ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 37' 10.4088"
14.61955799153556
Longitude : E 103° 53' 15.0881"
103.88752446441801
No. : 193971
ปราสาทยายเหงา
Proposed by. สุรินทร์ Date 3 August 2021
Approved by. mculture Date 25 March 2022
Province : Surin
0 829
Description

ปราสาทยายเหงา บ้านโพนชาย ต.บ้านชบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะเขมรโบราณแบบนครวัด สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประกอบด้วยปราสาท ๓ หลัง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ปราสาทหลังกลางและหลังทิศใต้ก่อด้วยอิฐอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือเหลือเพียงส่วนฐานที่ก่อสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ขนาด ๔x๖ เมตร มีฐานรูปเคารพตั้งอยู่ภายใน

ปราสาทหลังกลางและหลังทิศใต้ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๗.๖๐x๘.๐๐ เมตร มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ปราสาทมีประตูทางเข้า ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ผนังอีก ๓ ด้านก่อทึบและแกะสลักเป็นบานประตูปิดอยู่ ปราสาทหลังกลางส่วนยอดหรือชั้นหลังคาพัง ทลายไปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหลังทางทิศใต้มีสภาพที่สมบูรณ์กว่ายังคงเหลือส่วนยอดอยู่ โดยตรงกลางและที่มุมในแต่ละชั้นประดับด้วยบรรพแถลง นาคปัก และกลีบขนุน บรรพแถลงที่พบสลักรูปพยมทรงกระบือ ส่วนกลีบขนุนสลักรูปฤษีถือกระบอง ที่หน้าบันด้านทิศตะวันตกปลายกรอบ หน้าบันและสลักลวดลายมกรคายนาคห้าเศียร

ปราสาททั้งสามหลัง ล้อมรอบกำแพงที่ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด ๓๗x๓๗ เมตร มีประตูซุ้มทางเข้า (โคปุระ) อยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออกตรงกับปราสาทหลังกลาง

ปราสาทยายเหงานี้มีภูมิลำเนาที่ บ้านโพนชาย ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะเป็นปราสาทแบบขอม ปรากฏอยู่ ๒ หลัง หากดูตามการก่อสร้างอาจมีปรางค์อีกองค์คู่กัน แต่ยังไม่ได้เริ่มสร้าง ก่อด้วยอิฐ เป็นศิลปะแบบเขมร สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ปัจจุบันปราสาทยายเหงาได้รับการบูรณะ ขุดแต่งแล้วเสร็จตามโครงการเมื่อไม่นานมานี้

กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนปราสาทยายเหงาเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๖๓ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๒๔ เนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ๓๗ ตารางวา

ตำนานปราสาทยายเหงา สมัยก่อนมีคุณยายคนหนึ่งสามีไปออกศึกสงครามนานนมก็ไม่ได้กลับมาสักที ยายอยู่รอที่บ้านก็เลยสร้างปราสาทคอย แต่ไม่ปรากฏว่ายายได้พบกับตาหรือไม่ และปราสาทก็ดูเหมือนจะสร้างไม่แล้วเสร็จ ตำนานนี้เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆ กันมา

ประเพณีบูชาปราสาทยายเหงา เพื่อสืบสานจารีตประเพณี ฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์ และโบราณสถานปราสาทยายเหงาให้ดำรงไว้ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างหน่วยงาน องค์กร วัดโรงเรียนประชาชน ได้อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การรถน้ำดำหัวผู้สูงอายุ แสดงความกตัญญ และเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โบราณสถาน ต่อไป


ข้อมูลอ้างอิงสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากรเผยแพร่โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

Category
Historic site
Location
ปราสาทยายเหงา
Tambon บ้านชบ Amphoe Sangkha Province Surin
Details of access
Reference สำนักงานวัฒนธรรม สุรินทร์ Email surin@m-culture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่