ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 36' 16.933"
14.6047036
Longitude : E 100° 14' 42.265"
100.2450736
No. : 197275
รำโทน
Proposed by. อ่างทอง Date 13 September 2022
Approved by. อ่างทอง Date 13 September 2022
Province : Ang Thong
1 203
Description

การเล่นรำโทนของชาวสามโก้จังหวัดอ่างทองริเริ่มโดยตำรวจและทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากเสร็จภารกิจแล้ว ได้ถูกทางการสั่งให้มาประจำหน่วยปัจจุบันคือวัดเกษทองเพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและเหล่าบรรดามิจฉาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ชุกชุมในขณะนั้น ครั้นเมื่อเลิกจากงานแล้วต่างก็สร้างความสนุกให้กับตนเอง ในสมัยนั้นสื่อบันเทิงต่างๆ ยังไม่มีโดยเฉพาะต่างจังหวัด ด้วยการร้องรำเล่นเพลงต่างๆ เพลงที่นำมาร้องนั้นส่วนมากเป็นเพลงสั้นๆ จำง่าย มีเครื่องดนตรีให้จังหวะ ได้แก่ โทน ฉิ่ง และกรับ ต่อมาชาวบ้านได้นำมาร้องเล่นกัน เมื่อทำนาเสร็จก็มาชุมนุมกันที่เนินสูงกลางหมู่บ้าน โดยจะร้องกันเป็นประจำทุกคืน

ในระยะต่อมาได้มีการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า “รำวง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เชียร์รำวง” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการประยุกต์รูปแบบการเล่นรำโทน ใช้จังหวะแบบดนตรีสากล ซึ่งเร้าใจทำให้พวกหนุ่มสาวหันมาเล่นรำวงกันมาก ภายหลังได้เกิดคณะรำวงขึ้นมากมาย ซึ่งคณะรำวงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายถึงกับทำให้การเล่นรำโทนซบเซาลง

จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2521 นายทองอาบ ไข่แก้ว อดีตผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการฟื้นฟูรำโทนขึ้นใหม่ด้วยเห็นว่ารำโทนของสามโก้เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีต และเป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้าน จึงได้ชักชวนเพื่อนบ้าน
ที่เคยเล่นรำโทนมาร่วมกันฟื้นฟูการเล่นรำโทนขึ้นใหม่ และนับแต่นั้นมาก็มีการเผยแพร่การเล่นรำโทนสู่เยาวชน
ในโรงเรียนต่างๆ ละแวกใกล้เคียง เช่น โรงเรียนสามโก้วิทยาคม โรงเรียนวิเศษชัยชาญตันติวิทยาภูมิ นอกจากนี้ยังมีการอนุเคราะห์ให้ข้อมูล ตลอดจนวิธีการเล่นรำโทนแก่คณะอาจารย์และนักศึกษาทั้งภายในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงอยู่เป็นเนืองๆ

บทเพลงในการเล่นรำโทนของคณะบ้านหน้าวัดโบสถ์ เป็นบทเพลงที่มีพัฒนาการมายาวนานนับเป็นคณะรำโทนที่มีบทเพลงมาก และสามารถอนุรักษ์บทเพลงไว้ได้มากที่สุด ซึ่งแสดงถึงความเป็นปึกแผ่น และแข็งแกร่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สะท้อนถึงเรื่องราวแห่งความบันเทิงในระดับท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ
วิถีชีวิตชาวบ้าน และสภาพสังคมในสมัยนั้นอย่างชัดเจน

บทเพลงรำโทนมีความหลากหลายทั้งด้านทำนอง จังหวะ และบทร้อง จัดได้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แตกต่างจากเพลงประเภทอื่น เนื่องจากเพลงรำโทนมีองค์ประกอบของความเป็นดนตรีอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านบทร้อง ทำนอง จังหวะ ระบบเสียง ความหลากหลายของท่วงทำนองที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ถ่ายทอดสภาพสังคมได้อย่างละเอียด นับเป็นบทเพลงของชีวิตแห่งท้องทุ่งที่ทรงคุณค่า และควรแก่การอนุรักษ์สืบสานต่อไป

Category
Local Scholar
Location
Tambon สามโก้ Amphoe Samko Province Ang Thong
Details of access
Reference นางสง่า ตรีบุบผา Email angthongcul@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่