ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 33' 21.6367"
18.5560102
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 58' 53.4626"
98.9815174
เลขที่ : 196521
โขมดเล็ก ประเภทเสาทางมะพร้าว
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 25 เมษายน 2565
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 25 เมษายน 2565
จังหวัด : ลำพูน
0 307
รายละเอียด

โขมดต้นธง

ด้วยประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๑๔ ในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยได้มีประเพณีเดือนยี่เป็ง และทำพิธีลอยโขมดแล้ว มีการจัดแต่งเครื่องสักการะบูชาใส่กระทง จุดธูปเทียนและนำปล่อยลงในน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำ เกิดเป็นเงาขึ้นวับ ๆ แวม ๆ มองเห็นเป็นเสมือนแสงพะเนียงไฟผีโขมด ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียกผีป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ชาวล้านนาจึงเรียกว่าลอยโขมด และจากตำนานโยนก และตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า ประเพณีลอยโขมด หรือลอยไฟเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล การลอยโขมด เกิดขึ้นที่อาณาจักรหริภุญไชย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๙๐ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีกลุ่มคนมอญ หรือเม็งที่อาศัยอยู่ในเมืองหริภุญไชย ได้อพยพหนีอหิวาตกโรคที่เกิดขึ้นในเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงพากันอพยพออกจากหริภุญชัย ไปอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือสุธัมมวดี และต่อไปยังเมืองหงสาวดีเป็นเวลาถึง ๖ ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลายคนมีครอบครัวใหม่ที่นั่น และเมื่อทราบข่าวว่าอหิวาตกโรคในหริภุญชัยได้สงบลงแล้ว จึงพากันเดินทางกลับหริภุญไชย เมื่อถึงวันครบรอบปีที่ได้จากพี่น้องที่เมืองหงสาวดี จึงจัดดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะ พร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคใส่ลงในสะเปา ลักษณะคล้ายเรือ หรือใส่ในสะตวงหรือกระทงลอยลงน้ำแม่ปิง น้ำแม่กวง น้ำแม่ทา เพื่อส่งความระลึกถึงญาติพี่น้องที่ยังอยู่เมืองหงสาวดี จึงเป็นมูลเหตุของการลอยสะเปาหรือลอยโขมด หรือลอยกระทงนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน

วัสดุอุปกรณ์ในการทำโขมดเล็ก ประเภทเสาทางมะพร้าว ๑ อัน

๑. ของที่ต้องทำสำเร็จมาแล้ว

๑.๑ ใบเตยดอกกุหลาบ (ใบเตยขด) จำนวน 4 ดอก

๑.๒ ชุดดอกไม้ธูป (ดอกไม้และธูป 4 ดอก)

๑.๓ ช่อน้อยหลากสี จำนวน 12 – 16 อัน

๑.๔ ผักผลไม้หั่นเป็นชิ้นเล็ก (เช่น มะเขือ กล้วย อ้อย ผักแค เป็นต้น)

๑.๕ ของคาวหวาน (ข้าวเหนียว แคปหมู ขนมขบเคี้ยว)

๑.๖ หมากคำ เมี่ยงคำ บุหรี่ยาเส้น

๒. ของที่ต้องประกอบเอง

๒.๑ กาบต้นกล้วย ขนาดประมาณ 8 x95 ซม. จำนวน 1 อัน

๒.๒ ทางมะพร้าว จำนวน 4 ทาง

๒.๓ ดอกดาวเรือง

๒.๔ ผางประทีป 1 อัน

๒.๕ ไม้จิ้มฟัน

๒.๖ หนังยางวง

๒.๗ ใบตอง

๒.๘ แส้ไม้ไผ่

๒.๙ กรรไกรจีนใหญ่

๒.๑๐ ลวดเส้นเล็ก

ขั้นตอนการทำโขมดเล็ก ประเภทเสาทางมะพร้าว ๑ อัน

๑. นำกาบต้นกล้วยที่เตรียมไว้มาขีดเส้นแบ่งเป็นช่อง ๕ ช่อง ยาวช่องละ ๑๙ ซม. โดยทำการหงายกาบกล้วยขึ้น และขีดเส้นดังกล่าวบริเวณกาบกล้วสีขาว จากนั้นทำการหักกาบกล้วยดังกล่าวตามเส้นที่แบ่งไว้ แล้วนำช่องที่ ๑ กับช่องที่ ๕ มาประกบกัน จากนั้นใช้ลวดเส้นเล็กมาผูกทั้งสองช่องเข้าด้วยกัน จะได้กาบกล้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือสะตวง

๒. จากนั้น นำแส้ไม้ไผ่มาเจาะทะลุผ่านสะตวงด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ให้เกิดเป็นคานไม้ไผ่ โดยเจาะคานเหนือขอบสะตวงด้านล่างขึ้นมาประมาณ ๒ – ๓ ซม. จะเจาะกี่คานก็ได้ แต่ต้องให้เกิดความแข็งแรง เพื่อใช้วางของต่าง ๆ ในสะตวงต่อไป โดยจะเจาะคานเพียงด้านเดียวเท่านั้น ไม่เจาะอีกด้านให้เกิดเป็นห้องอย่างสะตวงทั่วไป แล้วทำการตัดค้านส่วนเกินออกไปด้วยกรรไกรจีนใหญ่

๓. เมื่อทำคานเสร็จแล้ว นำเอาใบตองมารองที่คานด้านบนเพื่อทำเป็นพื้น เพื่อไม่ให้สิ่งของที่ใส่ในสะตวงร่วงหล่นลงไป จากนั้นนำเอาทางมะพร้าวมาตัดใบมะพร้าวทบกันทั้งสองด้านบริเวณหัวและท้ายทางมะพร้าวด้วยกรรไกร โดยให้เหลือแส้มะพร้าวไว้ จากนั้นทำการตัดใบมะพร้าวบริเวณหัวและท้ายทางมะพร้าวในแล้วเฉียงโค้งนิด ๆ โดยตัดจากด้านนอกเข้ามาด้านใน หลังจากนั้นทำการตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ใบมะพร้าว โดยเว้นระยะให้เหมาะสม ให้มีทั้งหมด ๕ ช่อง เมื่อตัดเสร็จจะได้ใบมะพร้าวรูปสี่เหลี่ยมคางหมู จำนวน ๖ อัน ทำอย่างนี้กับทางมะพร้าวที่เหลือ จะได้เป็นเสาทางทะพร้าว

๔. จากนั้นนำทางมะพร้าวที่ตัดตกแต่งเสร็จแล้วมามัดกับใบเตยดอกกุหลาบด้วยหนังยางวง ในบริเวณที่เป็นโคนเสา โดยให้หงายเอาฝั่งท้องของทางมะพร้าวออกด้านนอก ทำอย่างนี้ทั้ง ๔ เสา จากนั้นนำเสาทางมะพร้าวแต่ละเสามาวางไว้มุมด้านในของสะตวงเพื่อทำเสา แล้วนำเอาไม้จิ้มฟันมาแทงระหว่างผนังสะตวงกับใบเตยดอกกุหลาบที่โคนเสาในแนวทแยงมุม เพื่อยึดเสาทางมะพร้าวกับสะตวง แล้วทำการผูกด้วยหนังยางวงกับไม้จิ้มฟันที่แทงไปก่อนหน้านี้ ทำอย่างนี้จนครบทั้ง ๔ เสา

๕. จากนั้นเอาหนังยางวงมามัดยอดเสาทางมะพร้าวทั้ง ๔ เสา เข้าด้วยกัน จะเกิดเป็นรูปคล้ายกระโจม แล้วนำเอาดอกดาวเรืองที่เสียบไม้จิ้มฟันตรงโคนดอก แล้วนำดอกดาวเรืองมาเสียบไว้ที่ยอดกระโจมดังกล่าว จะได้เป็นตัวโขมดขึ้นมา จากนั้นนำเอาช่อน้อยหลากสีมาเสียบเรียงกันที่ขอบสะตวง ทั้ง ๔ ด้าน โดยจะเสียบด้านละ ๓ หรือ ๔ อัน ก็ได้ ตามความนิยมของแต่ละบุคคล

๖. เมื่อทำตัวโขมดเสร็จแล้ว ก็นำเอาผักผลไม้หั่นเป็นชิ้นเล็ก ของคาวหวาน หมากคำ เมี่ยงคำ บุหรี่ยาเส้น ผางประทีป และชุดดอกไม้ธูป มาจัดเรียงไว้ในโขมดให้สวยงาม แล้วโปรยกลีบดอกดาวเรืองเพื่อความสวยงามในขั้นตอนสุดท้าย เสร็จขั้นตอนการทำโขมดเล็ก ประเภทเสาทางมะพร้าว

สถานที่ตั้ง
ชุมชนคุณธรรมวัดรมณียาราม
ตำบล ต้นธง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053-510243 โทรสาร 053-510244
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lamphun/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่