ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 34' 41.0002"
18.5780556
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 4.0001"
99.0177778
เลขที่ : 196525
โคมล้านนา ประเภทโคมเงี้ยวประยุกต์
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 26 เมษายน 2565
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 26 เมษายน 2565
จังหวัด : ลำพูน
0 288
รายละเอียด

โคมเงี้ยว เป็นโคมที่มีรูปทรงที่ได้มาจากชาวไทใหญ่ จึงเรียกว่า โคมเงี้ยว ทำค่อนข้างยากกว่าโคมชนิดอื่น ๆ เนื่องจากตัวโครงโคมมีลักษณะหักมุมละเอียดซับซ้อน เป็นเหลี่ยมคล้ายเพชรที่เจียรนัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคมเพชร หรือ โคมเจียรนัย โคมชนิดนี้แม้ไม่ได้ใส่หางประดับก็มีความงดงาม และเมื่อจุดผางประทีปไว้ข้างใน แสงสว่างที่ออกตามเหลี่ยมมุมจะมีความงดงามมาก

การทำโครงโคมเงี้ยว ขนาด ๘ นิ้ว

วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงโคมเงี้ยว ขนาด ๘ นิ้ว

๑. ไม้ไผ่เฮียะสำหรับทำไม้แบบ จำนวน 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดยาว ๓, ๑๐ และ ๑๔ เซนติเมตร
๒.ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักให้แบนสำหรับทำเป็นไม้ดาม ขนาด ๐.๘ x ๓ เซนติเมตร จำนวน ๑๖ อัน
๓. ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักให้กลม ยาว ๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๑๐ เส้น
๔. ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักให้กลม ยาว ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๖ เส้น
๕.ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักให้แบนสำหรับทำฐานและคอโคม ขนาด ๐.๘ x ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๔ เส้น
๖.ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักให้แบนสำหรับทำหูโคม ขนาด ๐.๖ x ๗๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ เส้น
๗. ดินสอ
๘.กาวร้อน
๙.กาวผสม (กาวลาเท็กซ์ผสมกาวยาง อัตราส่วน ๓:๑)
๑๐.ภาชนะใส่กาวผสม ๑ ใบ
๑๑.เชือกฝ้าย ๑ ไจ นำมาตัดเป็นเส้น ยาวเส้นละ ๓๐ เซนติเมตร ใช้ ๖๘ เส้น
๑๒.เชือกปอสำหรับทำสายห้อยโคม ยาว ๑ เมตร
๑๓.ที่หนีบผ้าสแตนเลส จำนวน ๒๐ อัน
๑๔.กรรไกรจีน

การติดผ้าและการตกแต่งโคมเงี้ยวแบบหางสองชั้น ขนาด ๘ นิ้ว
วัสดุอุปกรณ์ในการติดผ้าและการตกแต่งโคมเงี้ยวแบบหางสองชั้น ขนาด ๘ นิ้ว
๑. ผ้าโทเรสีพื้นคละสี ขนาด ๕๖ x ๑๐๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ผืน
๒. ผ้าโทเรพิมพ์ลายสำหรับติดฐานและคอโคม ขนาด ๓.๕ x ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ผืน
๓. ผ้าโทเรพิมพ์ลายสำหรับติดย่อมุมตัวโคม ขนาด ๓.๕ x ๙๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ผืน
๔. ผ้าแพรลายลูกไม้ ขนาด ๑๔ x ๑๐๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ผืน
๕. กระดาษทอง หรือกระดาษตะกั่วตัดเป็นเส้นขอบหยักฟันปลาสำหรับทำเส้นทอง ๒ ขนาด คือ ขนาดกว้าง ๐.๙ เซนติเมตร และ ขนาดกว้าง ๑.๓ เซนติเมตร
๖.กระดาษทอง หรือกระดาษตะกั่วพิมพ์ลายดอกประจำยามสำหรับติดหางโคมขนาดสั้น จำนวน ๘ ดอก
๗.กระดาษแข็ง ขนาด ๔ x๑๐ เซนติเมตร หนา ๐.๒ เซนติเมตร ที่บุด้วยกระดาษทองทั้ง ๒ ด้าน โดยทำการเจาะรูด้วยตุ๊ดตู่เจาะรูเข็มขัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๖ เซนติเมตร จำนวน ๙ รู ซึ่งวัดจากขอบแนวยาวเข้ามา ๑ เซนติเมตร จำนวน ๘ อัน
๘. เชือกฝ้าย ๑ ไจ นำมาตัดเป็นเส้น ยาวเส้นละ ๓๐ เซนติเมตร ใช้ ๔๓๒ เส้น
๙.กิ๊บดำหนีบผม จำนวน ๑ อัน
๑๐. เครื่องเย็บกระดาษขนาดใหญ่
๑๑. กาวผสม (กาวลาเท็กซ์ผสมกาวยาง อัตราส่วน ๓:๑)
๑๒. ภาชนะใส่กาวผสม ๑ ใบ
๑๓.ไม้แปรงฟันเก่าสำหรับทำไม้ทากาว ๑ ด้าม
๑๔.กรรไกรจีน
๑๕.หนีบผ้าสแตนเลส จำนวน ๑๐ อัน
๑๖.ไม่บรรทัดขนาด ๒ ฟุต
๑๗.ดินสอ หรือชอล์กเขียนผ้า

สถานที่ตั้ง
ชุมชนคุณธรรมวัดจามเทวี
อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053-510243 โทรสาร 053-510244
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lamphun/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่