ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 32' 53.9999"
13.5483333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 23.9999"
100.2733333
เลขที่ : 198460
โบราญสถานวัดตึกมหาชยาราม
เสนอโดย สมุทรสาคร วันที่ 30 ตุลาคม 2567
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 224
รายละเอียด

วัดตึกมหาชยาราม

ที่ตั้ง : ตำบลมมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

พิกัดภูมิศาสตร์ : รุ้ง ๑๓ องศา ๓๒ ลิปดา ๓๗ ฟิลิปดา เหนือ แวง ๑๐๐ องศา ๑๖ ลิปดา ๔๐ ฟิลิปดา ตะวันออก

พิกัดกริด ๔๗ PPR ๓๘๒๙๗๖ (แผนที่ทหารลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๐๓๖ IIพิมพ์ครั้งที่ ๑-RTSD มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐) พิกัด UTM Zone ๔๗ P, E ๖๓๘,๒๖๖ , N ๑,๔๙๗,๖๑๔

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง : ใช้เส้นทางเข้าเมืองสมุทรสาคร เลี้ยวซ้ายใช้เส้นทางไปโรงพยาบาลแล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานข้ามคลองมหาชัย เลี้ยวขวาตรงเชิงสะพานตรงไป ระยะทางประมาณ ๘๐๐ เมตร วัดตึกมหาชยารามจะตั้งอยู่ทางขวามือ

ลักษณะภูมิประเทศ : สถานที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนด้านตะวันออก ทางด้านทิศเหนือติดกับคลองมหาชัย

ประวัติ : วัดตึกมหาชยารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นประมาณปีพุทธศักราช ๒๒๓๐ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ไม่มีหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดคงคาราม” ต่อมามีนายอากรชาวจีน ชื่อ “ตั๋วตี๋”ได้อพยพครอบครัวมาจากสมุทรสงคราม เพื่อแสวงหาภูมิลำเนาใหม่ในการประกอบอาชีพ ได้เดินทางมาทางเรือและแวะเข้ามาพักที่บริเวณหน้าวัดนี้ในระหว่างเดินทางเกิดนิมิตว่า พระประธานในพระอุโบสถแนะนำให้ไปตั้งภูมิลำเนาแถบแม่น้ำสมุทรปราการจะมีโชคลาภใหญ่ครั้นไปตั้งภูมิลำเนาตามที่นิมิตปรากฏต่อมาร่ำรวยมากขึ้น จึงเกิดความเลื่อมใสได้มาทำนุบำรุงวัดนี้ขึ้น โดยสร้างกุฏิเป็นตึกแบบจีน ๒ หลัง วิหาร ๑ หลัง กับศาลาตึก ๑ หลัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อวัดย่อๆ ว่า “วัดตึก” (วัดตึกมหาชยาราม) จนกระทั่งทุกวันนี้หลักฐานทางด้านโบราณคดี:• พระอุโบสถลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่ว ลดชั้น ๒ ชั้นมุงกระเบื้องดินเผาซ้อนกันชั้นละ ๓ ตับ ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขลดด้านละ ๑ ห้อง ด้านข้างมีชายคาปีกนกมีเสาไม้กลม รองรับโครงหลังคา ช่อฟ้าใบระกาไม้ประดับกระจก หน้าบันลวดลาย ปูนปั้น ฝาผนังไม้ทาสีขาวด้านหน้าและหลังพระอุโบสถมีประตูทางเข้าด้านละ ๒ ประตู บานประตูไม้แกะสลักลายกระหนกเปลวทาสีทอง ด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๒ บาน ภายนอกโดยรอบพระอุโบสถมีซุ้มใบเสมารูปดอกบัวมีใบเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่ภายใน

• พระวิหารลักษณะเป็นเก๋งจีนก่ออิฐถือปูนหลังเล็กๆ หลักคามุงกระเบื้องดินเผามีปูนปั้นเป็นสันตามแนวยาวแบบจีน และบนสันหลังคาประดับลวดลายปูนปั้น ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขลดด้านละ ๑ ห้องผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า ๑ ประตู ด้านหลังทึบภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป

•เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถจำนวน ๓ องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กย่อมุมไม้สิบสองจำนวน ๒ องค์ ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ องค์ระฆังขนาดเล็กมีบัวรองรับปากระฆัง ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมย่อมุมรองรับชุดบัวคลุ่มเถาและปลียอด อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลม หรือทรงลังกาขนาดใหญ่ รอบองค์เจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยมยกสูงขึ้นมีระเบียงล้อมรอบ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวกลมถัดขึ้นไปเป็นชุดมาลัยเถา องค์ระฆังกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสาหานโดยรอบรองรับปล้องไฉนและปลียอด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ ๔

การกำหนดอายุสมัย : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การประกาศขึ้นทะเบียน : ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน

ประเภทของโบราณสถาน : ศาสนาสถานในพุทธศาสนา ยังมีการใช้ประโยชน์

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง
ตำบล มหาชัย อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสาคร อีเมล์ culture.skn@gmail.com
ตำบล มหาชัย อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่