ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 28' 38.978"
16.4774939
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 42' 25.4142"
103.7070595
เลขที่ : 91740
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์
เสนอโดย admin group วันที่ 6 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 410
รายละเอียด

การทำไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่างไม่ว่าจะนำมาประกอบอาหาร เป็นเครื่องใช้ไม้สอย ฯลฯ ซึ่งชาวบ้านหนองโพน-โนนสมบูรณ์ใช้เวลาว่างหลังจากที่นำอาหารมาถวายเพลที่วัดชัยมงคล จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในวัด

วัสดุและอุปกณ์ที่ใช้คือก้านมะพร้าว ด้ามไม้ไผ่ หรือไม้รวก หรือไม้เนื้อแข็ง เชือกถัก ค้อน ตะปู ลวด ตะไบ คีม ขอนไม้ สีน้ำมัน สีน้ำหรือยาชันไม้ สำหรับการเลือกก้านมะพร้าว ควรใช้ก้านมะพร้าวสวนหรือมะพร้าวทะเล เพราะก้านยาว เหนียว คงทนต่อการกวาด ถู

ขั้นตอนการทำ

1. นำก้านมะพร้าวมาเหลาเอาใบออก ผึ่งแดดไว้ 2 วัน

2. นำก้านมะพร้าวที่แห้งดีแล้วมามัดเป็นกำๆละ 30 อัน จำนวน 12 มัด

3. นำมาถักเรียงกันเป็นรูปเฝือก มัดด้วยเชือกถักมาประกอบกับด้ามไม้ที่เตรียมไว้ มัดด้วย ลวดตอกตะปูให้แน่นกันเลื่อนขึ้น-ลง ของไม้กวาด

4. แบ่งถักด้วยเชือกถักเป็น 24 กำ ดึงให้แน่น

5. แซมด้วยก้านมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไม้กวาดแน่นหนาขึ้น

การตกแต่งไม้กวาดสามารถทำได้โดย

ทาสีน้ำมัน หรือยาชันที่โคนก้านมะพร้าวเพื่อกันหลุดจากด้าม ขัดด้ามไม้กวาดด้วยตะไบ หรือกระดาษทรายเพื่อให้สวยงาม

สถานที่ตั้ง
วัดชัยมงคล
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหนองโพน-โนนสมบูรณ์
ตำบล นาจำปา อำเภอ ดอนจาน จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านหนองโพน-โนนสมบูรณ์
บุคคลอ้างอิง ณัฐวดี รอดภัย อีเมล์ yu_yawapee@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางชั้น2
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46000
โทรศัพท์ 043-815806 โทรสาร 043-811394
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่