๑.ประวัติความเป็นมา
บ้านดงกลาง หมู่ที่ ๓ ตำบลดงกลาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรแต่เดิมตำบลดงกลาง ในปัจจุบัน มีสภาเป็นป่า ต่อมามีการขยายที่ทำกินและสร้างบ้านเรือนของผู้คน บริเวณ “คลองข้าวตอก” จนเกิดเป็นชุมชนใหญ่ และหนาแน่นขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน จากวิถีของชุมชนบ้านดงกลาง ที่ทำจักสานขึ้นใช้สอย ในครัวเรือน ได้สืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น จักสานด้วยวัสดุไม้ไผ่ ใช้สีธรรมชาติ และอนุรักษ์ ลายดอกพิกุล ลายกางปลา และลายต่างๆ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ อาทิ ตะกร้า กระบุงเล็ก กระด้ง เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จักสานลายดอกพิกุล ชุมชนคุณธรรมบ้านดงกลาง หมู่ที่ ๓ ตำบลดงกลาง ของนางบุญเรือง สุขทัศน์ เริ่มแรกทำขึ้น เพื่อใช้สอยในครอบครัวมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งได้คุ้นเคยอยู่กับงานจักสานของแม่(นางเล็ก สุขทัศน์ อายุ ๘๒ ปี) ตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เริ่มแรกแม่สอนให้จักตอกให้เป็นก่อนแล้วฝึกสานเรียนรู้ไปด้วยกัน ด้วยเป็นงานที่ยากต้องใช้ความอดทนมากจึงไม่ได้สานงานต่อตั้งแต่อายุยังน้อย หันไปทำอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าที่ต่างถิ่น กระทั่งกลับมาทำนาที่บ้าน จึงได้มาเรียนรู้งานจักสานต่อ เพราะเกรงว่าการสานลายโบราณเช่น ลายดอกพิกุล เป็นต้น จะสูญไปจากครอบครัวและชุมชน จึงได้เรียนรู้งานจักสานต่อ เพราะเกรงว่าการสานลายโบราณจะสูญหายไป
๒. วัตถุประสงค์
๑) เพื่อทำให้สินค้าและผลิตภัณฑ์กลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม
๒) สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น
๓) สินค้าและผลิตภัณฑ์ได้รับการปรับเปลี่ยนและต่อยอดให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
๓. วัสดุ/อุปกรณ์
๑) ไม้ไผ่สีสุก
๒) มีดเหลา
๓) คีมไม้ใช้สำหรับคีบ
๔) เหล็กมาด
๕) กรรไกร
๖) เล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่/สีย้อมธรรมชาติ
๔. กระบวนการ/ขั้นตอน
๑) เลือกตัดไม้ไผ่สีสุก ที่ปล้องตรงลำยาว ที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป
๒) นำไม้ไผ่มาแช่น้ำรอจักตอก
๓) จักตอก ๑ วัน ขนาด ๒ – ๓ มิลลิเมตร
๔) ย้อมสีตอกด้วยสีเคมีอาหาร
๕) นำตอกมาสานขึ้นลายเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม
๖) ขึ้นโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ด้วยไม้ไผ่ และหวาย
๗) ตัดแผ่นที่สานไว้ สำหรับมาประกอบให้พอดีกับโครงที่ตามต้องการ
๘) ใช้หวายขม มาทำเป็นโครงก้นตระกร้า
๙) ใช้หวายน้ำ ทำขอบปากตระกร้า
๑๐) ตกแต่งให้สวยงาม ทาสารเคลือบเงากันแมลง
๕. คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้
๑)คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
รักษาเอกลักษณ์ให้ยั่งยืนและสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
๒)บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา การส่งเสริมให้มีการรักษาต่อยอดการทำผลิตภัณฑ์ จากไม้ไผ่สีสุกมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ให้แก่คนรุ่นหลังเกิดความภาคภูมิใจ เพื่อที่จะได้พัฒนา ต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่อไป และไม่ให้เกิดการสูญหายไปจากชุมชน
๖. ข้อมูลอ้างอิงบุคคล (ผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่)
ชื่อ-นามสกุล นางบุญเรือง สุขทัศน์
ตำแหน่ง ภูมิปัญญา/ผู้ประกอบการ
หน่วยงาน/องค์กร ชุมชนคุณธรรมฯ วัดดงกลาง (บ้านดงกลาง)
ที่อยู่หน่วยงาน/องค์กร ชุมชนคุณธรรมฯ วัดดงกลาง (บ้านดงกลาง) บ้านเลขที่ ๗๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลดงกลาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ๖๖๐๐๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๖๔๖๔๓๕