ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
Longitude : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
No. : 194354
ประเพณีทำขวัญข้าว
Proposed by. พัทลุง Date 9 September 2021
Approved by. พัทลุง Date 5 January 2023
Province : Phatthalung
0 160
Description

ประเพณีทำขวัญข้าว

ทำขวัญข้าว เป็นประเพณีบวงสรวงแม่โพสพ ผู้เป็นวิญญาณแห่งข้าว โดยเชื่อว่าถ้าข้าวมีขวัญสิงอยู่ประจำไม่หลีกลี้ไปไหน ต้นข้าวก็จะงอกงามสมบูรณ์ ให้ผลสูง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หรือเฉาตาย ส่วนที่เก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางแล้ว แม้จะจำหน่ายขายหรือกินก็สิ้นเปลืองไปน้อยที่สุดเกือบทุกขั้นตอนของการทำนา ชาวนาต้องรำลึกถึง

แม่โพสพ เริ่มแต่แรกหว่านก็ต้องนาวันดี พันธุ์ข้าวต้องแบ่งส่วนจากข้าวขวัญอันเป็นขวัญแห่งแม่โพสพ ก่อนถอนต้นกล้าไปปักคำต้องขอขมา ดอนเริ่มปักคำต้องเชิญขวัญมาอยู่รากอยู่กอข้าวออกรวงสุกอร่ามต้อง "รวบข้าว" ผูกขวัญไว้ เก็บเกี่ยวแล้วต้องทำขวัญข้าวเป็นครั้งสำคัญ และเมื่อจะรื้อข้าวลงจากกองมานวดทุกครั้งก็ต้องขอขมาลาโทษ ในทุกขั้นตอนที่ว่านี้การทำขวัญเป็นการแสดงออกต่อแม่โพสพอย่างเป็นพิธีรีตองมากที่สุด

การทำขวัญข้าวมี ๒ ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ ๑

ทำเมื่อข้าวในนาเริ่มสุก เรียกว่า การรวบข้าว หรือ ผูกข้าว โดยหมอทำขวัญจะเอาไม้ชุมแสง ไม้ชุมเห็ด ไม้ชมพู่ ไม้กำชำ (มะหวด) ไม้หว้า ฯลฯ ผูกมัดเข้ากับใบพรมคด ปักเป็นหลักลงในนาตรงที่ข้าวแตกกอออกรวงสวยงามสมบูรณ์ที่สุด ให้ได้ความสูงขนาดต้นข้าวแล้วรวบต้นข้าวโดยรอบสัก ๕-๖ กอ มาผูกกับหลักด้วยย่านลิเพา ด้ายขาวและด้ายแดง ก่อนผูกให้กวักมือเรียกขวัญแม่โพสพไปทั้ง ๔ ทิศ ผูกแล้วสวดแหล่ทำขวัญ เริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ ตั้งสัคเค ชุมนุมเทวดา เชิญขวัญแม่โพสพแล้วปักหรังไว้ "ปักหรัง" ก็คือผูกขวัญแม่โพสพไม่ให้ไปไหน ให้อยู่คุ้มครองข้าวและเจ้าของนาให้ปลอดภัย ข้าวส่วนที่ผูกมัดไว้นี้เป็นข้าวขวัญสำหรับเก็บไว้บูชาและแพร่พันธุ์ต่อไป

ขั้นตอนที่ ๒

ทำหลังจากเก็บเกี่ยวและขนข้าวขึ้นยุ้งฉางเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่มักเป็นเดือน ๖ หรือเดือน ๙ ถ้าเป็นข้างขึ้นใช้วันที่ เช่น ๑๓ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นข้างแรมใช้วันคู่เช่น ๑๔ ค่ำ แต่โดยมากนิยมทำในวันธรรมสวนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืนวันเพ็ญ และต้องไม่เลือกเอาวันที่ถูกกระ คือวันที่ดำราฤกษ์ยามระบุว่า ถ้าหว่าน ปักดำ หรือเก็บเกี่ยวในวันนั้นจะถูกผีกระสือกินหมด แด่บางดำราว่าให้ทำพิธีตอนพลบค่ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "เวลานกชุมรัง" ในวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เว้นวันอาทิตย์ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันพระและวันทักทินคือวันขึ้นหรือแรมที่เลขวันกับเดือนตรงกัน เช่น เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำอุปกรณ์ที่ต้องใช้มี ขนมขาว ขนมแดง ขนมโค ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า กล้วย อ้อย ถั่ว งา กุ้ง ปลาสลาด บายศรี หมากพูล ๓ คำเทียน ๑ เล่ม แหวน ถ้วยใส่ข้าวขวัญ สายสิญจน์ หมอบางคนเพิ่มเขาวัว (วัวที่ใช้ทำนาจนกระทั่งตาย) ลูกเดือย ดอกไม้และธูปด้วย

ในการทำพิธีหมอจะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ วางบนยุ้งข้าววงสายสิญจน์รอบบายศรี และเครื่องบูชาในพิธี แล้วพนมมือขึ้นสวดบูชาพระรัตนตรัย ชุมนุมเทวดาแหล่บททำขวัญซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของข้าว พันธุ์ข้าว คุณของแม่โพสพเชิญขวัญข้าว จบแล้วสวด ชยันโตอำนวยพรแก่แม่โพสพ ว่าคาถาปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้แม่โพสพอยู่ประจำยุ้งข้าวเป็นเสร็จพิธี สำหรับถ้วยขวัญและข้าวขวัญให้เก็บไว้บนกองข้าวตลอดปีนั้นห้ามเคลื่อนย้าย แต่บางตำราว่าย้ายได้หลังเสร็จพิธี แล้ว ๓ วัน

ในจังหวัดพัทลุงบางตำบลแทนที่ชาวนาจะทำขวัญข้าวเป็นรายครัวเรือน ก็ไปทำรวมกันที่วัด เรียกว่า "ทำขวัญข้าวใหญ่" โดยวัดจัดให้มีการกองข้าวเลียงขึ้น เมื่อชาวบ้านนำข้าวเลียงมาบริจาควัด ทางวัดจะรวบรวมไว้ แล้วกำหนดวันทำขวัญข้าวใหญ่ขึ้น เมื่อถึงวันนั้นชาวบ้านแค่ละครัวเรือนจะนำข้าวไปวัดอีกคนละ ๑ เถียง และเขียนชื่อกำกับไว้ ผู้จัดพิธีจะนำข้าวเลียงของทุกคนรวมไว้ด้วยกัน การทำพิธีทำเหมือนดังกล่าวแล้วแต่ต้นทุกประการ เสร็จแล้วแต่ละครัวเรือนจะนำข้าวเลียงของคนกลับไปเก็บไว้บนยุ้งเป็นข้าวขวัญ เป็นอันว่าปีนั้นไม่ต้องทำขวัญข้าวที่บ้าน หรือถ้าจะทำอีกก็ได้บททำขวัญข้าวที่ปรากฏแต่งด้วยคำประพันธ์ ๓ แบบ คือ กาพย์ ร่าย และกลอนเพลงบอก สำนวนที่เป็นกาพย์และร่ายเป็นบทแหล่ที่แต่งไว้ก่อน และมักเป็นของเก่าที่จำสืบต่อๆกันมา

บททำขวัญสำนวนกาพย์หลาย ๆ สำนวน เมื่อสอบทานดูพบว่ามีข้อความที่พ้องกันอยู่ตอนหนึ่งน่าจะเป็นสำนวนเก่าของเดิมแม้ภายหลังหมอมากขึ้นและแต่งเสริมขึ้น แต่ของเดิมก็ไม่ได้ทิ้ง เพียงผิดเพี้ยนถ้อยคำกันไปบ้างก็ถือเป็นธรรมดาสำหรับการสืบทอดด้วยการจำเช่นนี้ ข้อความที่พ้องกันมีว่า"วันนี้วันดี เป็นศรีพระยาวัน ลูกจักทำขวัญ จัดสรรของดีแต่ล้วนข้าวของ แก้วแหวนเงินทอง หมากพลูบุหรี่ กล้วยอ้อยถั่วงา แดงกวามากมี ทุกสิ่งใส่ที่ แต่งไว้แม่เสวย อีกทั้งผลไม้ลูกหามาไว้ ให้แม่ทรามเชย ชุมเห็ดชุมแสง ชุมพู่แม่เอยผลไม้ยังเหลย น้ำข้าว กำซำ อีกทั้งเพาใหญ่ ด้ายแดงชาวคำกล้วยอ้อยพรมคด จัดหามาหมด ไม้หว้าไม้กำ ย่านเคาประจำราชภูมิพฤกษา ลูกแต่งไว้ถ้า มารดาดำเนิน โอ้แม่โพสพลูกจักเคารพ เรียกแม่คิ้วเหิน แม่ทองร้อยชั่ง มาฟังลูกเชิญฟังแล้วดำเนิน เชิญมา แม่มา"

ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับบททำขวัญข้าวอีกประการหนึ่งคือการเอ่ยถึงชื่อพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นข้าวที่ปลูกกันอยู่ไนภาคใต้ทั้งสิ้น ปรากฏว่ามีมากชนิด ดังตัวอย่าง"เชิญแม่โฉมยง แกล้งส่งขวัญมา นางหอมนางหงส์ นางข้าวจงกรม ข้ามโพดลูกปลา ช่อปริงช่อพร้าว เชิญมาเถิดเจ้าแม่นิลภูศรี หน่วยเขือนางป่อง นางทองรวงรี จุกเทียนหอมดี ข้าวยี่รวงดำ นางหอมประจำ ขาวประแจหอมหวานข้าวช่อไม้ไผ่ ไข่มดลิ้นคลาน ดาวเรืองเล้าตาล ยังข้าวนั้นเหลย นางหงส์ส่งรส รวงแดงปรากฏ หน่วยแตงน่าเชย ขาวข้าวย่านไทร รวงงามกระไรเหลย เชิญมาแม่เอย ข้าวยอนคร เชิญข้าวย่านไทร รวงงามกระไร รวงใหญ่บ่หย่อน ข้าวปากนกนี้แล้วเที่ยงแท้งามงอน รวงกองเป็นก้อน ข้าวหลามคลองพูน ข้าวซ่อไข่เป็ด ข้าวรวงงามเสร็จ เก็บไม่รู้เหื้อง ข้าวภูเขาทอง เสด็จมานองเมือง เชิญมาอย่าเอื้อง ข้าวโพดสาลี ข้าวตีนนกทูง"

Location
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Road ราเมศวร์
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung
Details of access
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๗ (๓๓๓๓).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
Reference นางสาวจำลองลักษณ์ รอดเนียม Email culture-phatthalung@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Road ราเมศวรร์
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. ๐๗๔๖๑๗๙๕๘ Fax. ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่