ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 58' 0.696"
14.96686
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 4' 23.952"
102.07332
เลขที่ : 48516
วัดป่าสาลวัน
เสนอโดย pom pom วันที่ 22 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 30 กันยายน 2564
จังหวัด : นครราชสีมา
0 609
รายละเอียด

วัดป่าสาลวัน ก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยหลวงชาญนิคมพร้อมครอบครัว ได้มอบที่ดินซึ่งมีลักษณะพื้นดิน เป็นทราย ภูมิฐานสูงกลาง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐ - ๔๐ เส้น ห่างสถานีรถไฟโคราช ๓๐ เส้นเศษ เพื่อสร้างให้เป็น สำนักสงฆ์สำหรับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสฺโส) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ซึ่งให้นามวัดว่า “วัดป่าสาลวัน” เนื่องจากบริเวณของวัดเต็มไปด้วยป่าไม้เต็งรัง และได้ออกมาบำเพ็ญภาวนาเป็นครั้งคราวเมื่อว่างเว้นจากงานคณะสงฆ์ วัดแห่งนี้เป็นวัดอรัญญวาสี หรือวัดป่า สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โดยเป็นแหล่งรวมของพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๙ โดยได้อาราธนาพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม) ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาอยู่จำพรรษาในระยะแรก โดยมีพลตรีหลวงโจมจตุรงค์ปลัดสุขาฯ นายเกลี้ยง สมุห์บัญชี และนายมณี เป็นผู้มีศรัทธาในการสร้างอุโบสถกลางน้ำ (สิมน้ำ) ซึ่งมีฐานรากเสาเป็นคอนกรีตต่อเสาไม้เต็งรัง พื้นฝาเครื่องบนไม้ หลังคามุงสังกะสี กว้าง ๘ ศอก ยาว ๑๖ ศอก รวมราคา ๖๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ศิษย์รูปสุดท้ายของพระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) และพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ให้ความสำคัญกับการฝึกวิปัสสนา กรรมฐานเป็นพิเศษ โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุ ปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศ เดินทางมายังวัดป่าสาลวัน เพื่อฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอย่างล้นหลาม ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันหลวงพ่อพุธจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่คำสอนและแนวทางการฝึกวิปัสสนากรรมฐานของท่านก็ยังคงเป็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่ไปปฏิบัติธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน วัดป่าสาลวัน สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีเนื้อที่ ๔๓ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ ปัจจุบันมีพระวินัยโมลี (คำปอน สุทธิญาโณ) รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) เป็นเจ้าอาวาส ท่องเที่ยววัดเก่าแก่ของจงหวัด มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 39 สิ่งที่น่าสนใจ อนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์ เป็นเจดีย์ แห่งพระกัมมัฏฐาน ยอดเจดีย์บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ และอัฐิธาตุบูรพาจารย์ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ภายใน มีรูปเหมือนของหลวงปู่เสาร์ กนตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺ ตยาคโม พระอาจารย์พร สุมโน และหลวงพ่อ พุธ ฐานิโย โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างถวายแด่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปได้มาเคารพ กราบไหว้ บุษบกพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาการเปรียญของวัดป่าสาลวัน เป็นบุษบกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุ ของบูรพาจารย์ ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต และหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดป่าสาลวัน
เลขที่ ๒๖๔ ถนน สืบศิริ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน
บุคคลอ้างอิง พระครูใบฎีกาสมัคร วรัญญู
ชื่อที่ทำงาน วัดป่าสาลวัน
ถนน สืบศิริ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
โทรศัพท์ ๐๘-๐๑๕๐-๗๐๖๕
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่