เป็นอาหารโบราณ ที่นิยมทำรับประทานในงานเทศกาลงานรื่นเริง เช่น งานวัด งานมงคล งานอวมงคล เนื่องจากสมัยก่อนอำเภอโพธิ์ทองมีต้นบอนอยู่มาก ชาวบ้านจึงได้นำภูมิปัญญาชาวบ้าน นำพืชพื้นบ้านมาดัดแปลงปรับปรุงเป็นอาหารคาว รับประทานในงานเทศกาลต่าง ๆ ประเพณี/ความเชื่อ เวลาปอกเปลือกบอน ห้ามพูด ห้ามข้าม ถ้าทำอย่างนั้นกินแล้วจะคันปาก เครื่องปรุง/ส่วนผสม ๑. บอน ๒. หัวหอม ๓. กระเทียม ๔. ตะไคร้ ๕. กระชาย ๖. กะปิ ๗. พริกป่น,ผิวมะกรูด ๘. ปลาร้า, น้ำตาลปี๊ป, มะขามเปียก ๙. กะทิ ๑๐. ปลาย่าง หมูย่าง หรือเนื้อย่าง ขั้นตอน/วิธีการทำ ๑. นำหัวหอม กระเทียม ตะไคร้ กระชาย กะปิ พริกป่นและผิวมะกรูด มาใส่ครกโขลกให้ละเอียดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพริกแกง ๒. เมื่อโขลกพริกแกงเสร็จให้นำเนื้อปลาลงไปโขลกพอประมาณ ๓. นำก้านบอนมาลอกเปลือกออกแล้วล้างให้สะอาดจนหมดยาง ๔. ตั้งกะทิให้เดือดจนแตกมันแล้วจึงนำพริกแกงที่เตรียมไว้ใส่ลงไป เคี่ยวจนกว่า จะได้ที่ ๕. ใส่เครื่องปรุงรสให้ออกรสชาติหวาน เค็ม เปรี้ยว ๖. เมื่อปรุงรสได้ที่ให้ใส่บอนที่เตรียมไว้ลงไป ฤดูที่นิยมกิน ทุกฤดูกาล รสชาติ เปรี้ยว เผ็ด เค็ม
คุณค่าทางอาหาร บอนจะให้ปรอมาณของใยอาหารที่มากใยอาหารก็จะมีประโยชน์ในแง่ช่วยดักจับสารพิษในลำไส้ใหญ่ได้ และช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น สิ่งที่สำคัญของแกงบอน มีสมุนไพรและเครื่องเทศซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย และใบมะกรูดฉีก ที่ฉีกไว้สำหรับโรยแกงบอนจะช่วยทำให้อนุมูนอิสระในร่างกายลดน้อยลงไปได้