ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 26' 36.4924"
13.4434701
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 54' 16.6277"
99.9046188
เลขที่ : 36978
วัดเสด็จ
เสนอโดย - วันที่ 2 มกราคม 2553
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 1521
รายละเอียด

วัดเสด็จตั้งอยู่ที่บ้านคลองดอน หมู่ที่ ๗ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

วัดเสด็จ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ โดยพระอธิการใจ เป็นเจ้าอาวาส เดิมชื่อ “วัดใหม่ยายอิ่ม” เพราะยายอิ่ม เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมาก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เรียกชื่อใหม่ว่า “วัดใหม่ใต้ปากคลองดอน” ตามชื่อคลองซอยที่แยกเข้าข้างวัด

เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาตรวจคณะสงฆ์ และประทับที่ศาลาการเปรียญของวัดนี้ ได้รับสั่งกับ
พระอธิการใจเจ้าอาวาสว่า “วัดนี้สะอาดสะอ้านดี มีชื่อแล้วหรือยัง พระอธิการใจ
กราบทูลว่ายังไม่มีชื่อ จึงรับสั่งว่าถ้าเช่นนั้นชื่อ “วัดเสด็จ”ก็แล้วกัน เป็นที่ระลึกว่า
ฉันมาที่นี่

เรื่องของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เสด็จที่วัดเสด็จนี้ มีบันทึกเป็นหลักฐานไว้ว่า “เสด็จทางลำแม่น้ำอ้อม เพื่อทอดพระเนตรวัดในทางนั้น เสด็จขึ้นวัดใหม่คลองดอน ที่มิได้กะไว้ในหมายเสด็จ วัดนี้มีพระอธิการใจเป็นเจ้าอาวาส รักษาสะอาดดี อุโบสถ ศาลา และกุฏิตลอดถึงลานวัดปัดกวาดเรียบร้อยไม่มีอันที่จะพึงตำหนิได้ พระอธิการใจรูปนี้เป็นพระ
ที่มีพรรษาอายุสมเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่วัยพอดี ทั้งมีมารยาทเรียบร้อย ท่าทางคล่องแคล่ว เป็นที่นับถือของชาวบ้าน ได้ประทานย่อมตรามหาสมณุตมาภิเศก กับหนังสือหัวใจไตรสิกขาและธรรมภาษิต แก่พระอธิการใจ เป็นประสาทการ และประทานนามวัดเปลี่ยนใหม่ว่า “วัดเสด็จ” หมายความว่าเสด็จมาโดยฉุกเฉิน ได้ทอดพระเนตรเห็นความสะอาดเอี่ยมของวัดอันเป็นอยู่โดยปรกติ ทรงปฏิสันถารแก่พระสงฆ์ และคฤหัสถ์ชายหญิงที่
พากันมาเฝ้า โดยสมควรแก่เวลาแล้ว เสด็จขึ้นวัดบางสะแก

พระอธิการใจ ผู้นี้ ภายหลังได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็น พระครูสุทธิสาร เจ้าคณะแขวงบางคนที พ.ศ.๒๔๖๐ เป็น เจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็น พระสุทธิ
สารวุฒาจารย์ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็น พระราชมงคลวุฒาจารย์ พ.ศ. ๒๕๐๔

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาที่วัดเสด็จอีกเป็น
ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ประทับแรมอยู่ ๖ ราตรี ทรงตั้งพระอธิการใจเป็นพระครู
ผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคนที ทรงบริจาคเงินส่วนพระองค์สมทบในการสร้างอุโบสถ ๒๐๐ บาท และได้ให้พระนวการโกวิท ช่วงในกรมธรรมการมาจัดการออกแบบเครื่องบนอุโบสถ

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต ได้เสด็จมาที่วัดนี้ และประทับแรมอยู่ ๓ คืน สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าทรงบริจาคเงิน ๕๐ บาท และสมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงบริจาค ๒๐๐ บาท สมบทสร้างอุโบสถ

พ.ศ. ๒๔๙๘ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาหาพระราชมงคลวุฒาจารย์ที่วัดนี้ และได้อนุมัติเงินให้สร้างโรงเรียน ๗๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ประชาชนถวายเงินแก่พระราชมงคลฯ อีก ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษ สร้างเป็นโรงเรียนตึก ๒ ชั้น
ยาว ๔๐ เมตรเศษ เป็นโรงเรียนที่สวยงามที่สุดในคลองแควอ้อมสมัยนั้น

พ.ศ.๒๕๐๕ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) มรณภาพ อายุเกือบ ๑๐๐ ปี (หย่อน ๕ เดือน) ได้พระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ

สิ่งสำคัญของวัดที่ควรชมและนมัสการ ได้แก่

๑. อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ก่ออิฐถือปูน เครื่องบนไม้สัก
หลังคามุงกระเบื้องดินเผา

๒. วิหาร สร้างด้วยไม้สัก เดิมใช้เป็นอุโบสถ

๓.พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อจำลอง พระพุทธชินราช

การเดินทางการเดินทางไปวัดเสด็จ ไปได้ทั้งบกและทางน้ำ ทางบกโดยทางรถยนต์เข้าถนนผลไม้ หรือทางหลวงชนบทหมายเลข สส.๔๐๐๔ ผ่านวัดอินทารามเลี้ยวขวา ถนนดีแต่ค่อนข้างเล็ก รถบัสใหญ่วิ่งได้ เลียบคลองแควอ้อม ถึงวัดเสด็จใกล้กับวัดละมุด

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดเสด็จ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 7 / บ้านคลองดอน
ตำบล เหมืองใหม่ อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
บุคคลอ้างอิง นางสาวพรทิพย์ ไชยา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภออัมพวา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ถนน เอกชัย
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034735334 034-71813 โทรสาร 034-718138
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่