ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 58' 18.2485"
15.9717357
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 37' 17.836"
102.6216211
เลขที่ : 196951
ภูมิปัญญาอาหารอีสาน ปลาส้ม
เสนอโดย ขอนแก่น วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : ขอนแก่น
0 307
รายละเอียด

ปลาส้มนางเยียนจรา สามหาดไทย 14 หมู่ที่ 5 บ้านโนนฆ้อง ตําบลบ้านผือ อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่า คนอีสาน รู้จักการนําปลามาถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคมาช้านาน วิธีการถนอมอาหารประเภทปลาของชาวอีสาน ได้แก่ การทําปลาส้มซึ่งมีรสชาติอร่อยและเก็บไว้กินได้นานขึ้น เมื่อก่อนเป็นการทํากินเองภายในครัวเรือนและแจกจ่ายญาติพี่น้อง แลกข้าวและอาหารอื่นที่ไม่มีในหมู่บ้านเป็นของฝาก ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องมือหาปลาทําให้สามารถจับปลาจากเขื่อนอุบลรัตน์ได้มากขึ้น จึงได้มีการทําปลาส้มไว้ขาย รสชาติมีความอร่อยถูกใจผู้ซื้อ ต่อมาจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มและขึ้นทะเบียน OTOP ในปี พ.ศ. 2554 และ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จนผ่านมาตรฐานของสํานักงานองค์การอาหารและยา (อย.) ทําให้ปลาส้มบ้านโนนฆ้องเป็นที่รู้จักมากขึ้น และได้เป็นผลิตภัณฑ์ 5 ดาว ในปี พ.ศ. 2522

ขั้นตอน/วิธีทํา

- ปลาที่ขอดเกล็ดปลา ตัดหัว ควักไส้ออกแล้วบั้งตัวปลาให้มีระห่างพอสมควร 100 กิโลกรัม - กระเทียมโขลก 15 กิโลกรัม - ข้าวเหนียว 2 ลิตร - เกลือป่น (ไม่ผสมไอโอดีน) 1.2 กิโลกรัม

วิธีทําปลาส้ม

- นําปลามาล้างน้ําสะอาด 10 น้ํา (การล้าง 10 น้ํา เป็นการยืดอายุปลาส้มที่ไม่ได้แช่ตู้เย็นให้ อยู่ได้ นานถึง 10 วัน)

- นําเนื้อปลามาพักให้สะเด็ดน้ํา

- นําข้าวเหนียวมาล้างในน้ําสะอาด จํานวน 3 น้ํา เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และ เป็นเคล็ดลับที่สามารถ ทําให้เก็บปลาส้มไว้ได้นานๆ

- นําส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกดให้แน่น

ลักษณะเด่น/เอกลักษณ์

รสชาติมีความอร่อย เก็บไว้ได้นาน สามารถสร้างรายได้ถึง 5,000 บาท/ครั้ง เฉลี่ย 40,000 บาท/ปี

คำสำคัญ
ปลาส้ม
สถานที่ตั้ง
จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางเยียนจรา สามหาดไทย อีเมล์ khonculture@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่