ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 40' 50.2644"
13.680629
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 27.9624"
100.574434
เลขที่ : 195198
ขนมถ้วยแม่ประคอง
เสนอโดย สมุทรปราการ วันที่ 29 ธันวาคม 2564
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 29 ธันวาคม 2564
จังหวัด : สมุทรปราการ
0 482
รายละเอียด

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน ๒ ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

ปัจจุบันขนมถ้วยแม่ประคองยังคงรักษาอัตลักษณ์เดิมที่บรรพบุรุษคิดค้นไว้ได้เป็นอย่างดี มีบางสิ่งบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบุคคลเปลี่ยนไป ลูกหลานที่รับสืบทอดก็ดัดแปลงให้เข้ากันกับยุคสมัยแต่ยังคงอัตลักษณ์ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาทำขนมไม่มีการปรุงแต่งส่วนผสมให้เนื้อขนมเปลี่ยนแปลงรสชาติไป

วิธีทำขนมถ้วย

แป้งข้าวจ้าว 140 กรัม

แป้งมัน 15 กรัม

น้ำตาลมะพร้าว 200 กรัม

น้ำใบเตย 100 กรัม

น้ำเปล่า 500 กรัม

นำส่วนผสมทั้งหมดมาคนให้เข้ากันนำถ้วยที่เตรียมไว้ไปนึ่งให้ร้อน จากนั้นเทส่วนผสมที่เราคนเสร็จเรียบร้อยแล้วลงในถ้วย นึ่งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้น นำกะทิ 500 กรัม แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม เกลือป่น 1 ช้อนชา คนให้เข้ากันเพื่อทำหน้าของขนมถ้วย เสร็จแล้วเทลงเพิ่มเข้าไปในถ้วยที่กำลังนึ่งอยู่ นึ่งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีเป็นอันว่าเสร็จสิ้น

สถานที่ตั้ง
ขนมถ้วยแม่ประคอง
เลขที่ 10 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สมุทรปราการ
อำเภอ เมืองสมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่