ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 29' 35.619"
16.4932275
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 25' 59.8382"
102.4332884
เลขที่ : 197612
รําวงย้อนยุค อำเภอหนองเรือ
เสนอโดย ขอนแก่น วันที่ 25 ตุลาคม 2565
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 25 ตุลาคม 2565
จังหวัด : ขอนแก่น
0 393
รายละเอียด

รําวงย้อนยุคนายบุญหนัก สาดา ที่อยู่ 32/2 บ้านยางคํา หมู่ที่ 13 ตําบลยางคํา อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นได้เล่าว่า รําวงย้อนยุคคองก้าเป็นศิลปะการเต้นรําของคนหนุ่มสาวชาวต่างประเทศ เข้าใจว่าได้มาจากชาว แอฟริกา ชนเผ่าซูลู ประมาณหลายพันปีมาแล้วเมื่อชนเผ่าซูลูไปล่าเนื้อ เช่น กวางป่า แล้วจึงชักชวนกันมาย่างเนื้อสัตว์ป่า เป็นอาหารหมูป่าเป็นต้นแล้วจะชักชวนกันมาก่อกองไฟกองใหญ่ตอนเย็นๆ ย่างเนื้อเนื้อสัตว์ป่าที่ได้ทํากินแก้มกับเหล้า

เมื่อกินแล้วก็มีการละเล่นเต้นรํารอบกองไฟ เหมือนกับการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือทุกวันนี้ต่อมาการเต้นรํารอบกองไฟนี้ ได้ถูกนํามาเผยแพร่ถึงทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย

ในสมัยท่านจอมพล ป. พิบูลสงครามอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยขณะที่ท่านไปตรวจเยือนหน่วยทหารไทย อยู่ตามค่ายชนบทต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอีสาน หลายจังหวัด ก็จะออกไปเยี่ยมเยือนชาวบ้าน ตามชนบท ตอนเย็นจะมีกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้านมาเต้นรําต้อนรับนายกรัฐมนตรีเป็นจังหวะรําวงคองก้าไปตามจังหวัดต่างๆ ประชาชนได้ฝึกหัดเต้นรําและขยายไปยังตําบลหมู่บ้านต่างๆ สืบต่อมาจนทุกวันนี้ หมอลําหมู่ย้อนยุคเรื่องสังข์สินไช วงย้อนยุคคองก้ามีเนื้อเพลงแสดงให้เห็นการสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่การดําเนินชีวิต หรือแม้การกล่าวถึงผู้นําประเทศ การกล่าวถึงผู้นําในยุคจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นต้น การนันทนาการในกลุ่มชุมชน และหมู่บ้านมีการผ่อนคลาย ยามว่างจากการทํานา ทําไร่ สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มคน สังคมและชุมชนมีองค์ประกอบ คือ ดนตรี แซก ทรัมเป็ต คีย์บอร์ด ออร์แกน (ตามความเหมาะสม) กลองชุด กลองทอมบ้า ฉิ่ง ฉาบ สามารถสร้างรายได้ของคณะ จํานวน 4,000 บาท/ครั้ง เฉลี่ยจํานวน 25,000 บาท/ปี

สถานที่ตั้ง
อำเภอ หนองเรือ จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อีเมล์ khonculture@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่