ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 45' 25.6532"
6.7571259
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 29' 22.0142"
101.4894484
เลขที่ : 13787
จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน
เสนอโดย kanungnid salo วันที่ 6 มกราคม 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : ปัตตานี
0 710
รายละเอียด

จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน

ประเภท จิตรกรรมฝาผนังวัสดุที่ทำ จิตรกรรมฝาผนังที่วัดควนใน มี 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถและที่กุฏิ

1) จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ซึ่งอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จิตรกรรมเขียนที่ฝาผนัง เสา เพดาน เขียนภาพด้วยสีฝุ่น บนผนังตึก สีที่ใช้มีลักษณะเป็นสีพื้นเมืองใช้สีสด ภาพจิตรกรรมลบเลือนเล็กน้อย พื้นที่จิตรกรรมประมาณ 180.25 ตารางเมตร เป็นฝีมือช่างพื้นเมือง

2) จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ ซึ่งกุฏิเป็นอาคารแฝดเรือนไทยทรงไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา สันนิษฐานว่าอาคารนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ภาพเขียนภายในน่าจะมีอายุราวนี้ จิตรกรรมเขียนที่บริเวณคอสอง เพดานและฝากั้นห้อง เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนไม้ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ลักษณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง

1) จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ซึ่งอุโบสถเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ลำดับภาพตอนบน เป็นเรื่องพระเวสสันดร เรียงลำดับกันไปโดยรอบ ตอนระหว่างซุ้มโค้งประตูหน้าต่างเป็นเรื่องพุทธประวัติ และทศชาติชาดก โดยเรียงลำดับจากด้านหลังมาทางด้านหน้าอุโบสถ

2) จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ เป็นฝีมือช่างพื้นเมือง เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องขององคุลีมาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพุทธประวัติ มีการเขียนคำอธิบายประกอบ นอกจากนี้ยังมีภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิ ทรงเครื่องโดยปิดทองที่องค์พระและที่ฐาน ภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์และเทพลีลา พื้นที่จิตรกรรมประมาณ 23.06 ตารางเมตร สาระ 1. จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ ให้สาระดังนี้ แสดงให้เห็นวิถีชีวิตดำเนินชีวิตของชาวปัตตานี สังเกตได้จากภาพชูชกตกปลาหา เลี้ยงนางอมิตา มีไซสำหรับใส่ปลาสะพายบ่า ภาพแสดงให้เห็นเครื่องสูบลมเป่า ไฟ ทั่งตัวเหล็ก การฟั่นเชือกล่ามวัวอยู่กลางทุ่ง การใช้ตีหมาตักน้ำจากบ่อกลางบ้านขึ้นมาไว้ การใช้โค 2 ตัวลากเกวียน การพกอาวุธแบบพื้นเมืองของชาวบ้าน โดยพกขวาน พร้าโอ มีดอ้ายครก ทหารเหน็บกริช สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ในเรื่อง ต้นนารีผล รามสูรเมขลา และเรื่องไตรภูมิ ภาพ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีภาพบันไดนาก เงินและแก้วทอดขนาดลงมาสู่โลกมนุษย์ แสดงให้เห็นบรรดาทวยเทพตามคติความเชื่อ เรื่องพระพรหม พรอิศวร พระอินทร์ ที่เสด็จมาชมบุญบารมี ภาพแสดงชีวิตของคน มีทั้งสร้างกรรมดีกรรมชั่ว ให้เห็นนรกภูมิ สัตว์นรกต่างทนทุกข์ทรมาน ตามกรรมของตน 2. จิตรกรรมฝาผนังที่กุฏิ เพดานเขียนภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และเทพโดยมีวงกลมล้อมรอบ ที่คอสองเขียนเรื่ององคุลีมาน เพื่อได้พบพระพุทธเจ้า จึงได้บรรพชา ต่อมาบรรลุนิพพานเป็นพระอรหันต์ จิตรกรรมที่เขียนเรื่ององคุลีมานไม่ค่อยมีใครเขียน จึงนับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่ามาก สภาพของเอกสารสำคัญ จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถ ภาพลบเลือนเล็กน้อย จิตรกรรมที่กุฏิ สภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ มีสีสด ลายเส้นบางส่วนค่อนข้างงาม สถานที่เก็บรักษา อยู่ที่วัดควนใน ตำบลบ้านควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
จิตรกรรมฝาผนัง วัดควนใน
ตำบล ควน อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
โทรศัพท์ 073323195-7
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่