รําวงย้อนยุค คณะฟ้าอมรย้อนยุคนายชัยชาติ บุตรแสง แหล่งภูมิปัญญา : โรงเรียนบ้านคําแมด หมู่ 2 ตําบลคําแมด อําเภอซําสูง จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่าการแสดงรําวงย้อนยุค หรือ ย้อนหยุด เป็นการแสดง ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ทางความสนุกสนานคู่ประเทศไทย ซึ่งรําวงแต่ละวงนั้นมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปตามบริบท ในพื้นที่ แต่ที่จะพบได้เหมือนกันคือ จังหวะสามช่า ที่เล่นด้วยเพลงสนุกสนาน ครบรอบ 1 เพลงประมาณ 3 - 4 นาที มีนกหวีดเป็นสัญญาณการหยุดช่วง จึงเรียกการแสดงแบบนี้ว่ารําวงย้อนหยุด ประกอบกับในปัจจุบันการแสดงนี้หาพบได้ยากเด็กรุ่นใหม่จึงเรียกว่ารําวงย้อนยุค “คณะฟ้าอมรย้อนยุค” มีการประยุกต์ในด้านเครื่องดนตรี โดยใช้การเปิดเพลงผ่านเครื่องขยายเสียงเป็นบทเพลงดังในอดีต ประกอบกับนางรําในคณะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีความชํานาญในการรําวง แบบโบราณย้อนยุค การแต่งกายเป็นเสื้อลายดอก สวมกระโปรงบานสั้น สวมถุงเท้า รองเท้าโดยมีคนควบคุมเครื่องเสียง และควบคุมรอบเพลงรําวง เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้านในอดีตที่ร่วมกันเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี นิยมเล่นกันในระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เดิมเรียกว่า “รําโทน” เพราะใช้โทนเป็นเครื่องดนตรีที่ประกอบจังหวะ มีกรับและนิ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่ไม่มีเนื้อร้องผู้รําก็รําไปตามจังหวะโทน ลักษณะการรําก็ไม่มีกําหนดกฎเกณฑ์ เพียงแต่ย่ําเท้าให้ลงจังหวะโทนต่อมามีผู้คิดทํานองและบทร้องประกอบจังหวะโทนขึ้น พัฒนาเป็น “รําวง” มีลักษณะคือมีโต๊ะตั้งอยู่กลางวง ชาย - หญิงรําเป็นคู่ๆ ไปตามวงอย่างมีระเบียบ เรียกว่า “รําวงพื้นเมือง” เล่นได้ทุกงานเทศกาล ทุกฤดูกาล หรือจะเล่นกันเองเพื่อความสนุกสนาน รําวงย้อนยุค คณะฟ้าอมรย้อนยุค ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2557 โดยกลุ่มแม่บ้านคณะครูโรงเรียนบ้านคําแมดร่วมกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 และ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีวิถีไทยอีสานเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชนด้วย โดยสมาชิกนางรํา เน้นผู้สูงอายุอายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป มีการแต่งกายย้อนยุค และดนตรี เพลงก็เป็นเพลงเก่า เพลงในอดีตเช่นกัน เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนและทําให้ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้แสดง 25 คน เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ ได้แก่ กลอง และอุปกรณ์ เครื่องเสียงสําหรับเปิดเพลงคาราโอเกะ