บ้านเรือนไม้ตะเคียนหลังคาทรงลีหม๊ะ (ปั้นหยา)
สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ อายุประมาณ ๑๐๐ ปี ก่อสร้างโดยนายช่างเชื้อสายราชวงค์ปตานี ที่หนีภัยสงครามจากการรุกรานของประเทศสยาม มาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านกาหยี ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ความทราบถึงรัฐบาลสยาม ครอบครัวนี้จึงอพยพต่อ (ซึ่งไม่ทราบว่าอพยพไปอยู่ที่ไหน) บ้านหลังนี้จึงตกทอดเป็นของต่วนโมง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ เมื่อต่วนโมงเสียชีวิต จึงถูกขายทอดให้กับปู่-ย่าของนางวาแมะ ปาแย ผู้เป็นภรรยาของนายมะลี ปาแย ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมโบราณในบ้านหลังนี้ หลักฐานที่ยังคงเหลืออยู่ คือ ไม้ตะเคียนที่ทำช่องแสงลายตีตาราง คล้ายตาข่ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยใช้ลิ่มไม้ประกอบเป็นตัวบ้านและช่องแสง ได้สอบถามผู้รู้นายช่างไม้ในหมู่บ้าน คือ นายต่วนอับดุลเลาะ มือฆะ ซึ่งมีเชื้อสายราชวงค์ท่านได้บอกเล่าว่า สถาปัตยกรรมโบราณลายตีตารางโดยใช้ลิ่มไม้ในการประกอบนี้คนสอนคือ คนเวียดนามซึ่งเป็นพ่อค้าที่มาค้าขายกับประเทศปาตานีดารุสลามโดยทางเรือสำเภาถูกมรสุมพายุเรือล่มแตกจึงมาขึ้นฝั่งบนบกที่ หมู่บ้านตะโละมาเนาะ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี จากนั้นได้ตั้งครอบครัวและแต่งงานกับคนในหมู่บ้านได้ประกอบอาชีพเป็นช่างก่อสร้างซึ่งสมัยก่อนการติดต่อสายสัมพันธ์ จะมาแลกเปลี่ยนสินค้ากันซึ่งคนที่อยู่ริมทะเลจะเอาปลามาแลกกับข้าวเปลือกและมะพร้าวกับที่ทำการเพาะปลูกที่ริมเชิงขาจึงเป็นที่มาของการติดต่อสายสัมพันธ์กับลายตีตารางประการฉะนี้