การแสดงนาฏศิลป์
รำเซิ้งหรือเซิ้งอีสาน
ประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่วงก์ส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานทำให้มีการแสดงเป็นของตนเองเช่น รำเซิ้ง รำภูไท รำโปงลาง
รำเซิ้งหรือเซิ้งอีสาน เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวบ้าน หมู่ที่ ๒๕ ตำบลแม่เล่ย์และชาวบ้านหมู่ที่ ๖ และ ๑๔ ตำบลวังซ่าน ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาจับจองที่ทำกิน เมื่อมีการอพยพเข้ามาอยู่ จึงได้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา
"การรำเซิ้ง" เดิมทีเชื่อว่าเกิดจากการเต้นรำเพื่อรักษาคนเจ็บป่วย เป็นการบูชาภูติผีปีศาจ เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วย เนื่องจากสมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควรต่อมาการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนี้ก็เริ่มหายไปเนื่องจากวิทยาการสมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่ จึงมีการดัดแปลงการรำเซิ้งไปใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองเป็นการรำเพื่อความสนุกสนาน
องค์ประกอบ
ผู้รำ เป็นชายหรือหญิง หรือทั้งชายและหญิง ตั้งแต่ ๑๐ คน ขึ้นไป
การแต่งกาย หญิงแต่งกายได้ ๒ แบบ คือ
แบบที่ ๑นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สามส่วนเสื้อแขนกระบอกสี่ส่วน
แบบที่ ๒นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สามส่วน ผ้าขาวม้ากระโจมอก คล้องแพรวาจากด้านหน้านำปลายทั้งสองไปไว้ด้านหลังผู้แสดงชาย นุ่งสะโหร่ง สวมเสื้อกุยเฮงผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกหัว
รำฟ้อนภูไท
การรำฟ้อนภูไท เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านการแสดงประเภทการรำของชาวภูไทแต่เดิมเป็นการรำภูไทของกลุ่มผู้ชายเคยเป็นชนที่อยู่สบสองจุไทยซึ่งเป็นบริเวณตอนเหนือของประเทศลาวและบางส่วนของเวียดนามเหนือติดต่อกับทิศใต้ของประเทศจีนแล้วอพยพเข้ามาประเทศไทย
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัวแยกออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑.อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจังหวัดต่าง ๆ คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร
๒.กลุ่มหนึ่งลงมาทางใต้ คือจังหวัดราชบุรี เรียกว่า ลาวโซ่ง
๓.และอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
การรำฟ้อนของชนภูไทได้เปลี่ยนมาเป็นฝ่ายหญิงทั้งหมดในภายหลังแล้วมีการผสมกันโดยมีผู้ชายร่วมรำด้วย โดยฝ่ายหญิงนุ่งผ้าถุงดำ เสื้อแขนยาวดำขลิบชายสีแดง เกล้าผมเป็นมวยสูง ชายนุ่งโจงกระเบนปล่อยชายทั้งหน้าหลัง หรือนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อกุยเฮงสีดำขลิบแดงเช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่มักใช้หญิงล้วนเพราะสะดวกในการจัด นอกจากนั้นยังสวมเล็บยาวอีกด้วย
การรำฟ้อนภูไทในพื้นที่อำเภอแม่วงก์จังหวัดนครสวรรค์เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวบ้านหมู่ที่ ๑๙ หรือบ้านน้อย ตำบลแม่เล่ย์ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ได้อพยพมาจากจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีป้าบุญจันทร์ โพธารามเป็นผู้ถ่ายทอดให้ลูกหลาน
การร้องสรภัญญะ หรือ "สรภัญญ์"
เป็นการแสดงประเภทการร้องประสานเสียงลักษณะการร้องคล้ายกับการสวดมนต์หมู่ นิยมมากทางภาคอีสาน หรือชุมชนที่มีชาวอีสานอาศัยอยู่ เนื้อร้องเป็นประเภทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการสรรเสริญหรือบูชาคุณพระรัตนตรัย เรื่องเกี่ยวกับชาดก หรือเรื่องอื่น ๆ
การร้องสรภัญญะใช้ช่วงเวลาก่อนออกพรรษา มีการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้าน โดยผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นสตรีล้วน ไม่จำกัดอายุ ทีมละ ๔-๘ คนผู้ร้องต้องแต่งกายให้สวยงามและเหมือนกันทั้งทีม เมื่อแข่งขันได้ทีมชนะในหมู่บ้านแล้วก็จะเป็นตัวแทนของหมู่บ้านแข่งขันกันต่อ ๆ ไปจนถึงระดับตำบลหรืออำเภอตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการตั้งไว้
ตัวอย่างคำกลอนสรภัญญะ
คำกลอนบูชาดอกไม้
มาลาดวงดอกไม้ (ซ้ำ)มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาแด่พระพุทธ (ซ้ำ)ผู้ใดตรัสรู้มา
มาลาดวงดอกไม้ (ซ้ำ)มาตั้งไว้เพื่อบุชา
ขอบูชาแด่พระธรรม (ซ้ำ)ผู้ใดนำคำสอนมา
มาลาดวงดอกไม้ (ซ้ำ)มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาแด่พระสงฆ์ (ซ้ำ)ผู้ดำรงศาสนา
มาลาดวงดอกไม้ (ซ้ำ)มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาแด่พระพุทธ (ซ้ำ)และพระธรรม พระสงฆ์พร้อม
ด้วยจิตอันนอบน้อมพร้อมทั้งครูผู้มีคุณ
ด้วยจิตอันไพบูลย์พุทธคุณจงครอบครอง
ประนมมือทั้งสิบนิ้วเหนือหว่างคิ้วสาธุการ
คำกลอนประกอบไหว้พระรัตนตรัย
นโมนมัสการจิตชื่นบานต่อองค์ภะคะวา
เลิศล้ำในโลกาทรงพระพานเป็นอันงาม
ไกลจากตัณหาสามข้ามโลกธรรมแปดประการ
สัมมาสัมพุทธะท่านตัดเป็นพระโพธิญาณ
ลูกชาติ ทั้งกันดาลเหตุเกิดทุกข์เป็นธรรมดา
ลูกขอปฏิบัติท่านจึงตัดซึ่งทุกขา
รักชาติแก่ศาลาพันมรณาถึงนิพพาน
อะระหัง อันวา ข้าเกตสงนานมีสการพุทธโธท่านเบิกบานท่านตื่นแล้วพ้นจากภัย
รู้หรอกคุณแลโทษสั่งสอนโปรดศัตเวนัย
พวกเราคงเชิดใจพระคุณท่านล้ำโลกา