ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 50' 58.1064"
15.8494740
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 46.1363"
100.0794823
เลขที่ : 197439
ข้าวฟ่างเปียก
เสนอโดย นครสวรรค์ วันที่ 21 กันยายน 2565
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 21 กันยายน 2565
จังหวัด : นครสวรรค์
1 397
รายละเอียด

ข้าวฟ่างที่ปลูกครั้งแรกในประเทศไทยนั้นสันนิษฐานว่า เป็นข้าวฟ่างคั่ว พวกข้าวฟ่างหางช้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกกันตามรั้วบ้านเขตที่ดินหรือคันนา และเนินดินในปริมาณไม่มากนัก ข้าวฟ่างพวกนี้มีลักษณะของเมล็ดค่อนข้างเรียวเล็ก สีขาวข้างในเป็นแป้งใสสีออกเหลืองเรื่อๆ ช่อรวงกระจายแบบรวงข้าว ต้นสูง ค่อนข้างใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาของการปลูก ถ้าปลูกปลายฤดูฝนคือ ประมาณกลางเดือนสิงหาคม ต้นจะเตี้ยและผอม ออกดอกติดเมล็ดเร็วกว่าปลูกต้นฝนมาก เพราะเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะไวต่อช่วงแสง การนำข้าวฟ่างพวกนี้เข้าสู่ประเทศไทยนั้น ไม่ทราบแน่ชัดว่า เข้ามาได้เมื่อใด และอย่างไร แต่สันนิษฐานว่า พวกชาวเขาเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อใช้คั่วรับประทาน ปัจจุบันพบว่า ข้าวฟ่างชนิดนี้ใช้เป็นอาหารนก ใช้คั่วและเปียก เป็นขนมรับประทานกันอยู่บ้าง ในหมู่คนไทยในชนบททั่ว ๆ ไป

ส่วนผสม การทำข้าวฟ่างเปียก

๑. ข้าวฟ่างหางม้า ๒ กิโลกรัม

๒. น้ำตาล ๒ กิโลกรัม

๓. แป้งข้าวโพด ๔ ช้อนโต๊ะ

๔. กะทิ ๖ กิโลกรัม

ขั้นตอนและวิธีการทำ ข้าวฟ่างเปียก

๑) ล้างข้าวฟ่างให้สะอาด

๒) ตั้งหม้อต้มน้ำใส่น้ำ ๑๐ ลิตร ใส่ข้าวฟ่างที่เตรียมไว้ ๒ กิโลกรัม (ใช้น้ำ ๕ ลิตรต่อข้าวฟ่าง ๑ กิโลกรัม)

๓) เติมน้ำตาลลงไประหว่างการเคี่ยว ๒.๘ ลิตร (ใช้น้ำตาล ๑.๔ ลิตร ต่อข้าวฟ่าง ๑ กิโลกรัม)

๔) เคี่ยวข้าวฟ่าง ใช้ไม้พายกวนให้ถึงก้นหม้อตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ข้าวฟ่างไหมติดก้นหม้อ ระหว่างเคี่ยวใช้ทัพพีคอยตักฟองและเศษเปลือกข้าวฟ่างที่อาจจะหลงเหลืออยู่ทิ้ง

๕) นำแป้งข้าวโพดผสมน้ำให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่ลงในหม้อข้าวฟ่าง เคี่ยวให้ได้ที่ นำข้าวฟ่างที่เคี่ยวจนเสร็จแล้วมาพักในอุณภูมิปกติ

๖) เตรียมทำน้ำกะทิราด (ใช้กะทิ ๓ กิโลกรัม ต่อข้าวฟ่าง ๑ กิโลกรัม) ต้มกะทิด้วยไฟอ่อนให้พอเดือด ใส่เกลือชิมรสให้ออกเค็ม

๗) ละลายแป้งข้าวเจ้า ๑๐ ช้อนโต๊ะ ในน้ำเปล่าให้เป็นเนื้อเดียวกัน ผสมลงในหม้อเพื่อให้กะทิข้น

๘) ใส่น้ำตาลทราย ๑๐ ช้อนโต๊ะ เกลือ ๕ ช้อนโต๊ะ เพื่อปรุงรสน้ำกะทิ

๙) คนไปเรื่อย ๆ จนเดือด แต่ข้อควรระวัง ไม่ควรให้กะทิเดือดเป็นฟอง และไม่ต้มจนกะทิแตกมัน

๑๐) เมื่อกะทิเดือดแล้วจึงยกลงจากเตา ตักใส่จานพร้อมรับประทาน

สถานที่ตั้ง
ตำบล เก้าเลี้ยว อำเภอ เก้าเลี้ยว จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อวยพร พัชรมงคลสกุล อีเมล์ paitoog@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่