ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 29' 20.4083"
14.4890023
Longitude : E 100° 51' 38.1586"
100.8605996
No. : 195821
โบราณสถานและโบราณวัตถุ วัดหนองโนเหนือ
Proposed by. สระบุรี Date 22 Febuary 2022
Approved by. สระบุรี Date 22 Febuary 2022
Province : Saraburi
0 765
Description

วัดหนองโนเหนือ มีความเป็นมากว่า 200 ปี เดิมชื่อ "วัดบูรณะสามัคคี" เมื่อราวปี พ.ศ. 2363 ได้ย้ายสถานที่ตั้งจากวัดที่รกร้าง มาตั้งอยู่บริเวณใกล้หนองน้ำ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน เปลี่ยนเป็นชื่อ "วัดหนองโนเหนือ" จนถึงปัจจุบัน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ.2373 และครั้งที่สอง พ.ศ.2541

ขนาดพื้นที่

วัดหนองโนเหนือ มีพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา

ผู้ปกครองคณะสงฆ์

พระอธิการประกาย อนาลโย เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี 2539-ปัจจุบัน โทร. 08-1851-8347

โบราณสถานและโบราณวัตถุ

ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน จากกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 37 ง หน้า 9 วันที่ 19 พฤษภาคม 2541 ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2541 มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังนี้

1.พระพุทธรูปโบราณ จำนวน 2 องค์ เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย องค์ที่ 1 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว สูง 41 นิ้ว องค์ที่ 2 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว ความสูง 41 นิ้ว จากคำบอกกล่าว ชาวบ้านได้อัญเชิญมาจากวัดร้าง คือ วัดโคกม่วงแร้ง ตำบลหนองควายโซ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ชาวบ้านเรียกชื่อว่า "หลวงพ่อม่วงแร้ง"

2.วิหารโบราณ (อุโบสถหลังเก่า) สร้างเมื่อ พ.ศ.2373 ก่ออิฐ ถือปูน กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน

3.ธรรมาสน์โบราณ กล่าวกันว่าเป็นพระแท่น ว่าราชการของวังหน้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น

ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ "หลวงพ่อม่วงแร้ง" ประดิษฐานในวิหาร (อุโบสถหลังเก่า)

ณ วัดหนองโนเหนือ ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ นามว่า หลวงพ่อม่วงแร้ง เป็นนามชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปหินทรายสีแดง รูปแบบศิลปะอู่ทอง สมัยอยุธยา ประทับนั้นแสดงปางมารวิชัย องค์ที่ 1 พระเพลากว้าง 27 นิ้ว สูง 40 นิ้ว องค์ที่ 2 พระเพลากว้าง 28 นิ้ว ความสูง 41 นิ้ว ประดิษฐาน ในวิหาร (อุโบสถหลังเก่า) ของวัดหนองโนเหนือ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่า แต่เดิมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสององค์ได้ประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง ชื่อวัดโคกม่วงแร้ง อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดผู้คนล้มตาย พระสงฆ์และชาวบ้านได้อพยพไปอาศัยที่อื่น ทำให้วัดโคกม่วงแร้ง กลายสภาพเป็นวัดร้างจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังพบซากอิฐและต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ปรากฎอยู่ ราวประมาณ 2373 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองพระองค์ได้นิมิตให้ชาวบ้านหนองโนเหนือ ว่าอยากมาอยู่วัดหนองโนเหนือ อยากกินบักมี่ (เป็นภาษาลาว แปลความหมายว่า ขนุน ) ให้ชาวบ้านหนองโนเหนือไปทำพิธีอัญเชิญมาเพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดแต่ในขณะนั้นปรากฎว่ามีหลายหมู่บ้านที่ทราบข่าวต่างพากันไปพร้อมด้วยคานหาม เพื่อที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ไปประดิษฐานยังวัดของตน แต่ก็ไม่สามารถที่จะอัญเชิญเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ได้ ครั้งพอชาวบ้านหนองโนเหนือ เดินทางไปถึงและทำพิธีอัญเชิญก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ จังอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์มาประดิษฐานไว้ในวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า) เรียกชื่อหลวงพ่อทั้งสององค์ว่า "หลวงพ่อม่วงแร้ง"ตั้งแต่ปี พ.ศ.2373 เป็นตันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ที่เป็นวิถีชีวิตของชาวไทยวนสกุลช่างหลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2561

หลวงพ่อม่วงแร้ง เป็นที่เคารพสักการบูชา และกราบขอพรของชาวบ้านและบุคคลทั่วไป เมื่อบุคคลใดมีเรื่องทุกข์ร้อน หรือประสบปัญหาต่าง ๆ ก็พากันมากราบขอพรต่อหลวงพ่อม่วงแร้ง ครั้งเมื่อได้รับความสำเร็จตามประสงค์ ก็จะนำขนุนสุกเป็นเครื่องสักการะบูชา มาถวายเป็นการแก้บนตราบมาจนถึงทุกวันนี้

Category
Historic site
Location
วัดหนองโนเหนือ
No. 68 Moo 3
Amphoe Mueang Saraburi Province Saraburi
Details of access
Reference พระครูสังฆรักษ์ ประกาย อนาลโย เจ้าอาวาสวัดหนองโนเหนือ
Amphoe Mueang Saraburi Province Saraburi
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่