ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 34' 37.9999"
16.5772222
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 25' 9.0001"
104.4191667
เลขที่ : 197251
วัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย
เสนอโดย มุกดาหาร วันที่ 12 กันยายน 2565
อนุมัติโดย มุกดาหาร วันที่ 12 กันยายน 2565
จังหวัด : มุกดาหาร
0 492
รายละเอียด

วัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย

หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเอี่ยน ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

๑. ชื่อข้อมูลวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย

๒. รายละเอียดข้อมูล

๒.๑ ประวัติความเป็นมา/สภาพทั่วไปประวัติความเป็นมาวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย ตั้งอยู่บ้านหนองเอี่ยนดง ถนน ร.พ.ช. หมู่ที่ ๙ ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๗๐ ตารางวา อาณาเขต ทางทิศเหนือจรดถนน ร.พ.ช. หนองเอี่ยนดง – นาโสก ทิศใต้จรดซอยหมู่ที่ ๙ ทิศตะวันออกจรดซอยหมู่ที่ ๘ และ ๙ ทิศตะวันตกจรดซอยหมู่ที่ ๙ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๙ เดิมชื่อ "วัดโพธิ์ศรี” ชาวบ้านเรียกว่า "วัดบ้านหนองเอี่ยนดง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ การบริหารการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้

รูปที่ ๑ พระเนียม พ.ศ. ๒๔๒๗ - ๒๔๔๐

รูปที่ ๒ พระถุ่น พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐

รูปที่ ๓ พระนวน พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๖๒

รูปที่ ๔ พระเขียน พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๗๗

รูปที่ ๕ พระสิงห์ ทินฺนโก พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๕๔๐

รูปที่ ๖ พระอธิการจรัญ โชติธมฺโม พ.ศ. ๒๕๔๐ - ปัจจุบัน

สภาพทั่วไปวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางชุมชนบ้านหนองเอี่ยนดง ลักษณะพื้นที่เป็นที่ลาดเชิงเขา มีลำห้วยมุกไหลผ่านด้านทิศเหนือและห้วยทรายน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ตัววัดมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่เศษ มีการถมปรับพื้นที่ภายในวัดบางบริเวณ ทำให้เกิดที่ลุ่มและที่เนินสูงภายในวัดสิ่งก่อสร้างส้าคัญ ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖

๒.๒ เส้นทางเข้าถึงออกเดินทางจากอำเภอคำชะอีไปทางทิศใต้ตามถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๔๒ (คำชะอี-หนองสูง) ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร จะถึงสามแยกบ้านหนองเอี่ยนดง เลี้ยวซ้ายไปทางตำบลนาโสก ตามเส้นทางหมายเลข ๔๐๒๐ ระยะทางประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดโพธิ์ศรีวิทยาลัยจะอยู่ทางขวามือ

๒.๓ เสนาสนะที่สาคัญอุโบสถ (สิม)เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศใต้ เป็นอาคารขนาด ๔ ห้อง รวมห้องโถงด้านหน้าทำบันไดนาคเป็นทางขึ้น ลักษณะของหัวนาคเป็นศิลปกรรมแบบท้องถิ่น โดยส่วนหัวมีลักษณะเป็นหัวสิงห์มากกว่าจะเป็นหัวนาค ส่วนฐานเป็นชุดฐานบัวลูกแก้ว แต่ส่วนใหญ่จมอยู่ในดินที่เกิดจากการถมปรับพื้นที่ ส่วนโถงด้านหน้าทำราวระเบียงเป็นช่องขนาดเล็กโดยรอบ ระหว่างช่วงเสาทำเป็นวงโค้งอย่างอาคารแบบตะวันตก ส่วนหน้าบันทำเป็นพานรัฐธรรมนูญ เหนือพานดังกล่าวเป็นรูปครุฑใต้พานทำเป็นตัวเลขและตัวอักษรระบุ พ.ศ.๒๔๙๖ ประตูทางเข้าอุโบสถเป็นบานไม้ ๒ บานเปิดออก เหนือประตูทางเข้าทำเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งพนมถือในดอกบัวภายในกรอบวงโค้ง ตัวอุโบสถขนาด ๓ ห้อง ห้องที่ ๑ และ ๓ ทำเป็นช่องแสงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กเรียงต่อเนื่องกัน ๔ ช่อง ส่วนห้องที่ ๒ ทำบานหน้าต่างไม้ขนาดเล็ก แบบ ๒ บานเปิดออก ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเป็นประธาน หลังคาเครื่องไม้มุงสังกะสี ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ประดับ

๓. คำสำคัญวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย

๔. สถานที่ตั้งวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเอี่ยนดง ต้าบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

๕. ผู้ให้ข้อมูลส้านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมุกดาหาร

พระอธิการจรัญ โชติธมฺโม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

๖. หนังสืออ้างอิงหนังสือรายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานในจังหวัดมุกดาหาร โครงการสำรวจและขุดค้นโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งผลิตกองมโหระทึกในพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตอนกลาง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่๙ / บ้านหนองเอี่ยนดง ซอย - ถนน -
ตำบล น้ำเที่ยง อำเภอ คำชะอี จังหวัด มุกดาหาร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร
บุคคลอ้างอิง นายกิตติพงศ์ คำศรี อีเมล์ culture.mukdahan@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร อีเมล์ culture.mukdahan@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน อาคารศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ซอย - ถนน วิวิธสุรการ
ตำบล น้ำเที่ยง อำเภอ คำชะอี จังหวัด มุกดาหาร รหัสไปรษณีย์ 49000
โทรศัพท์ 042613684 โทรสาร 042614823
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/mukdahan/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่