โคมผัด คือ โคมที่หมุนได้ ซึ่งคล้ายกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า โคมเวียน โคมนี้ทำเป็นรูปทรงกระบอกขนาดกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษว่าวสีขาว อาจทำเป็นสองชั้นหรือชั้นเดียวก็ได้ หากทำครอบสองชั้นแล้ว ชั้นในจะมีภาพต่าง ๆ ปิดไว้เป็นระยะให้พองาม โดยจะมีสายหรือซี่โยงจากกรอบเข้าหาแกนกลาง ซึ่งทำเป็นตุ่มใส่ไว้ในก้นถ้วย ปิดแถบกระดาษเข้ากับสายหรือซี่นั้น โดยให้มีมุมและระยะที่ลงตัว เมื่อจุดเทียน ซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมนั้น ความร้อนจากเปลวเทียน
จะไปกระทบแถบกระดาษและจะผลักให้ส่วนที่เป็นโครงครอบนั้น ให้ผัด หรือหมุนไปเรื่อย ๆ เงาของภาพที่ปิดไว้ด้านในจะส่องไปกระทบกับส่วนที่ครอบชั้นนอก สร้างความเคลื่อนไหวด้วยแสงและเงา ได้ในระดับหนึ่ง
โกมผัด หรือโคมหมุน เป็นโคมที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยชาวล้านนาหรือทางสิบสองปันนา ได้หนีอพยพเข้ามาในภาคเหนือ เป็นพวกลื้อ ซึ่งได้นำเอาประเพณีการทำโคมผัดเข้ามาด้วย โดยเวลามีงานประจำปี หรืองานตามวัดก็จะทำโคมผัดตั้งไว้ให้คนดูแทนหนัง ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีภาพยนตร์ โคมผัดจึงคล้ายหนังตะลุง มีลักษณะเป็นทรงกระบอกกว้าง ๑๒ นิ้ว ยาว ๓๐ นิ้ว หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสีขาว โคมนี้สามารถหมุนได้ ทางภาคกลางจึงเรียกว่า "โคมเวียน" ด้านในจะมีไม้หรือด้ายโยงเข้ามาแกนกลาง ซึ่งทำเป็นมุมแหลมดังหัวจรวดใส่ไว้ในก้นถ้วย หรือภาชนะที่มีร่องกลมพอเหมาะ เพื่อให้โคมผัดหมุนไปรอบ ๆ ด้วยแรงความร้อนจากเปลวเทียน เมื่อจุดเทียนซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมความร้อนจากเปลวเทียนจะไปกระทบแถบกระดาษ และผลักให้ส่วนที่เป็นโครงครอบนั้นหมุน ทำให้เห็นเงาปรากฏเป็นรูปต่าง ๆ เวียนไปรอบ ๆ ซึ่งนับเป็นนิทรรศการในลักษณะของโบราณอย่างง่าย ๆ สำหรับในปัจจุบันนั้น โคมผัดได้มีการประยุกต์ใช้แรงหมุนจากแรงเทียนมาใช้เป็นแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้าแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการเก็บรักษา