ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 25' 57"
16.4325000
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 30' 22"
103.5061111
เลขที่ : 196502
พิธีส่อนขวัญ
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 21 เมษายน 2565
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 21 เมษายน 2565
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 544
รายละเอียด

พิธีส่อนขวัญ

คำว่า “ส่อน” ในภาษาอีสาน (ภาษาลาว) หมายถึง การช้อน การตักขึ้น

การส่อนขวัญเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ที่ทำขึ้นเพื่อเรียกกำลังใจ ปลอบใจ เมื่อคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือคนในหมู่บ้านประสบอุบัติเหตุ มีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ หรือเจ็บป่าวยมาก โดยจะใช้ สวิงมา ส่อน (ช้อน) บริเวณที่ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเชื่อกันว่า ขวัญได้ตกหนีหายที่นั่น

สำหรับสิ่งของที่ต้องใช้ในพิธี “ส่อนขวัญ” นอกจากสวิงแล้ว ก็จะมี การทำขันธ์ ๕ เพื่อขอขมาต่อพระแม่ธรณี มีหมากพลู บุหรี่ ไข่ไก่ต้ม ดอกไม้และเทียน ข้าวต้มมัด ผลไม้ สุราและน้ำดื่ม

เมื่อเตรียมสิ่งของที่ใช้ในพิธีเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำพิธีจะนำดอกไม้ เทียน และอาหารที่เตรียมมาไปวางไว้ นำสวิงไปเดินช้อนขวัญบริเวณนั้น พร้อมกับเรียกเชิญขวัญให้กลับมาอยู่กับผู้ที่เสียขวัญ และที่สำคัญอีกอย่าง คือให้พาญาติสนิท สามี ภรรยา หรือลูกของผู้ที่เราไปเรียกขวัญไปด้วย เพื่อให้ขวัญนั้นรีบกลับมา เมื่อเห็นญาติมาเรียก

การทำพิธีส่อนขวัญ นอกจากจะเป็นการทำให้ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือไม่สบายใจ ได้มีกำลังใจดีขึ้นแล้ว ยังแสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใยซึงกันและกันของคนในครอบครัว ความรักสมัครสมานของคนในชุมชนหมู่บ้านที่มีต่อกัน

คำสำคัญ
พิธีส่อนขวัญ
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่