ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 29' 20.4083"
14.4890023
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 51' 38.1586"
100.8605996
เลขที่ : 195821
โบราณสถานและโบราณวัตถุ วัดหนองโนเหนือ
เสนอโดย สระบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สระบุรี
0 764
รายละเอียด

วัดหนองโนเหนือ มีความเป็นมากว่า 200 ปี เดิมชื่อ "วัดบูรณะสามัคคี" เมื่อราวปี พ.ศ. 2363 ได้ย้ายสถานที่ตั้งจากวัดที่รกร้าง มาตั้งอยู่บริเวณใกล้หนองน้ำ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน เปลี่ยนเป็นชื่อ "วัดหนองโนเหนือ" จนถึงปัจจุบัน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ.2373 และครั้งที่สอง พ.ศ.2541

ขนาดพื้นที่

วัดหนองโนเหนือ มีพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา

ผู้ปกครองคณะสงฆ์

พระอธิการประกาย อนาลโย เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี 2539-ปัจจุบัน โทร. 08-1851-8347

โบราณสถานและโบราณวัตถุ

ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน จากกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 37 ง หน้า 9 วันที่ 19 พฤษภาคม 2541 ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2541 มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังนี้

1.พระพุทธรูปโบราณ จำนวน 2 องค์ เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย องค์ที่ 1 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว สูง 41 นิ้ว องค์ที่ 2 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว ความสูง 41 นิ้ว จากคำบอกกล่าว ชาวบ้านได้อัญเชิญมาจากวัดร้าง คือ วัดโคกม่วงแร้ง ตำบลหนองควายโซ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ชาวบ้านเรียกชื่อว่า "หลวงพ่อม่วงแร้ง"

2.วิหารโบราณ (อุโบสถหลังเก่า) สร้างเมื่อ พ.ศ.2373 ก่ออิฐ ถือปูน กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน

3.ธรรมาสน์โบราณ กล่าวกันว่าเป็นพระแท่น ว่าราชการของวังหน้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น

ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ "หลวงพ่อม่วงแร้ง" ประดิษฐานในวิหาร (อุโบสถหลังเก่า)

ณ วัดหนองโนเหนือ ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ นามว่า หลวงพ่อม่วงแร้ง เป็นนามชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปหินทรายสีแดง รูปแบบศิลปะอู่ทอง สมัยอยุธยา ประทับนั้นแสดงปางมารวิชัย องค์ที่ 1 พระเพลากว้าง 27 นิ้ว สูง 40 นิ้ว องค์ที่ 2 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว ความสูง 41 นิ้ว ประดิษฐาน ในวิหาร (อุโบสถหลังเก่า) ของวัดหนองโนเหนือ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่า แต่เดิมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสององค์ได้ประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง ชื่อวัดโคกม่วงแร้ง อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดผู้คนล้มตาย พระสงฆ์และชาวบ้านได้อพยพไปอาศัยที่อื่น ทำให้วัดโคกม่วงแร้ง กลายสภาพเป็นวัดร้างจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังพบซากอิฐและต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ปรากฎอยู่ ราวประมาณ 2373 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองพระองค์ได้นิมิตให้ชาวบ้านหนองโนเหนือ ว่าอยากมาอยู่วัดหนองโนเหนือ อยากกินบักมี่ (เป็นภาษาลาว แปลความหมายว่า ขนุน ) ให้ชาวบ้านหนองโนเหนือไปทำพิธีอัญเชิญมาเพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดแต่ในขณะนั้นปรากฎว่ามีหลายหมู่บ้านที่ทราบข่าวต่างพากันไปพร้อมด้วยคานหาม เพื่อที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ไปประดิษฐานยังวัดของตน แต่ก็ไม่สามารถที่จะอัญเชิญเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ได้ ครั้งพอชาวบ้านหนองโนเหนือ เดินทางไปถึงและทำพิธีอัญเชิญก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ จังอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์มาประดิษฐานไว้ในวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า) เรียกชื่อหลวงพ่อทั้งสององค์ว่า "หลวงพ่อม่วงแร้ง"ตั้งแต่ปี พ.ศ.2373 เป็นตันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ที่เป็นวิถีชีวิตของชาวไทยวนสกุลช่างหลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2561

หลวงพ่อม่วงแร้ง เป็นที่เคารพสักการบูชา และกราบขอพรของชาวบ้านและบุคคลทั่วไป เมื่อบุคคลใดมีเรื่องทุกข์ร้อน หรือประสบปัญหาต่าง ๆ ก็พากันมากราบขอพรต่อหลวงพ่อม่วงแร้ง ครั้งเมื่อได้รับความสำเร็จตามประสงค์ ก็จะนำขนุนสุกเป็นเครื่องสักการะบูชา มาถวายเป็นการแก้บนตราบมาจนถึงทุกวันนี้

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดหนองโนเหนือ
เลขที่ 68 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระครูสังฆรักษ์ ประกาย อนาลโย เจ้าอาวาสวัดหนองโนเหนือ
อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่