ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 33' 14.0396"
16.5538999
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 38' 10.5774"
103.6362715
เลขที่ : 196607
การแทงหยวก : ศิลปะอันเก่าแก่ที่คนไทยเกือบลืม
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 472
รายละเอียด

การแทงหยวก : ศิลปะอันเก่าแก่ที่คนไทยเกือบลืม
ชาติไทยเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนาน
บรรพชนได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปกรรมต่างๆ ไว้อย่างมากมาย เช่น งาน
จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปหัตถกรรม เป็นต้น ซึ่งผลงานเหล่านี้จะสัมพันธ์ และสอดคล้อง
กับวิถีชีวิต คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของผู้คนในสังคม และแสดงถึงภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เพราะคนในท้องถิ่นจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญและเข้าใจถึงคุณประโยชน์ คุณสมบัติ
ของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นได้ดี จนสามารถเลือกสรรวิธีการใช้ทรัพยากรต่างๆ มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
ศิลปกรรมประเภทต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การแทงหยวก เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาการใช้วัสดุ
ทรัพยากรธรรมชาติคือต้นกล้วย มาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางศิลปะ เพื่อใช้ในงานพิธีมงคลและงานพิธีอวมงคล
หรือกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน การแทงหยวกถือเป็นงานสร้างสรรค์ ที่ต้องอาศัยความคิดประดิษฐ์
และทักษะทางกล้ามเนื้อมืออย่างชำนาญในการแทงหยวกเป็นลวดลายต่างๆ ก่อนน าไปประกอบกับโครงสร้าง
ของงานตามที่ต้องการ ศิลปะการแทงหยวกนี้ มีทั้งในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นต้น การแทงหยวกนั้นมักใช้ในการสร้างความงามให้เกิดกับวัสดุที่
หยวกไปประกอบ เช่น เชิงตะกอน ปราสาทผึ้ง ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นการกล่าวถึง การแทงหยวก
ประกอบการทำปราสาทผึ้งเท่านั้น
การแทงหยวกเพื่อประกอบการท าปราสาทผึ้ง มีแพร่หลายมาในกลุ่มวัฒนธรรมไทยอีสานและชาว
ล้านช้างมาแต่โบราณ ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมายาวนาน โดยวัตถุประสงค์ใน
การแทงหยวกเพื่อท าปราสาทผึ้งดังกล่าว ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันคือเป็นพุทธบูชาและใช้ประกอบ
พิธีในโอกาสต่างๆ รูปลักษณ์ของปราสาทผึ้งและลวดลายของการแทงหยวกในแต่ละท้องถิ่นต่างมีเอกลักษณ์
และแนวทางของตนเอง
ความหมายของการแทงหยวก
หยวกพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายเพียงสั้นๆว่า
หยวก เป็นค ำนาม หมายถึง ล ำต้นกล้วยซึ่งเมื่อพิจารณาส่วนประกอบของลำต้นกล้วย จะมีส่วนเปลือกที่
ห่อหุ้มลำต้นเป็นชั้น ๆ สามารถลอกออกได้ เรียกว่า “กาบกล้วย” ส่วนในสุดหรือแกนของลำต้นกล้วยเป็นสีขาว
เรียกว่า หยวกกล้วย สามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้ส่วนการแทงหยวกนั้น ใช้เรียกการแทงกาบ
กล้วยที่เป็นเปลือกด้ำนนอกเท่านั้นหยวกสีขาวด้านในสุดไม่ได้นำมาใช้
การแทงหยวกหมายถึง การใช้มีด ๒ คม แทงลงบนหยวกกล้วยในแนวตั้ง ทำให้เกิดเป็น ลวดลาย
ทางช่างจะไม่เรียกว่า การแกะสลัก เพราะการแกะสลักจะใช้มีดหรือสิ่ว ทำให้เกิดลวดลายเป็นร่องนูนต่ำหรือ
นูนสูง ใช้วิธีการเซาะ โดยการเอียงมีดในลักษณะต่างๆ ซึ่งไม่เหมือนแทงหยวก การแทงหยวกนี้จะใช้มีดตั้งฉาก
กับหยวกกล้วยฉลุเป็นลวดลายไทย ซึ่งมีทั้งลวดลายพื้นบ้านและลวดลายภาคกลาง ผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับ
การฝึกหัดจนเกิดความชำนาญพอสมควร เพราะการแทงหยวกนั้น ช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อน แต่จะลง
มือแทงเลย จึงเรียกตามลักษณะการทำงานนี้ว่า“การแทงหยวก”ผู้ที่ศึกษาด้านนี้ระยะแรกๆพึงระวังและใช้
ศัพท์ให้ถูกต้อง
การแทงหยวกต้องอาศัยความชำนาญของผู้แทง ซึ่งจะทำได้ต้องมีการฝึกหัดและสั่งสมจนเกิดความ
ชำนาญ ผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้เรียกว่า “ช่างแทงหยวก” ศิลปะการแทงหยวก จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ กลุ่ม
ช่างเครื่องสด ซึ่งช่างเครื่องสดนี้จะประกอบด้วยช่างย่อย ๓ แขนงคือ
ช่างดอกไม้ประดิษฐ์
ช่างสลักของอ่อน
ช่างแทงหยวก
งานช่างแทงหยวกหมายถึง งานช่างวิจิตรศิลป์ที่ใช้มีดสองคมยาวประมาณ ๒ – ๕ นิ้ว แทงลงไปบน
กาบกล้วย โดยไม่มีการร่างลวดลาย ทำให้เกิดลวดลายเป็นลายไทยในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องประกอบ
ในพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น ใช้เพื่อประดับตกแต่งธรรมาสน์เทศน์มหาชาติ ประดับ
ที่ตั้งองค์กฐิน ใช้ประกอบเบญจา(เตียง)ในงานโกนจุก ตกแต่งเสลี่ยงบวชนาค และการประดับตกแต่งเชิง
ตะกอนเผาศพ เป็นต้น โดยอาศัยความถนัดหรือความชำนาญของช่างแทงหยวก ที่มีในชุมชนต่างๆของไทยซึ่ง
สามารถจำแนกออกเป็นสกุลช่างต่างๆ ตามรูปแบบและลวดลายที่ใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น สกุลช่างวัดระฆังโฆษิ
ตาราม สกุลช่างวัดอัปสรสวรรค์ สกุลช่างวัดดงมูลเหล็ก สกุลช่างวัดโสมนัส สกุลช่างวัดมกุฎกษัตริยาราม สกุล
ช่างวัดเทพศิรินทร์ สกุลช่างวัดจอมทอง สกุลช่างวัดทองนพคุณ สกุลช่างบางขุนพรหม สกุลช่างนนทบุรี สกุล
ช่างเพชรบุรี สกุลช่างกำแพงเพชร สกุลช่างอุบลราชธานี และสกุลช่างสงขลา เป็นต้น (บุญชัย ทองเจริญบัวงาม
,๒๕๕๘)
บทบาทของงานแทงหยวกในวิถีไทย
งานแทงหยวก เป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่มีมาแต่สมัยโบราณในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เพียงแต่
ลักษณะการใช้สอยในงานต่างๆอาจมีแนวนิยมแตกต่างกันไปบ้าง บางแห่งยังคงมีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน บาง
แห่งเลือนหายไปจากชุมชน ในภาคกลางงานแทงหยวกที่ยังคงอยู่เป็นที่รับรู้ของคนไทยคือ งานแทงหยวก
จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งสืบทอดฝีมือต่อเนื่องมาคือ กลุ่มช่างนายประสม สุสุทธิ ช่างสายนี้ได้เล่าถึงประเพณีการ
แทงหยวกว่า ได้มีการบันทึกในจดหมายเหตุกรุงศรีว่า
“คนสมัยก่อนได้น ำภูมิปัญญาด้านศิลปะการแทงหยวกมาใช้ประดับตกแต่ง
ปลูกสร้างชั่วคราวในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ท ำเสลี่ยง ธรรมาสน์ แท่นบูชาพระ
รวมไปถึงในวาระสุดท้ายอย่างเชิงตะกอนเผาศพ และศิลปะกำรแทงหยวกนั้น
เดิมจะใช้ในพิธีงานบุญ โดยในงนบุญนั้น มีการน ำต้นกล้วยมำใช้ในพิธีมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นงานทอดกฐิน แห่ขันหมาก ลอยกระทง ต่างก็ใช้ต้นกล้วยมาเป็น
อุปกรณ์ประกอบพิธีทั้งนั้น งานส่วนใหญ่ในพิธีทางศาสนาจะมีศิลปะการแทงหยวก
พับใบตองเข้าไปเกี่ยวข้อง ที่หลายคนมองว่าน่าจะใช้เฉพาะงานศพ อาจมีสาเหตุ
จากเพราะงานศพในศาสนาพุทธมีพิธีกรรมหลายวันคนเลยชินตา แต่งานพิธีกรรม
อื่นๆก็ใช้ แต่น้อยวัน ฉะนั้นงานแทงหยวกใช้ในพิธีได้ทุกงานแม้จะไม่มีการบันทึก
ไว้ก็ตาม”
(นายวิริยะ สุสุทธิ)
ลวดลายที่ใช้แทงหยวกในแต่ละงาน ก็มีลายเฉพาะที่แตกต่างกัน ลวดลายที่ใช้ในการแทงหยวกอัน
เป็นพื้นฐานของงานศิลปะไทย คือ "ลายกระจัง" ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีพื้นฐานมาจากธรรมชาติ ใช้ใบไม้เป็นส่วน
ใหญ่ รวมถึงลายกระหนกต่างๆด้วย ในโบราณราชประเพณีจะมีการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุฯว่า ถ้าเป็นราชนิ
กูล พระบรมวงศานุวงศ์ จะมีลายบังคับไว้ตามแบบแผนให้สมกับพระเกียรติยศ จะเป็นลายกระจัง ฟันห้า ฟัน
สาม ลายกลีบบัว ลายเกสร แต่ถ้าเป็นลายกระหนก ลายกระจังอื่น ๆ คือลายจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งลาย
พวกนี้จะไม่มีขีดจำกัด จึงดูวิจิตรตระการตาอวดลวดลายค่อนข้างมาก ในภาคกลาง กลุ่มช่างแทงหยวกจังหวัด
เพชรบุรี ยังคงอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ไว้เป็นอย่างดี โดยได้นำเข้าเป็นหลักสูตรการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ
เพชรบุรี และมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตชะอำ บรรจุเข้าในหลักสูตรคณะสัตวศาสตร์และ
เทคโนโลยีการเกษตร โดยนักศึกษาที่จบคณะสัตวศาสตร์ฯจะต้องลงวิชาช่างแทงหยวกด้วย
ศิลปะการแทงหยวกนี้ ยังมีช่างฝีมืออีกมาก แต่ขาดพื้นที่แสดงออก เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดว่า การ
แทงหยวกจะใช้แค่เฉพาะงานศพเท่านั้น จึงทำให้ศิลปะแขนงนี้มีคนทำ แต่ขาดคนใช้ประโยชน์
ศิลปะการแทงหยวกเพื่อทำปราสาทผึ้ง
ปัจจุบันการแทงหยวกหลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมของกลุ่มไทยลาวมักนิยมแทง
หยวกเพื่อทำปราสาทผึ้งเพื่อเป็นพุทธบูชาและประเพณีเกี่ยวกับการตาย ปรากฏทั้งภาคตะวันออกและภาค
อีสาน
ในภาคอีสานนั้นการทำปราสาทผึ้งและการแห่ปราสาทผึ้งมีมายาวนาน เพียงแต่จะเป็นที่รับรู้ของ
บุคคลทั่วไปหรือไม่เท่านั้น เพราะวัฒนธรรมนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธ ศาสนา
เป็นสำคัญและเป็นวัฒนธรรมร่วมสองฝั่งโขง การทำปราสาทผึ้งของภาคอีสานนั้น เป็นที่รับรู้กันว่า มีหลาย
จังหวัดเช่น เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม เป็นต้น ที่โด่งดังเพราะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์
และเป็นงานเด่นประจำปีของจังหวัด ทั้งเป็นงานบุญและเน้นการท่องเที่ยวคือ งานแห่ปราสาทผึ้งจังหวัด
สกลนคร นอกนั้นเป็นการทำปราสาทผึ้งในพิธีกรรมและประเพณีเกี่ยวกับชีวิต มีทั้งชาวบ้านร่วมใจกันมาทำ
และมีช่างเฉพาะและประกอบอาชีพทางการแทงหยวกในงานต่างๆ การทำที่แตกต่างกันอยู่บ้างและมี
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละจังหวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำชุมชน ซึ่งอาจเป็นพระสงฆ์หรือ
ฆราวาสเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างบ้านบ่อน้ำ ตำบลหมู่ม่น จังหวัดอุดรธานี จะมีการทำปราสาทผึ้งเพื่ออุทิศส่วน
กุศลแก่บรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อร่วมกันของชาวอีสานหรือคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยคติที่ว่า
๑. เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
๒. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ว่าหากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่
ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ ขอให้มีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก
๓. เพื่อทำบ้านหรือปราสาทให้กับผู้ที่ตายไปแล้วได้มีที่อยู่อาศัย
เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญ ทำกุศลร่วมกัน ถือโอกาสพบปะสนทนากันฉันท์พี่น้อง
การทำปราสาทผึ้งในภาคอีสานนั้น มีความเชื่อตามเรื่องเล่าปรัมปรามาว่า มีการทำ
ปราสาทผึ้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล โดยมีความเป็นมาว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้มีใจเป็นทานได้คิดที่
จะสร้างต้นปราสาทผึ้งขึ้นถวายเป็นพุทธบูชาและอุทิศไปกับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตามตำนานกล่าวว่าได้สร้าง
อยู่บริเวณริมแม่น้ าแห่งหนึ่ง คราวนั้นมีพรานผู้หนึ่งได้กลับจากการล่าสัตว์มาพบเข้าพอดี พระองค์ จึงได้เชิญ
ชวนให้พรานนั้นมาร่วมกันสร้างด้วย แต่พรานผู้นั้นไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะมาร่วมสร้างเลย มีเพียงแต่สัตว์ที่ล่า
ได้จากป่าคือ เต่า นก และงู ที่หมามันได้มาเท่านั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศล จึงกล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็สามารถทาน
ได้เช่นกัน เพียงแต่ให้เรามีศรัทธา นายพรานจึงได้ถวายสัตว์เหล่านั้นให้กับพระองค์ในครั้งนั้นเอง ต่อมา
พระองค์ได้สร้างอนุสรณ์ไว้ให้แก่ เต่า นก งู รวมถึงหมาของนายพรานนั้นด้วย โดยให้สลักลายที่เกี่ยวกับสัตว์
ทั้งสี่ลงบนปราสาทผึ้งคือ ลายตีนเต่า ลายนกน้อย ลายแข้วหมา(ฟันสุนัข)และลายกระดูกงู ตามล าดับ แต่เมื่อ
ศึกษาในพระไตรปิฎกนั้น ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเป็นผู้สร้างปราสาทผึ้งขึ้นเลย สันนิษฐานว่าเป็น
เพียงความเชื่อที่มีการเล่าสืบต่อกันมาและบางแห่งบางพื้นที่ก็มีความเชื่อว่า พวก เต่า นก งู และหมา ได้มาขอ
ร่วมสร้างเอง คนในภาคอีสานจึงได้นำลายเหล่านี้ มาประดิษฐ์และเพิ่มลายลงบนปราสาทผึ้งนั้นด้วย แต่ใน
ปัจจุบันบางแห่งก็ได้ทำผิดแปลกไปจากของเดิมคือ นำผึ้งมาทำเป็นปราสาททั้งหลังเลย
อย่างไรก็ตามในคัมภีร์ใบลานเรื่องฉลองผาสาทผึ้งได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้มี
ศรัทธาจะก่อสร้างต้นประธูปประทีปและได้ไปถามพระพุทธเจ้าว่าจะได้บุญกุศลเท่าใดพระพุทธองค์ได้กล่าวกับ
พระยาปัสเสนทิโกศล ว่า
๑. บุคคลใดก็ดี เมื่อได้มีใจใสศรัทธาสร้างแปลงปราสาทผึ้งแล้วนั้น แม้จะมีบาปมากหรือน้อยก็ตาม
บาปทั้งหลายก็จะหายไป
๒. บุคคลใดที่นำไม้มาทำโครงปราสาทผึ้งจะได้สุข ๓ ประการคือ สุขในเมืองคนได้แสนชาติ สุขใน
เมืองฟ้าได้เป็นแก้วอาดสองสวรรค์คือได้เป็นพระอินทร์ในชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นตาวะติงสา
และสุขในเมืองนิพพานอันไม่รู้แก่รู้เฒ่า
๓. บุคคลใดที่ได้นำไม้มาทำเสาต้นปราสาทผึ้ง บุคคลนั้นจะไม่ไปเกิดในที่ที่ลำบาก ไม่ไปตกใน
อบายภูมิ แม้ว่าจะไปตกในนรก ปราสาทผึ้งนี้ก็จะนำไปบังไว้ไม่ให้เป็นอันตรายแก่ผู้นั้น
๔. บุคคลใดที่ได้ให้ทานใบตองและกาบกล้วยมารองต้นปราสาทผึ้ง บุคคลนั้นจะได้อานิสงส์เป็นพระ
ยามัดตุราชอันมีฤทธิ์อานุภาพมาก เสี่ยงว่าจักได้หนึ่งพันชาติไม่ใช่แต่เท่านี้ ยังจะได้เป็นพระยา
ธรรมในบ้านเล็กเมืองใหญ่ มีอายุยืนมิอาจนับอ่านได้เลย
๕. บุคคลใดที่ได้เอาหนามมาคัดดอกผึ้งเป็นทาน ดังนั้นถ้าตายในเมืองมนุษย์แล้วจะได้ไปเกิดใน
สวรรค์เป็นพระยาอินทราธิราชอันมีอายุได้พันปีทิพย์บนสวรรค์
๖. บุคคลใดที่ตักนำมาไว้ต้มผึ้งให้เปื่อยและมาจุ่มผึ้งให้เป็นรูปดอกไม้ เมื่อตายไปจะได้สระโบกขรณี
ได้แปดหมื่นสี่พันโบก แต่ละโบกมีดอกบัวทองคำได้แปดหมื่นสี่พันดอก ในดอกบัวนั้นยังมีปราสาท
ผึ้งและแท่นแก้วอยู่ดอกละหลัง ในแท่นแก้วแต่อันนั้นก็มีนางฟ้าอยู่เจ็ดนาง แต่ละนางมีข้าทาสอยู่
อีกนางละเจ็ดคน
๗. บุคคลใดที่ได้นำตอกมามัดโครงปราสาทผึ้งเป็นทาน เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วจะมีผิวเนื้อวรรณะ
ที่งดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ด้วยไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บประมาณว่าได้
แปดหมื่นสี่พันชาติ
๘. บุคคลใดที่ได้เอาดอกไม้มาใส่ดอกผึ้งให้เป็นเกสรและบูชาแก้วทั้งสามดังนั้นแล้ว บุคคลนั้นจะได้
แก้วมณีโชติประมาณว่าแปดหมื่นสี่พันดวง
๙. บุคคลใดที่ได้มาให้ต้นปราสาทผึ้งเป็นทานแก่พระสงฆ์ บุคคลผู้นั้นก็จะได้ถึงสุขสามประการมี
นิพพานเป็นที่ แล้วก็ได้เกิดในปราสาททิพย์ และปราสาทอันนั้นก็เต็มไปด้วยปราสาทเงินปราสาท
ทองคำ ด้วยเดชที่ได้ทานปราสาทผึ้งเป็นทานนั้นแลฯ
คนโบราณอีสานในแถบตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานีได้บอกคำกลอนโบราณ
เกี่ยวกับลวดลายและโครงสร้างของปราสาทผึ้ง เพื่อจดจำเป็นขนบในการสร้างปราสาทผึ้งต่อๆมาว่า

“พรหมทานเข่า
หมาทานแข่ว
ฝูงปูปลาทั้งงูพร่ าพร้อม

เต่าทานขา
นกน้อยบินแส่วลงมา
ดวงดาวน้อมใสแจ้งมัสการ”


คำกล่าวข้างต้นได้อธิบายที่มาของเจตนารมณ์ในการตกแต่งปราสาทผึ้งด้วยลวดลายที่
เกี่ยวกับพรหมและสัตว์ต่างๆได้ว่า
เนื่องจากของการสร้างต้นปราสาทผึ้งถวายมีอานิสงส์มาก พระพรหมและเหล่าสัตว์
ทั้งหลายจึงได้อุทิศร่างกายเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างต้นปราสาทผึ้งด้วย”
ทำให้ลวดลายของการแทงหยวกประกอบเป็นปราสาทผึ้ง มีชื่อเรียกสัมพันธ์กับพระพรหมและสัตว์ดังกล่าว
ข้างต้น

ข้อมูลและภาพโดย: ณัฐพงค์ มั่นคง

คำสำคัญ
แทงหยวก หยวก
สถานที่ตั้ง
จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่