ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 56' 4.1687"
6.9344913
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 18' 37.2568"
101.3103491
เลขที่ : 55158
มัสยิดดาโต๊ะ
เสนอโดย admin group วันที่ 10 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
จังหวัด : ปัตตานี
0 770
รายละเอียด

มัสยิดดาโต๊ะ

เป็นมรดกของเมืองยะหริ่ง ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 240 ตารางเมตร ณ บ้านดาโต๊ะ หมู่ที่ 4 ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง อยู่บริเวณกลางแหลมตาชี ห่างจากที่ว่าการอำเภอยะหริ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 10 กิโลเมตร กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.2478 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ.2478 สภาพปัจจุบัน มัสยิดนี้มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่สร้างแต่เดิมอยู่ทางทิศตะวันตกและส่วนที่สร้างต่อเติมออกมาจากทิศตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพื้นที่ในการประกอบศาสนกิจให้กว้างขวางเพียงพอกับประชากรในหมู่บ้าน จากการสอบถามทราบว่า มัสยิดดาโต๊ะนี้ นายเซะ อาแวโอะ ซึ่งได้อพยพมาจากเมืองตรังกานู ประเทศมลายู (มาเลเซีย) เป็นผู้ว่าจ้างนายช่างชาวจีนทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ แล้วจึงใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นสุลต่านเมืองปัตตานีได้ว่าจ้างให้ชาวจีนดังกล่าวสร้างมัสยิดกรือเซะต่อไป (มัสยิดกรือเซะสร้างในปี พ.ศ.2265) จึงปผระมาณว่ามัสยิดดาโต๊ะน่าจะสร้างประมาณ ปี พ.ศ.2263 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือ 270 กว่าปีมาแล้วมัสยิดดาโต๊ะ สร้างครั้งแรกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นมัสยิดสูงจากพื้นดิน 0.60 เมตร ตัวอาคารสูงประมาณ 6 เมตร และมีโดมใหญ่ตรงกลางสูงประมาณ 4.5 เมตร มีเสาด้านข้างทรงกลม ช่องประตู หน้าต่าง โค้งมนแบบโคธิคของยุโรป โดมใหญ่ตรงกลางสร้างเสร็จเรียบร้อยแต่หลังคาส่วนหน้าและด้านข้างไม่มี ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนทั้งหลังโดยยังไม่ได้ฉาบปูน

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
ตำบลแหลมโพธิ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล แหลมโพธิ์ อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
โทรศัพท์ 073323195-7
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่