอุณหภูมิที่เย็นจะรักษารสชาติและคุณภาพไว้ได้นานเป็นเดือน นอกจากนั้น ปลาร้าที่นํามาทําแจ่วบองต้องเป็นปลาที่ผ่านการหมักมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ส่วนปลาที่ใช้หมักควรเป็นปลาช่อน หรือ ปลากระดีเพราะมีเนื้อนุ่มและหาได้ง่ายในท้องตลาด น้ําพริกปลาร้าจัดได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทยทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทุกครัวเรือนจะทําไว้รับประทานกันเองเป็น กันทุกครัวเรือน เพียงแต่ว่าใครจะมีสูตรในการทํารสชาติที่อร่อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ละคน ซึ่งจะมีพืชสมุนไพรต่างๆ เป็นส่วนผสมไม่ว่าจะเป็น หอม กะเทียม ข่า ตะไคร้ พริก มะขามเปียกซึ่งล้วนแล้วแต่ให้สรรพคุณในการเป็นยาสมุนไพร สามารถนํามาทําเป็นอาชีพสร้างรายได้กว่า 25,000 บาทต่อปี ให้กับกลุ่มแม่บ้านบ้านหนองขาม หมู่ 12 ตําบลโนนสมบูรณ์ อําเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น และตามงานเทศกาล ต่างๆ ของอําเภอ จังหวัด และตามความต้องการ

Location
Amphoe Ban Haet Province Khon Kaen
Details of access
หนังสือมรดกภูมิปัญญาอีสาน ขอนแก่น
Email khonculture@gmail.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่