ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 7' 2.7581"
15.1174328
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 36' 40.9928"
103.6113869
เลขที่ : 96396
เกวียน
เสนอโดย vannatit kitdee วันที่ 12 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สุรินทร์ วันที่ 25 มกราคม 2555
จังหวัด : สุรินทร์
0 726
รายละเอียด

ภาษากูย/กวย เรียกว่า ระเเท้ะ/ระเภะ ภาษาเขมร เรียกว่า ระเต๊ะ ภาษาลาว เรียกว่า เกวียน ระเต๊ะ เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านใช้สำหรับขนย้ายสิ่งของ ลำเลียงสัมภาระหรือเป็นพาหนะในการเดินทาง ไปในที่ต่างๆโดยใช้แรงวัว แรงควายมาเทียมลากจูงให้เคลื่อนที่ ระเต๊ะที่ชาวบ้านนิยมใช้ มี ๓ ชนิดคือ ๑. ระเต๊ะแปรก (ระเต๊ะ- เกวียน แปรก–คานล้อเกวียน)เป็นเกวียนลักษณะ ทรงเตี้ย ด้านข้างของล้อเกวียนทั้งสอง มีลักษณะคล้ายคานเพื่อสวมเพลายึดติด ภาษาถิ่น เรียกว่า แปรก เป็นเกวียนสร้างเริ่มแรก ข้อเสียของเกวียนชนิดนี้คือ เวลาขับเข้าในสถานที่แคบๆ หรือขับเข้าในป่า คานมักจะระ หรือชน ตอไม้ ต้นไม้ หรือสิ่งกีดขวางที่ขึ้นตาม ริมทางผ่าน ซึ่งอาจทำให้เกวียนหัก เสียหายได้ง่าย ๒. ระเต๊ะปะตรูน (ระเต๊ะ - เกวียน ตรูน – หลังคา หมายถึงเกวียนที่มีหลังคากันแดด ฝน) เป็นเกวียนลักษณะเหมือนระเต๊ะแปรก เพียงแต่ มีหลังคาสำหรับกันแดด กันฝน หลังคานี้สามารถถอดออกหรือประกอบเข้าใหม่ได้ตามความต้องการ ๓. ระเต๊ะลอ (ระเต๊ะ - เกวียน ลอ – ล้อเกวียน) เป็นเกวียนที่สร้างรุ่นหลัง ลักษณะเหมือนเกวียนทั่วๆไป แต่จะสูงกว่าด้านข้างของล้อเกวียนไม่มีคานสำหรับยึดติดเพลาเกวียน จะประกอบขึ้นอย่างแน่นหนา และมั่นคงแข็งแรง บางรายจะใช้เหล็กมาเป็นอุปกรณ์เสริมด้วย เหมาะสำหรับใช้บรรทุกสิ่งของสัมภาระที่มีน้ำหนักมาก หรือ ขนย้ายไปคราวละมากๆ ข้อดีของระเต๊ะลอนี้จะมั่นคงแข็งแรงกว่าและสะดวกใน การบังคับไม่ให้ชนสิ่งกีดขวางได้ง่าย

สถานที่ตั้ง
อำเภอจอมพระ
ตำบล จอมพระ อำเภอ จอมพระ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอจอมพระ
บุคคลอ้างอิง นายสนาน สุขสนิท
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ถนน เลี่ยงเมือง
อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044712854 โทรสาร 044512030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่