ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 3.1093"
14.3508637
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 6' 44.6648"
100.1124069
เลขที่ : 197475
งานปิดทองประจำปีหลวงพ่อแสงสว่างฟ้า
เสนอโดย สุพรรณบุรี วันที่ 28 กันยายน 2565
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 28 กันยายน 2565
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 447
รายละเอียด

ประวัติหลวงพ่อแสงสว่างฟ้า(จากแผ่นกระดานภายในโบสถ์ วัดดาว ได้เขียนเล่าประวัติ หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า)

หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า ลักษณะเดิมท่านเป็นท่อนๆ มีด้วยกัน 3 ท่อน คือ ช่วงท่อนขา ท่อนตัว และ ท่อนศรีษะ เป็นเนื้อหินทราย ปางมารวิชัย รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 (อายุกว่า 500 ปี) ตั้งกระจัดกระจายอยู่หลังโคกร้างวัดดาว ถามคนรุ่นเก่าๆ ไม่ทราบอยู่มานานเท่าไร ใครเป็นผู้นำมา มีมาก่อนที่จะสร้างวัด (วัดร้างอยู่ประมาณ 120 ปี เริ่มสร้างวัดขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 )

พ.ศ. 2477 สมัยพระอาจารย์ล้น เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างอุอุโบสถ์ที่โคกร้าง วัดดาว (หลังปัจจุบันนี้) โดยมีพระอาจารย์หมก มาจากวัดป่าพฤกษ์ ช่วยกันดำเนินงานก่อสร้าง พร้อมด้วยชาวบ้านวัดดาวสมัครสมานสามัคคีร่วมด้วยช่วยกันจนสำเร็จ

พ.ศ. 2478 ได้มีคุณพ่อลี ซื้อประเสริฐ บ้านอยู่เหนือวัดดาว เข้ามาอุปสมบท และจำพรรษา อยู่ที่วัดดาว ได้มีจิตศรัทธาอัญเชิญชิ้นส่วนต่างๆ ของท่านนำมาประกอบเป็นองค์ ประดิษฐานไว้ที่หน้าอุอุโบสถ์ ของวัดดาว แล้วฉาบปูนปั้นครอบองค์เดิมไว้ มีหน้าตักกว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว สูง ๔ ฟุต ๖ นิ้ว รูปลักษณะดังที่ปรากฏเห็นกันในปัจจุบันนี้ และมีชื่อเรียกมาตั้งแต่นั้นว่า “หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า”

หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า เป็นที่เคารพ บูชา กราบไหว้ ของชาวบ้านวัดดาว และชาวบ้านทั่วไป กลางเดือนสี่จะมีงานประจำปีนมัสการ - ปิดทอง หลวงพ่อแสงสว่างฟ้าเป็นประจำทุกปี

ความเชื่อ ของชาวบ้านที่มีต่อหลวงพ่อแสงสว่างฟ้า(คัดลอกมาจาก facebookกลุ่มภาพเก่า เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ (สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน)โดย คุณนพนันท์ วรรณพฤกษ์ หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า ท่านเกลียดพวก "พม่า ในอดีต" ณ วัดดาว อำเภอบางปลาม้า หลวงพ่อไม่ได้เป็นพระประธานในอุอุโบสถ์ของวัดดาว ท่านประดิษฐานอยู่ด้านหน้าผนังหน้าอุอุโบสถ์ ตัวท่าน เป็นเศษพระพุทธรูปที่ถูกพวก "พม่า" ทำลาย อยู่ที่วัดโคกกุ่ม (วัดร้าง) ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว ในปัจจุบัน เป็นชิ้นส่วน ๓ ชิ้น จากต่างองค์กันมาประกอบรวม เป็นองค์เดียวกัน คือ ส่วนของ เศียร (ส่วนของเศียรพระพุทธรูป) อุระ (อก หรือ ทรวง) และชานุ (ขา หรือ เข่า) โดยมีผู้นำมาสร้างประกอบตามประวัติวัดดาว เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนแถบนี้ ใกล้ ไกล เคารพกราบไหว้ กันมากมาย หลายคน บนบานสานกล่าวกันได้สำเร็จ ในกลางเดือน ๔ ของทุกๆ ปี วัดดาว ได้กำหนดจัดงานประจำปี นมัสการ - ปิดทอง หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า วัดดาวมีกำหนดระยะเวลา ๕ วัน ๕ คืน เป็นงานประจำปี ที่ปฏิบัติสืบมาแต่สมัยโบราณ อลังการยิ่งกว่างานปิดทองฝังลูกนิมิตอีก มหรสพใด ๆ ที่จะมาทำการแสดงภายในวัดดาวจะรู้กันว่า ห้ามเล่นหรือแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับพม่า ๔๐ กว่าปีมาแล้ว เคยมีลิเกคณะ "จำรูญ ศิษย์คุณ ป " จะด้วยไม่รู้ หรืออยากลองดี ก็ไม่ทราบ ทำการแสดงลิเกเกี่ยวกับเรื่องของพม่า ขณะเล่น ลมพายุ ได้พัดฉากลิเกขาด ตู้ลำโพงล้มแตกพังทำการแสดงต่อไม่ได้ ลิเกยุคนั้น เช่น พงษ์ศักดิ์ สวนศรี , อุดมพร วัยรุ่น, ก้าน ระเวงจิต ,บุญชู หงส์เงิน ,รวมมิตร บ้านแพน , คณะอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างก็รู้ และจะไม่ทำการแสดง เรื่องที่เกี่ยวกับพม่าภายในวัดดาวเด็ดขาด แม้แต่ในยุคปัจจุบัน ต่างด้าว พวกพม่า เยอะมาก เวลาวัดดาวจัดงาน พวกต่างด้าวจะเข้าไปเที่ยวในงานกัน แต่ทุกคนจะไม่เข้าไปกราบไหว้หลวงพ่อแสงสว่างฟ้ากันเลย ต่างบอกว่า กลัวหลวงพ่อแสงสว่างฟ้าตาท่านดุมาก ๆ เหมือนกับท่านจะไล่ให้ไปจากที่นี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2558พวกต่างด้าว (พม่า) ได้เข้าไปลักขโมยมะพร้าวอ่อน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดดาว (อนามัย) ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณลานวัดดาวหน้าอุโบสถ์ ในช่วงงานประจำปีกลางเดือน ๔ เอาไปกิน หลังจากนั้น เกิดอาการเสียสติ เจ้านายเขาสอบถามไล่เรียงจึงได้ความว่า ไปลักขโมยมะพร้ามอ่อนมากิน จึงต้องให้เจ้าตัวไปจุดธูปขอขมา ที่โคนต้นมะพร้าว อาการถึงดีขึ้น มีเรื่องราวต่างๆ ของหลวงพ่อแสงสว่างฟ้า อีกมากมาย

สถานที่ตั้ง
วัดดาว
ตำบล วัดดาว อำเภอ บางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สาวนิษฐกานต์ คุณวัชระกิจ อีเมล์ nitthakan_kae@yahoo.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่