สมเด็จพระศรีสุราลัยสมเด็จพระศรีสุลาไลย หรืออาจสะกดเป็น ศรีสุลาลัย และศรีสุราลัย พระนามเดิมก่อนสถาปนาคือ เจ้าจอมมารดาเรียม (พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2380) พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระประวัติสมเด็จพระศรีสุราลัย ทรงมีพระนามเดิมว่า“เรียม”
สมเด็จพระศรีสุลาไลย เดิมชื่อ เรียม สันนิษฐานว่ามาจากคำอาหรับว่า "มัรยัม" (อาหรับ: مريم) ประสูติเมื่อวันจันทร์เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ปีขาลโทศก ศักราช 1132 (พ.ศ. 2313) ทรงมีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เมืองนนทบุรี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีการสร้างพระอารามถวายแด่พระบรมราชชนนีในนิวาสถานเดิมซึ่งปัจจุบันคือ
วัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีสุลาไลย เป็นบุตรีของชาวไทยมุสลิมชื่อนายบุญจันที่รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน กับคุณเพ็ง บุตรีของพระยาราชวังสัน (หวัง) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาจักรี (หมุด) มีเคหะสถานเดิมอยู่ริมวัดหงส์รัตนารามในคลองบางกอกใหญ่ กับท่านชู สตรีชาวไทยแถบสวนวัดหนัง ฝั่งธนบุรี นอกจากนี้พระองค์มีพระอนุชาต่างมารดา ชื่อ นาค อันเป็นต้นสกุลของพระยารัตนอาภรณ์ (แตง)
ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีขาล โทศก จุลศักราช ๑๑๒๓ ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๓ ที่นิวาสสถานซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน พระบิดานามว่าบุญจัน ต่อมาเป็นพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน เจ้าเมืองนนทบุรี พระมารดานามว่าท่านเพ็ง เป็นบุตรีพระยาราชวังสัน (หวัง) กับท่านชู เป็นชาวสวนเขตวัดหนัง จังหวัดธนบุรีความตอนหนึ่งในหนังสือประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๒๐ ภาคที่ ๓๓ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี นับแต่วันประสูติ ปรากฏข้อความที่ทรงพรรณนาถึงพระราชประวัติ สมเด็จพระศรีสุราลัย ตอนหนึ่งดังนี้“บัดนี้จะได้รับพระราชทานพรรณนาลำดับพระวงศ์ฝ่ายกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี เพื่อให้เป็นที่ทรงระลึกถึงคุณแห่งบรรพบุรุษ และเป็นที่ทรงสังเวชตามพระบรมราชประสงค์ ก็แลลำดับเชื้อวงศ์ซึ่งสืบเนื่องกันมาอย่างไรนั้น ท่านซึ่งเป็นใหญ่ในตระกูลแต่ก่อนๆ มักจะปิดป้องมิให้ผู้น้อยในตระกูลทราบ ด้วยรังเกียจว่า จะไปออกนามเล่นในเวลาไม่ควร ในที่ไม่ควรบ้าง กลัวว่าผู้น้อยจะกำเริบเย่อหยิ่งว่าตัวเนื่องประพันธ์สนิทในท่านผู้มีเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน แล้วประพฤติการทุจริตผิดไปต่างๆ ด้วยความทนงใจบ้าง ครั้นเมื่อท่านผู้ใหญ่ล่วงไปแล้ว ผู้น้อยในตระกูลนั้นก็ไม่ทราบเชื้อสายว่ามาอย่างไร ไม่สามารถที่จะเล่าบอกกันต่อๆ ไปได้ ดังนี้เป็นคติโบราณเคยประพฤติมาโดยมาก ก็แลราชินิกูลข้างฝ่ายกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย อันเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมื่อไต่ถามดูก็ไม่ได้ความตลอดถ้วนถี่ มีเค้ามูลเพียงดังจะได้รับพระราชทานพรรณนาสืบไปนี้มีความว่า
พระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุราลัยนั้น มีนามบุญจัน ได้ทำราชการแผ่นดินเป็นที่พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน ตั้งเคหสถานอยู่ในที่ซึ่งได้ทรงสถาปนาเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ ณ เมืองนนทบุรี มีภรรยาใหญ่ซึ่งเป็นพระชนนีกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย มีนามว่าท่านเพ็ง มีแต่พระธิดาองค์เดียว คือกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย ได้ทำราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เสด็จประทับอยู่บ้านหลวงเดิมแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ครั้นเมื่อเสด็จลงไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมก็ตามเสด็จไป ได้ประสูติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังเดิม แล้วมีพระราชโอรสอีกสองพระองค์ ทรงพระนามพระองค์เจ้าป้อมพระองค์หนึ่ง อีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามพระองค์เจ้าหนูดำ สิ้นพระชนม์เสียแต่ก่อนแล้วทั้งสองพระองค์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็เสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังได้ดำรงที่พระสนมเอก บังคับการห้องเครื่อง ชนทั้งปวงออกพระนามว่าเจ้าคุณ และได้เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังเป็นกรมนั้นบ้างเป็นครั้งคราว จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ”สมเด็จพระศรีสุลาไลย เป็นบุตรีของชาวไทยมุสลิมชื่อนายบุญจันที่รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน กับคุณเพ็ง บุตรีของพระยาราชวังสัน (หวัง) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาจักรี (หมุด) มีเคหะสถานเดิมอยู่ริมวัดหงส์รัตนารามในคลองบางกอกใหญ่ กับท่านชู สตรีชาวไทยแถบสวนวัดหนัง ฝั่งธนบุรี นอกจากนี้พระองค์มีพระอนุชาต่างมารดา ชื่อ นาค อันเป็นต้นสกุลของพระยารัตนอาภรณ์ (แตง)
เข้ารับราชการคุณเรียมเริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และตามเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังเดิม ถือเป็นหม่อมห้ามคนที่สองของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ท่านแรก คือ คุณศรี ธิดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช)เจ้าจอมมารดาเรียมได้ประสูติพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระราชวังเดิม จำนวน 3 พระองค์
คือ1.พระองค์เจ้าทับ ต่อมาคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และเสวยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2394 รวมพระชนมพรรษา 63 พรรษา
2.พระองค์เจ้าป้อม ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 7 ค่ำ ปีจอโทศก จุลศักราช 1152 ตรงกับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2333 สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อปีฉลูเบญจศก จุลศักราช 1155 พุทธศักราช 2336 พระชันษา 3 ปี3.พระองค์เจ้าหนูดำ ประสูติเมื่อเดือน 4 ปีชวดจัตวาศก จุลศักราช 1154 พุทธศักราช 2335
สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อปีฉลูเบญจศก จุลศักราช 1155 พุทธศักราช 2336 พระชันษา 1 ปีหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสวยราชสมบัติ เจ้าจอมมารดาเรียมก็ได้ตามเสด็จไปประทับ ณ พระบรมมหาราชวัง ดำรงตำแหน่งพระสนมเอกดูแลห้องเครื่องต้นทั้งปวง ชาววังออกนามว่า เจ้าคุณจอมมารดาเรียม
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อปีวอก พ.ศ. 2369 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็นเจ้า เฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จกรมพระศรีสุราลัย อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะเป็นมุสลิม แต่พระองค์ก็ปฏิบัติศาสนกิจทางพุทธศาสนาเช่นเจ้านายพระองค์อื่น ทั้งการทอดพระกฐิน การเสด็จทำบุญ โดยไม่มีข้อขัดแย้งทางศาสนาใดๆ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
สวรรคต
พระองค์ทรงพระประชวรไข้พิษและเสด็จสวรรคตเมื่อวันอังคารเดือน 11 แรม 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2380 สิริรวมพระชนมายุ 68 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการจัดพระเมรุมาศ และถวายเพลิงพระศพ ก่อนที่จะนำพระบรมอัฐิอัญเชิญสู่พระบรมมหาราชวัง