ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 30' 38.4966"
6.5106935
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 57' 53.059"
100.9647386
เลขที่ : 195369
พานขันหมากจากใบพลู
เสนอโดย สงขลา วันที่ 28 มกราคม 2565
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 27 เมษายน 2565
จังหวัด : สงขลา
0 711
รายละเอียด

ขันหมาก เป็นประเพณีสำคัญที่แสดงถึงการให้เกียรติ ที่มีทุกเชื้อสาย และชนชาติ การจัดสิ่งของ ในขบวนขันหมาก จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยขันหมากของชาวมุสลิมภาคใต้จะมีรูปแบบการตกแต่งที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทยที่ได้แบบอย่างจากชาวมาเลเซียพิธีแต่งงานของชาวมุสลิม มีการทำพิธีจดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นทะเบียนสมรสตามศาสนาที่นอกเหนือจากทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยโดยทั่วไป ซึ่งในพิธีนอกจากจะมีการประดับประดาตกแต่งเหมือนพิธีแต่งงานทั่วไปของศาสนาอื่นๆแล้วนั้น ยังมีการจัดทำที่นั่งสำหรับคู่ บ่าว-สาว เรียกว่า บัลลังก์ ซึ่งบัลลังก์นี้เองที่ได้รับแบบอย่างจากชาวมาเลเซียเป็นที่นั่งสำหรับคู่บ่าว-สาวที่นอกจากตกแต่งด้วยดอกไม้แล้วยังจัดนำขันหมากวางไว้บริเวณบัลลังก์อีกด้วย ขันหมากจัดเป็นของโชว์สำหรับพิธีมงคลสมรส ที่สร้างความโดดเด่นด้วยลีลาการจัด และศิลปะการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น การนำผ้ามาทำดอกไม้ เช่น ดอกลิลลี่ ดอกกุหลาบการทำผ้าขนหนูเป็นรูปผลไม้ต่างๆอยู่ในตะกร้าชุดผ้าละหมาดเป็นรูปหัวใจคู่ และเป็นรูปเค้กแบบชั้นๆ เป็นต้น

การแต่งงานของศาสนาอิสลามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือมีการแลกเปลี่ยนระหว่างคู่บ่าวสาว เช่นผ้าละหมาด ในอดีตไม่พิถีพิถันในการตกแต่งพานขันหมากมากนักแต่ในปัจจุบันนิยมนำสิ่งของในพิธีสมรส มาตกแต่งให้ดูสวยงามและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำพานขันหมากเป็น และการจัดขันหมากนั้น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในภาคใต้ รวมทั้งยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์และสืบสานประเพณี และวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณให้คงอยู่ เผยแพร่ให้เยาวชนรุ่นต่อไปได้มีโอกาสสัมผัสความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ได้อย่างดียิ่ง

วัสดุอุปกรณ์การทำขันหมากจากใบพลู

๑. ฐานไม้ไผ่ ๖. เข็มหมุด

๒. ใบพลู ๗. ใบมะยม

๓. ดอกไม้ ๘. เหรียญ

๔. ต้นกล้วย ๙. พาน

๕. กรรไกร

วิธีทำขันหมากจากใบพลู

1. นำไม้ไผ่มาทำการผ่าให้มันเป็นซีกหลายซีก จากนั้นทำการแบะออกมาให้มันเป็นทรงกรวย จากนั้นทำการพันแทรกสลับไปมาให้ไม้แยกหันเป็นรูปวงกลม จะได้ฐานที่เป็นทรงกรวยขึ้นไป

2. นำฐานกรวยมาจัดวางไว้บนพาน

3. นำเหรียญใส่ลงไปและใบมะยมที่รูดแล้วมาใส่เข้าไปในช่องของฐานไม้ไผให้เต็มพอประมาณ เพื่อเป็นฐานในการวางใบพลู

๔. นำไปพลูมาซ้อนให้ได้เลขคี่ ซ้อนกัน ๙ ใบ เริ่มจากใบใหญ่ไล่ไปจนใบเล็ก ให้สวยงามแล้วทำการพับสอง แล้วนำไปแทรกไว้ในช่องระหว่างไม้ไผ่ให้ครบทุกช่องของไม้ไผ่

๕. จากนั้นนำเปลือกกล้วยทำการพันให้เป็นวงกลมเพื่อกลางเพื่อที่จะวางใบพลูชั้นที่ ๒

๖. นำใบมะยมใส่ลงไปในฐานชั้นที่ ๒ แล้วทำการซ้อนใบพลูให้ได้ ๗ ชั้น แล้วทำการพับสองแล้วนำไปเสียบระหว่างช่องไม้ไผ่ให้เต็มทุกช่อง

๗. จากนั้นนำเปลือกกล้วยทำการพันให้เป็นวงกลมเพื่อกลางเพื่อที่จะวางใบพลูชั้นที่ ๓

๘. นำใบมะยมใส่ลงไปในฐานชั้นที่ ๓ แล้วทำการซ้อนใบพลูให้ได้ ๕ ชั้น แล้วทำการพับสองแล้วนำไปเสียบระหว่างช่องไม้ไผ่ให้เต็มทุกช่อง

๙. จากนั้นนำเปลือกกล้วยทำการพันให้เป็นวงกลมเพื่อจบการทำ ชั้นที่ ๓

๑๐. นำเข็มหมุดมาเสียบดอกไม้แล้วนำไปปักไว้รอบแกนที่พันด้วยเปลือกกล้วยให้รอบ ครบทั้ง ๓ ชั้นเพื่อความสวยงาม

๑๑. นำริ้วพู่เพื่อไปปิดยอดไม้ไผ่

๑๒. นำยอดต้นกล้วยเสียบลงให้พอเหมาะสม เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

สถานที่ตั้ง
ตำบล จะแหน อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวยาลิณี แวสากอ
บุคคลอ้างอิง อินทิรา แก้วขาว อีเมล์ intira_ka@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 074327147 โทรสาร 074326823
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่