นายสมพล หล้าสกุล เป็นช่าง (สล่า) อีกท่านหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ ปู่ และพ่อก็เป็นช่างตีเหล็ก (ในสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านแกะสลักไม้) เมื่อนายสมพล หล้าสกุล อายุได้แค่ ๑๒ ปี ก็ได้มาอาศัยอยู่กับยาย ที่ตำบลเหมืองจี้ จบ ป. ๔ แล้วในขณะนั้น ได้มานั่งดูปู่แกะสลักไม้ทุกวัน ๆ เป็นระยะเวลาหลายเดือน ด้วยความสนอกสนใจ จนกระทั่งปู่ถามว่าอยากจะลองแกะสลักไม้บ้างหรือไม่ จึงเป็นโอกาสดีที่ได้ลองทำ ด้วยความที่ตั้งอกตั้งใจดูปู่ทำมานาน
จึงสามารถทำได้เองทุกขั้นตอน จนทำให้ในที่สุดก็สามารถแกะสลักไม้ได้สำเร็จจนเป็น
องค์พุทธรูป ซึ่งปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีอายุ ๕๔ ปีแล้ว ยังเก็บรักษาไว้อยู่ในสมพลหัตถศิลป์ ในสมัยก่อนแกะพุทธรูปไม้ 1 องค์ ใช้เวลาแกะประมาณ 2 วัน จะได้เงิน จำนวน 2 บาท
การทำงานและสลักไม้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานของสมพล หล้าสกุล เกิดขึ้นเพราะความรักในงานเป็นที่สุด แม้ผลตอบแทนจะไม่คุ้มกับระยะเวลา แรงกาย แรงใจ ที่ทุ่มลงไปในงาน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการยึดมั่นในงานแกะสลักของเขาแต่อย่างใด กลับทำให้ต้องมุมานะเพิ่มความพยายามมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของงานแกะสลักไม้ และเพื่ออนุรักษ์ให้งานศิลป์นี้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไปนายสมพล หล้าสกุล ประติมากรแกะไม้ ชาวยอง เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2500 ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในครอบครัวช่างตีเหล็ก นายสมพล หล้าสกุลแต่งงานกับนางละไม สุยะวารี (หล้าสกุล) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่ นางสาวพิมลรัตน์ หล้าสกุล กับนางสาวอาภัสรา หล้าสกุล ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 213 หมู่ 8 ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน