ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 24' 50"
13.4138889
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 0' 11.9999"
100.0033333
เลขที่ : 36819
วัดพวงมาลัย
เสนอโดย - วันที่ 2 มกราคม 2553
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 1188
รายละเอียด

วัดพวงมาลัย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ด้านตะวันตก ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ระหว่าง พ.ศ.2425 – 2430 โดยท่านสัสดีพ่วงและนางมาลัย ภรรยา ได้มีศรัทธาถวายที่ดินของตน ให้สร้างเป็นวัดได้ชื่อว่า “วัดพ่วงมาลัยสุนทราราม” ต่อมา ภายหลัง เรียกชื่อสั้น ๆ ว่าวัดพ่วงมาลัย จนกลายเป็นวัดพวงมาลัยทุกวันนี้

เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว ได้อาราธนา “พระครูวินัยธรรม(หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร)”มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอธิการวัดช่องลม ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง

พระครูวินัยธรรม หรือ หลวงพ่อแก้ว เป็นพระธุดงค์ที่มีความเชี่ยวชาญทางสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีคนนับถือมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จญาณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทั้งปัจจุบัน อดีต และอนาคต เหรียญหลวงพ่อแก้วที่ท่านสร้างขึ้นเอเป็นเนื้อทองเหลือง ที่เรียกว่า “เนื้อลงหิน” มีรูปหลวงพ่อแก้วอยู่ด้วย พร้อมด้วยตะกรุด ผ้ายันต์ และลูกอมนั้น มีคนนิยมกันมากว่าคงกระพันชาตรีดีนักแล ปัจจุบันมีราคาแพงมาก เช่นเดียวกับเหรียญหลวงพ่อคงวัดบางกะพ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตะกรุดใบลานที่หลวงพ่อเจาะจงทำให้ ต้องไปนำมาจากต้นที่ขึ้นอยู่ปากคลองบังปืน ตำบลบังปืนเท่านั้น ผู้ใดอยากได้ตะกรุดก็ต้องไปตัดมาถวายให้ท่าน

ชื่อเสียงของหลวงพ่อแก้ว เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ในเรื่องอาคมขลัง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ได้ปูพื้นฐานของวัดให้เจริญรุ่งเรืองตกทอดต่อกันมากลายเป็นวัดพวงมาลัยที่งดงามมั่นคงมาจนทุกวันนี้

เมื่อปี พ.ศ.2416 เกิดอหิวาตกโรคระบาด ชาวบ้านไปขอน้ำมนต์จากท่านมาอาบและดื่มกินแล้วหายจากโรคกันมาก ชื่อเสียงของท่านก็โด่งดังเลื่องลือไปถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินในกรุงเทพฯ มีเจ้านายหลายพระองค์มาเยี่ยมหลวงพ่อแก้ว เช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นต้น

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชนั้น ทรงคุ้นเคยกับหลวงพ่อแก้วเป็นพิเศษทรงสร้างตำหนัก ชื่อว่า “ภาโณทยาน” ไว้ที่ข้างวัดพวงมาลัย 1 หลัง เพื่อเป็นที่พักผ่อนพระตำหนักที่สมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิต เคยเสด็จมาประทับได้ถูกรื้อไปแล้ว เหลือแต่ที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทในตระกูลภาณุพันธุ์ ปัจจุบันได้กระทำเป็นพินัยกรรมถวายให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดพวงมาลัยแล้ว

สิ่งสำคัญของวัดพวงมาลัย ที่ควรชม และนมัสการ ได้แก่

พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 ศอก สูง 3 ศอกเศษ เป็นพระประจำวันวัดมาแต่เดิม หล่อด้วยทองเหลือง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มาแต่ที่ไหน ประจำอยู่ในวิหาร พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้ว หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก 17 นิ้ว เป็นพระประธานอยู่ในอุโบสถ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หล่อด้วยทองเหลือง ยาว 2 วา เศษ ประจำอยู่ในวิหาร เจดีย์แบบมอญ (เจดีย์หงสาวดี) หลวงพ่อแก้ว จำลองมาจากประเทศพม่า เมื่อครั้งท่านธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า และได้นำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในเจดีย์เป็นเจดีย์ที่ค่อนข้างแปลก และสวยงามมากน่าเสียดายยิ่งที่ยังไม่ได้รับการปฏิสังขรณ์ให้งดงามเท่าเดิม

ประวัติของวัดพวงมาลัยมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมาก ผู้สนใจสอบถามหาข้อมูลได้จากทางวัดและจากหนังสือเสด็จประพาสต้นของ ร.5

การเดินทาง ไปวัดพวงมาลัย สะดวก ถนนดี เมื่อผ่านวัดประทุมคณาวาสมาแล้ว เข้าถนนไชยพรเลียบแม่น้ำแม่กลองไปเรื่อย ๆ จนสุดถนนถึงทางสี่แยก ขวามือเป็นท่าเรือข้ามฟากไปตลาดแม่กลอง ขับรถตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็ถึงวัดพวงมาลัย ทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ(ถนนปทุม – มาลัย)

เจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย พระอธิการเรืองยุทธ สุธีโร

โทร 034-712339

สถานที่ตั้ง
วัดพวงมาลัย
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
บุคคลอ้างอิง นางสุภาวดี บุตรดา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
หมู่ที่/หมู่บ้าน - ถนน เอกชัย
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034712339 034718138 โทรสาร 034-718138
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่