ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 22' 43.7273"
15.378813129221445
Longitude : E 99° 58' 35.0551"
99.97640419006346
No. : 108823
การละเล่นเพลงพื้นบ้านท่าโพ
Proposed by. อุทัยธานี Date 17 August 2011
Approved by. อุทัยธานี Date 25 October 2021
Province : Uthai Thani
2 2112
Description

เพลงพื้นบ้านท่าโพ เป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ชาวบ้านท่าโพร้องและเล่นสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน สันนิษฐานว่าในอดีตบ้านท่าโพ ก็จะร้องรำทำเพลงที่มีในท้องถิ่นของตน จึงทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมการแสดงหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในหมู่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงพิษฐาน เพลงชักเย่อ เพลงโลม เพลงรำวง เพลงกรุ่น เพลงบวชนาค ฯลฯ

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ ผู้เขียนมรดกใหม่จากลุ่มน้ำสะแกกรัง ได้กล่าวถึงความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านท่าโพตอนหนึ่งว่า “เพลงพื้นบ้านท่าโพนั้นน่าจะเป็นเพลงพื้นบ้านของเดิมเพราะเล่นกันอยู่ในวงแคบๆ ตามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและมีผู้จดจำมา ไม่ได้นำเนื้อร้องของใครมาเสริมแต่งดัดแปลง

ในช่วงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นปีแห่งการรณรงค์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย อาจารย์สำเริง รงค์ทองอดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดพันสี ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาอย่าง จังหวัดอุทัยธานี พร้อมคณะกรรมการดำเนินงาน ได้ฟื้นฟูการเล่นเพลงพื้นบ้านท่าโพขึ้นโดยชักชวนพ่อเพลง แม่เพลงและผู้สนใจในหมู่บ้านท่าโพทั้งชายและหญิงมาฝึกซ้อมจนสามารถ ร้องรำถ่ายทอดให้คนในจังหวัดอุทัยธานีชม จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นที่ยอมรับว่าเพลงพื้นบ้านท่าโพเป็นเพลงพื้นบ้านที่สำคัญของจังหวัดอุทัยธานี อาจารย์สำเริง รงค์ทอง ซึ่งเป็นพ่อเพลงคนหนึ่งและถือว่าท่านเป็นศิลปิน ผู้ทรงภูมิปัญญาของหมู่บ้านท่าโพ เป็นผู้รวบรวมบทเพลงพื้นบ้านท่าโพไว้เป็นอย่างดี เพื่ออนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าต่อไปท่านได้เล่าถึงความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านท่าโพว่า

“เพลงพื้นบ้านท่าโพนั้น เป็นศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว นิยมเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ของทุกปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญกันที่วัดท่าโพ หลังจากทำบุญตักบาตรในตอนเช้าเสร็จแล้วก็จะมีการเล่นเพลงพื้นบ้าน สร้างความสนุกสนานรื่นเริงในหมู่บ้านซึ่งจะมีทั้งเด็ก หนุ่มสาว และผู้เฒ่า ผู้แก่รวมทั้งหนุ่มสาวในหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมร้องเพลงกันด้วยเนื้อหาของเพลงที่ร้องส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสีระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง”

การแสดงเพลงพื้นบ้านท่าโพ มีการสืบทอดต่อๆกันมาหลายช่วงอายุคนทำให้บางเพลงมีเนื้อร้องและทำนองผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับเดิมอยู่บ้าง บางเพลงมีการเสริมแต่งให้มีความไพเราะหรือสนุกสนานขึ้น เนื้อร้องบางเพลงอาจมีการปรับปรุงเพื่อให้ถูกจังหวะ แต่ก็พยายามรักษาต้นฉบับเดิมของเพลงไว้มากที่สุด บทเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมานาน ที่รวบรวมไว้มีดังนี้

1. เพลงพิษฐาน

2. เพลงชักเย่อ

3. เพลงโลม

4. เพลงกรุ่น

5. เพลงฮิลเลเล

6. เพลงระบำ

7. เพลงบวชนาค

8. เพลงเกี่ยวข้าว

9. เพลงกล่อมลูก

10. เพลงรำสวด

11. เพลงแห่นางแมว

12. เพลงรำวงโบราณ

ปัจจุบัน เพลงพื้นบ้านท่าโพ ยังคงได้รับการสืบทอดต่อไปยังชาวบ้านท่าโพ โดยได้ร่วมกลุ่่มกันก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านท่าโพ โดยมีนายสุรงพงศ์ ทิพย์ศิริ เป็นหัวหน้ากลุ่ม และมีสมาชิกเป็นชาวบ้านท่าโพ และ และยังได้สืบทอดไปยังเยาวชนในพื้นที่บ้านท่าโพ ได้หัดร้องหัดรำ เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านท่าโพ มิให้สูญหาย และยังสามารถนำการแสดงเพลงพื้นบ้านท่าโพออกไปแสดงในงานต่างๆ ทั้งในจังหวัดอุทัยธานี และต่างจังหวัด

Location
บ้านท่าโพ
Moo บ้านท่าโพ ม.4
Amphoe Nong Khayang Province Uthai Thani
Details of access
Reference นางเอมอร ศรีสุข
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี
Road ศรีอุทัย
Tambon อุทัยใหม่ Amphoe Mueang Uthai Thani Province Uthai Thani
Tel. ๐ ๕๖๕๑ ๓๘๖๖
Website http://m-culture.in.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่