ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 32' 13.0175"
15.5369493
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 54' 16.5967"
99.9046102
เลขที่ : 197860
ผ้าขาวม้าบ้านโคกหม้อ
เสนอโดย อุทัยธานี วันที่ 29 มีนาคม 2566
อนุมัติโดย อุทัยธานี วันที่ 29 มีนาคม 2566
จังหวัด : อุทัยธานี
0 491
รายละเอียด

ความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ผ้าทอทุกผืนจะทอผ้าจกให้เต็มผืนและย้อมด้วยสีจากธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติ อาทิ ครั่ง แก่นขนุน คำแสด เปลือกเงาะ มังคุด เปลือกสะตอ เป็นต้น การทอผ้าจกให้เต็มทั้งผืนนั้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยผู้ทอผ้าที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม 1 คน ต่อการทอผ้า 1 ผืน ให้แล้วเสร็จเพียงคนเดียวเท่านั้น จะไม่ส่งต่องานแต่ละขั้นตอนให้กับผู้อื่นอย่างแต่ก่อน ผืนผ้าจะมีความต่อเนื่องกลมเกลียวผสมผสานฝีมือจากช่างเพียงคนเดียวไม่มีการส่งต่อมือแต่อย่างใด

โดยผ้าแต่ละผืนจะใช้ระยะเวลาการทอตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี จะมีการใช้เทคนิกเข้าช่วย ด้วยการปรับความละเอียดของฟันหวี ทำให้เนื้อผ้ามีลวดลายที่ละเอียด ปราณีตมากยิ่งขึ้น พร้อมกับยังคงรักษารูปแบบเดิมลวดลายโบราณเอาไว้ในผืนผ้าลวดลายที่สร้างขึ้นมาใหม่ ในผืนเดียวกันไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งลายหมี่ลวงหรือลายนาค หมี่ตะเภาหรือลายเต่า ลายด่านกลาง ด่านใหญ่ ด่านเมืองลาว รั้วเมือง ลายนาค ลายหงษ์

แม้ว่าจะมีการนำเทคนิคเข้าช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่บ้าง แต่ก็ยังคงรักษาขั้นตอนการทอผ้าแบบโบราณเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ นับตั้งแต่ ขั้นตอนแรกในการกวักไหม ค้นหมี่ มัดหมี่ ย้อมสีพื้น แต้มหมี่ กอ ร้อยใส่พวงและสุดท้ายทอเป็นผืนผ้า ทุกกระบวนการทำด้วยฝีมือและแรงงาน ผ้าทอลายโบราณบ้านโคกหม้อจึงถือเป็นผ้าทออันทรงคุณค่า ที่ถูกสืบสานมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ที่สมควรอนุรักษ์สืบต่อไป

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายโบราณบ้านโคกหม้อ บ้านโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

มีการรวมกลุ่มกันของแม่บ้านโคกหม้อ โดยรวบรวมผู้ที่มีความสามารถในการทอผ้าได้ในหมู่บ้านโดยใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่ก่อตั้ง และได้ดำเนินการทอผ้าด้วยกี่มือ และกี่กระตุกเรื่อยมา ในแต่ละวันจะมีสมาชิกกลุ่มทอผ้ามาทอ วันละ 8-10 คน แต่ละคนจะมีรายได้ที่แตกต่างกัน โดยจะพิจารณาคุณภาพของชิ้นงานและระยะเวลา มีรายได้ตั้งแต่เดือนละ 8,000-20,000 บาท เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชน และเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน ได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง

คำสำคัญ
ผ้าขาวม้า
สถานที่ตั้ง
กลุ่มสตรีทอผ้าไหมลายโบราณบ้านโคกหม้อ
ตำบล โคกหม้อ อำเภอ ทัพทัน จังหวัด อุทัยธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี
บุคคลอ้างอิง นางสาวปริยาภัทร กาลปักษ์ อีเมล์ culture_uthai@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี
จังหวัด อุทัยธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่