ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 44' 4.1492"
14.7344859
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 24' 44.338"
100.4123161
เลขที่ : 196637
ปูนปั่นช่างประทีบ
เสนอโดย อ่างทอง วันที่ 26 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย อ่างทอง วันที่ 26 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : อ่างทอง
0 335
รายละเอียด

ช่างประทีป บุญคง ชาวตำบลองค์รักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็นช่างปูนปั้นหนึ่งเดียวที่ยังคง สืบสาน งานศิลปะปูนปั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจุดเริ่มต้นของช่างประทีป บุญคง เริ่มจากสมัยตนยังเป็นเด็กซึ่งกำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในตอนนั้นได้ชอบงานศิลปะการวาดเขียน เจออะไรก็วาดจนเกิดเป็นความชอบโดยไม่รู้ตัว หลังจากเรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ได้มีโอกาสเข้าทำงานก่อสร้างที่วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ซึ่งในตอนนั้นเริ่มจากการเป็นกับจัง ช่วยหยิบ ยก จับของ เนื่องด้วยช่างประทีป บุญคง ยังไม่มีประสบการณ์ใน การทำงาน โดยต่อมาเห็นช่างที่เป็นรุ่นพี่มากประสบการณ์ในการทำงานปูนปั้น เลยเกิดความรู้สึกสนใจอยากที่จะหัดทำงานศิลปะปูนปั้นดูบ้าง จนกระทั่งช่างประทีป บุญคง ได้มีโอกาสลองทำงานศิลปะปูนปั่นอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งผลงานออกมาสวยงามทำให้หัวหน้างานได้เห็นถึงความสามารถเลยมอบโอกาสให้ช่างประทีป บุญคง ได้ทำงานด้านปูนปั่น เป็นครั้งแรก และในการทำงานปูนครั้งแรกก็สามารถสร้างผลงานได้เป็นที่พอใจกับหัวหน้างาน และก็ค่อยขยับทักษะตัวเองด้านงานปูนปั่นมาเรื่อยๆ จนผ่านไป 10 ปี ฝีมือเรื่องงานปูนปั้นเริ่มเข้าที่ ทำให้ได้มีโอกาสทำงานผลงานที่ภาคภูมิใจ และได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคือ องค์พระประทานพรองค์ใหญ่ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

หลังจากนั้นช่างประทีป บุญคง ก็ตัดสิ้นใจออกมาค้นหาตัวตนมากยิ่งขึ้นในงานด้านศิลปะปูนปั้น และฝึกทักษะให้มากขึ้นโดยการศึกษาดูงานศิลปะตามโบราณสถานหลายๆแห่ง และการฝึกฝนตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จนเรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่มั่นคง หาเลี้ยงครอบครัวมานานกว่า 30 ปี

ช่างประทีป บุญคง ได้ให้สัมภาษณ์ต่อว่า งานด้านศิลปะปูนปั้น คนที่สนใจต้องเป็นคนที่มีใจรัก สงบ และมีสมาธิเป็นอย่างมาก เพราะกว่าจะเสร็จได้ 1 ชิ้นงาน อาจจะต้องใช้เวลามาก บางคนก็อาจจะท้อระหว่างทาง และทิ้งผลงานไป ดังนั้นคนที่อยากมาศึกษาเรียนรู้ศิลปะปูนปั้น ต้องถามตัวเองว่ามีใจรักจริงขนาดไหน พร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ ถ้าพร้อมทางช่างประทีป บุญคง ก็พร้อมที่จะถ่ายทอดทุกความรู้ที่มีให้กับผู้คนที่มีความสนใจและนำความรู้ไปต่อยอดในงานศิลปะปูนปั้นในแบบของแต่ละคนต่อไป

๕. พื้นที่ปฏิบัติมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (พื้นที่ที่ปรากฏหรือชุมชนที่มีการปฏิบัติมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม)

บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 5 ตำบลองครักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 14120

๖. คุณค่าและความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในแต่ละระดับ (เช่น ระดับปัจเจกบุคคล/
ระดับครอบครัว/ระดับชุมชนท้องถิ่น/ระดับจังหวัด/ระดับประเทศ เป็นต้น)

การทำศิลปะปูนปั่น เป็นงานศิลปะที่สร้างรายได้กับครอบครัวของช่างปูนปั่นนายประทีป บุญคง ตลอดมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่ช่างปูนปั่นนายประทีป บุญคงผู้นี้ได้ใช้อาชีพศิลปะปูนปั่นเป็นอาชีพหลัก โดยทำกันภายในครอบครัว การทำงานศิลปะปูนปั่น ถือเป็นการทำงานศิลปะที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ส่งเสริมเป็น อย่างยิ่ง เพราะการทำศิลปะปูนปั่นนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าของงานศิลปะที่ละเอียดงดงามแต่มีกรรมวิธีในการทำที่ยากมากในการที่จะผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้นออกมา

การทำศิลปะปูนปั่นนั้น ปัจจุบันนายประทีป บุญคง ได้เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โดยเปิดบ้านให้เด็ก เยาวชน และผู้สนใจ โดยทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้และรับการถ่ายทอดภูมิปัญญาแขนงนี้ ทำให้ปัจจุบันเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปให้ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ศิลปะปูนปั่น ทำให้คนในชุมชนเกิดความรัก ความผูกพันระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ และทำให้ชุมชนมีเกราะป้องกันตนเองใน การอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่คู่ชุมชนและ สังคมตลอดไป

คำสำคัญ
ศิลปะปูนปั้น
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 64/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล องครักษ์ อำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัด อ่างทอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสาวพิมลรัตน์ มลฑา อีเมล์ angthongcul@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่