ศาลพันท้ายนรสิงห์
(ศาลจำลองปาคลองโคกขาม)
ที่ตั้ง : ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร
พิกัดภูมิศาสตร์ : รุ้ง ๑๓ องศา ๒๔ ลิปดา ๒๔ ฟิลิปดา เหนือ แวง ๑๐๐ องศา ๒๑ ลิปดา ๔๕ ฟิลิปดา ตะวันออก
พิกัดกริด ๔๗ PPR๔๕๖๐๐๙ (แผนที่ทหารลำดับชุด L ๗๐๑๘ ระวาง ๕๐๓๖ IIพิมพ์ครั้งที่ ๒-RTSD มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐)
พิกัด UTM Zone ๔๗ P, ๖๔๕,๖๑๓, N๑,๕๐๐,๙๔๑
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง : จากตัวเมืองสมุทรสาครใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ถนนพระราม ๒) ไปทางธนบุรี ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาใช้ถนนข้างวัดพันท้ายนรสิงห์ระยะทางประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร ศาลพันท้ายนรสิงห์ (ศาลจำลองปากคลองโคกขาม) จะตั้งอยู่ทางขวามือบริเวณปากคลองโคกขาม
ลักษณะภูมิประเทศ : ที่ตั้งโบราณสถานเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมฝั่งทางด้านทิศให้ของคลองมหาชัย
ประวัติ : โบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวเนื่องกับพระราชพงศาวคารกรุงศรีอยุธยาเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ที่ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๗ สมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัยจะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ผู้ถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัด แก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำพันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัยแต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ เนื่องจากศาลพันท้ายนรสิงห์เดิมตั้งอยู่ในคลองโคกขามซึ่งอยู่ลึกเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร ทางจังหวัดสมุทรสาครพร้อมกับราษฎรจึงได้ร่วมกันสร้างศาลขึ้นที่บริเวณปากคลองโคกขาม เพื่อให้สะดวกแก่การสักการะบูชาแทนศาลพันท้ายนรสิงห์(หลังเดิม)
หลักฐานทางด้านโบราณคดี :ศาลพันท้ายนรสิงห์ลักษณะเป็นศาลไม้ขนาดเล็ก หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาหางมน ฝาไม้ลูกประกน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น ๒ ชั้นมีเสาไม้รองรับ ๖ ต้น
การกำหนดอายุสมัย : สมัยรัตนโกสินทร์
การประกาศขึ้นทะเบียน : ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒ เมื่อวันที่ มกราคม ๒๔๙๘ เนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ ขอบเขต
ด้านเหนือ กว้าง ๑ เส้น ๑๐ วา
ด้านใต้ กว้าง ๑ เส้น ๑๐ วา
ด้านตะวันออก กว้าง ๔ เส้น
ด้านตะวันตก กว้าง ๔ เส้น
ประเภทของโบราณสถาน : อนุสรณ์สถาน แหล่'ประวัติศาสตร์