ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 27' 16.6957"
13.4546377
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 1' 9.8346"
100.0193985
เลขที่ : 197176
ไทยทรงดำ
เสนอโดย สมุทรสงคราม วันที่ 9 กันยายน 2565
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 9 กันยายน 2565
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 213
รายละเอียด

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๘, ๒๓๙๗ และ ๒๓๙๑ ชาวไทยทรงดำจากเมืองแถงได้เข้ามาพร้อมกับชาวพวนเช่นเดียวกัน ซึ่งชาวไทยทรงดำกลุ่มที่เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่เพชรบุรีเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่เข้ามาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทำให้เมืองเพชรบุรีกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยชาวไทยทรงดำ ก่อนที่จะเริ่มมีการย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งเดินทางย้ายมาตั้งรกรากที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยปัจจุบันชาวไทยทรงดำอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๒ ตำบล ใน ๒ อำเภอ คือ หมู่ ๖ บ้านบางปืน ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม และหมู่ ๓ บ้านดอนสาม ตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน

ปัจจุบันชาวไทยทรงดำที่จังหวัดสมุทรสงครามได้อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนชาวไทยมาหลายรุ่น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันโดยส่วนใหญ่ชาวไทยทรงดำจะรับเอาวัฒนธรรมไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตน ปัจจุบันชาวบ้านได้หันมาใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันเป็นหลัก เหลือเพียงผู้สูงอายุเท่านั้น ที่ยังพูดภาษาไทยทรงดำได้ และมีการรับเอาประเพณีทางพระพุทธศาสนา และประเพณีสิบสองเดือนแบบ ชาวไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ส่วนชีวิตและความเป็นอยู่ การแต่งกาย และบ้านเรือนได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย หากแต่ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษนั้นยังคงอยู่ หลาย ๆ บ้านยังคงเก็บรักษาทิ้งผีบรรพบุรุษและมีการประกอบพิธีบูชาเป็นประจำทุกปี ถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่กระทำต่อกันมาโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้การแต่งกายด้วยชุดไทยทรงดำจะเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ และในปัจจุบันนี้ชาวบ้านจะไม่ได้แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองในชีวิตประจำวันอย่างเช่นอดีต แต่ก็ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายของตนโดยจะพร้อมใจกันใส่ชุดไทยทรงดำไปร่วมงานประเพณีหรือพิธีกรรมสำคัญต่างๆ เช่น พิธีแต่งงานพิธีศพ งานประจำปี หรืองานประเพณีสงกรานต์ ที่ปัจจุบันชาวไทยทรงดำก็ได้รับเอาคติความเชื่อเรื่องวันสงกรานต์แบบชาวไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวบ้านในชุมชนทั้งชาวไทยและไทยทรงดำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายต่อหลายรุ่น ทำให้ชาวบ้านล้วนรักสมัครสมานสามัคคีและได้ร่วมกันสร้างใหม่บางปืน ขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน

สถานที่ตั้ง
วัดใหม่บางปืน
ตำบล นางตะเคียน อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034718138
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่