ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีท้องถิ่นทางภาคอีสาน ที่ชาวบ้านหนองคอก ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ ซึ่งส่วนใหญ่อพยพถิ่นฐานจากภาคอีสานได้นำมาสืบทอด มีการแสดงการละเล่น ขบวนแห่เป็นประจำทุกปี จะจัดให้มีขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ - แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗) ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
บ้านหนองคอก ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบฉะเชิงเทรา งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีบั้งไฟ ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ดั้งเดิมบรรพบุรุษนั้นได้อพยพเดินทางมาจากอิสานก่อนมาตั้งรกรากประกอบอาชีพอยู่ในพื้นมี่นี้จึงได้มีการนำเอาประเพณีการแห่และจุดบั้งไฟของคนอืสานมายึดถือปฎิบัติตามความเชื่อเพื่อเป็นการขอฝน น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ในการเริ่มต้นการทำการเกษตร ทำนา ทำไร่จะไม่แห้งแล้ง โดยได้มีการจัดงานสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจุบันนี้เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของบรรพบุรุษให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้ประเพณีปฎิบัติที่ของท้องถิ่นของตนเองอีกด้วยและจะได้สานด่อในคนรุ่นใหม่ต่อ ๆ กันไป
ครั้งแรกที่จัดเป็นการจัดแบบเล็กๆ ในกลุ่มชาวบ้าน ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาเมื่อชุมชนมีการขยายตัวใหญ่มากขึ้น ทำให้มีผู้สนใจร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงกลายเป็นประเพณีประจำอำเภอท่าตะเกียบตั้งแต่นั้นมา ในการจัดงานจะจัด ๒ วัน วันแรก จะทำพิธีบวงสรวงศาลปู่ตา มีการแข่งขันขบวนแห่บั้งไฟ ที่จะต้องมี ผู้ฟ้อนรำอย่างน้อย ๑๐ คนขึ้นไป ทุกขบวนจะมีการตกแต่งบั้งไฟสวยงามอลังการ วันต่อมา จะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง ซึ่งมีคนส่งเข้าแข่งขันเป็นจำนวนมาก เริ่มจุดตั้งแต่ ๐๙.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ผู้ชนะการแข่งทุกรายการจะได้รับเงินรางวัลและถ้วยรางวัล ในการจัดงานทุกครั้งจะมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกสารทิศ เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันการจัดงานสืบสานประเพณีบั้งไฟของ อบต.คลองตะเกราได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้มีการจัดงานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นการสืบสานงานประเพณี และการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดรวมถึงการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน และท้องถินซึ่งการจัดงานนั้นมีทั้งการประกวดการตกแต่งรถแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนฟ้อนรำ การประกวดและแข่งขันบั้งไฟ รวทั้งการแสดงต่างๆบนเวทีเพื่อให้ชาวบ้าน และผู้ร่วมงานที่เดินทางมาได้รับความบันเทิงสนุกสนานผ่อนคลายในช่วงว่างพักจากการทำงาน