ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 33' 21.6367"
18.5560102
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 58' 53.4626"
98.9815174
เลขที่ : 197626
โขมดหลวง (โขมดหลวงต้นธง)
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 27 ตุลาคม 2565
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 27 ตุลาคม 2565
จังหวัด : ลำพูน
0 254
รายละเอียด

ด้วยประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่
พุทธศตวรรษที่ ๑๔ ในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยได้มีประเพณีเดือนยี่เป็ง และทำพิธีลอยโขมดแล้วมีการจัดแต่งเครื่องสักการะบูชาใส่กระทง จุดธูปเทียนและนำปล่อยลงในน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำเกิดเป็นเงาขึ้นวับ ๆ แวม ๆ มองเห็นเป็นเสมือนแสงพะเนียงไฟผีโขมด ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียกผีป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ชาวล้านนาจึงเรียกว่าลอยโขมดและจากตำนานโยนก และตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า ประเพณีลอยโขมด หรือลอยไฟเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล การลอยโขมด เกิดขึ้นที่อาณาจักรหริภุญไชย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๙๐ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีกลุ่มคนมอญ หรือเม็งที่อาศัยอยู่ในเมืองหริภุญไชย ได้อพยพหนีอหิวาตกโรคที่เกิดขึ้น
ในเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงพากันอพยพออกจากหริภุญชัย ไปอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือสุธัมมวดี และต่อไปยังเมืองหงสาวดีเป็นเวลาถึง ๖ ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลายคนมีครอบครัวใหม่ที่นั่น และเมื่อทราบข่าวว่าอหิวาตกโรคในหริภุญชัยได้สงบลงแล้ว จึงพากันเดินทางกลับหริภุญไชย เมื่อถึงวันครบรอบปีที่ได้จากพี่น้องที่เมืองหงสาวดี จึงจัดดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะ พร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคใส่ลงในสะเปา ลักษณะคล้ายเรือ หรือใส่ในสะตวงหรือกระทงลอยลงน้ำแม่ปิง น้ำแม่กวง น้ำแม่ทา เพื่อส่งความระลึกถึงญาติพี่น้องที่ยังอยู่เมืองหงสาวดี จึงเป็นมูลเหตุของการลอยสะเปาหรือลอยโขมด หรือลอยกระทงนับแต่นั้นมา
จนถึงปัจจุบัน

การทำโขมดหลวง

วัสดุอุปกรณ์ประกอบด้วย

๑. ท่อนไม้ไผ่ ยาว ๑ เมตร จำนวน ๙ ท่อน

๒. ซีกไม้ไผ่ ยาว ๑ เมตร จำนวน ๑๖ เส้น

๓. ซีกไม้ไผ่ ยาว ๐.๕ เมตร จำนวน ๑ เส้น

๔. ลวด ตะปูและค้อนไม้

๕. กาบกล้วย

ขั้นตอนในการประกอบโขมด

๑. นำท่อนไม้ไผ่มาเรียงกันจำนวน ๓ ท่อน เป็น ๑ ชุด ทำอีก ๒ ชุด รวมเป็น ๓ ชุด และนำมาวางเรียงกันในแนวขนาน โดยให้มีระยะห่างระหว่างชุด ประมาณ ๑ ฟุต

๒. นำไม้ไผ่ผ่าซีกจำนวน ๗ เส้น มาวางขวางบนไม้ไผ่ทั้ง ๓ ชุด แล้วทำการตอกด้วยตะปู

๓. นำซึกไม้ไผ่ จำนวน ๔ เส้น ไปวางไขว้กับไม้ไผ่ซีกที่วางไว้ก่อนแล้วในข้อที่ ๒ โดยวางไว้ระหว่างท่อนไม้ไผ่ทั้ง ๓ ชุด ก่อนหน้านี้ แล้วใช้ลวดมัดติดกันให้แน่น จะได้เป็นฐานโขมด

๔. นำซีกไม้ไผ่จำนวน ๔ เส้น มาวางในลักษณะตั้งฉากไว้ที่มุมทั้งสี่ของฐาน ตอกปลายที่ติดกับฐานให้แน่นด้วยตะปู หรือมัดด้วยลวดให้แน่น แล้วนำปลายทั้งสี่เส้นมามัดรวมกันไว้กับซีกไม้ไผ่ที่นำมาตั้งไว้ตรงกลาง

๕. ใช้ซีกไม้ไผ่ยาว ๐.๕ เมตร จำนวน ๑ เส้น มามัดด้วยลวดไว้ปลายยอดของซีกไม้ไผ่ที่นำมามัดตั้งฉากไว้ในขั้นตอนที่ ๔ หรือดัดแปลงให้สวยงามและเหมาะสม

๖. นำกาบกล้วยมาหุ้มกับไม้ไผ่ เพื่อประโยชน์ในการนำดอกไม้และตุงช่อมาประดับตกแต่งบนโขมดให้สวยงาม และเพื่อช่วยในการพยุงให้โขมดสามารถลอยน้ำได้

สถานที่ตั้ง
ตำบลต้นธง
ตำบล ต้นธง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล ต้นธง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 0 5351 0243 โทรสาร 0 5351 0244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่