ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 18' 35.3758"
15.3098266
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 45' 14.1044"
101.7539179
เลขที่ : 196281
วัดบ้านไร่
เสนอโดย นครราชสีมา วันที่ 22 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 22 มีนาคม 2565
จังหวัด : นครราชสีมา
0 162
รายละเอียด

เป็นวัดที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ขนาดเล็กที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโช ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสรูปแรก สิ่งก่อสร้างภายในวัด มีลักษณะเป็นศาลาเอนกประสงค์สร้างด้วยไม้ หลังคามุงแฝก ศาลาหลังดังกล่าวนั้น ใช้เป็นทั้งที่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณร และใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ได้นำประชาชนพัฒนาวัดโดยก่อสร้างอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ วัดบ้านไร่ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และสร้างโรงเรียนเพื่อให้เด็กบ้านไร่ได้เข้ารับการศึกษาอีกด้วย วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนาม “วัดหลวงพ่อคูณ” ซึ่งเรียกตามสถานที่จำพรรษาของพระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วทั้งประเทศไทย และในแต่ละวันก็จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณเป็น จำนวนมาก วัดบ้านไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ปัจจุบันมี พระภาวนาประชานาถ วิ. (นุช รตนวิชโย) ที่ ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ เป็นเจ้าอาวาส สิ่งที่น่าสนใจ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเคยเป็นที่ตั้งศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ (หลังเดิม) ก่อสร้างโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ กรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้าง เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ แล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื่องจากศาลาการเปรียญหลังเดิมนี้เคยเป็นสถานที่ซึ่งหลวงพ่อคูณใช้จำวัด และสนทนาธรรมกับญาติโยมพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงได้มีการปรับปรุงศาลาการเปรียญ หลังเดิมและบริเวณโดยรอบ เพื่อจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พิพิธภัณฑ์นำเสนอเรื่องราวชีวประวัติของพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) พระเถระที่ได้รับขนานนามว่า “เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด” ผู้มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม เรียบง่าย ถือสันโดษ และเป็นพระนักพัฒนา โดยการจัดแสดงอัตชีวประวัตินับตั้งแต่วัยเยาว์จวบจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ณ วัดบ้านไร่ เมื่อวันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๔๕ น. โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๒ ชั้น จำนวน ๑๐ โซน ชั้นที่ ๑ ประกอบด้วย โซนศรัทธามหาชน โซนภิกษุ สมถะแห่งดินแดนอีสาน โซนเครื่องยึดเหนี่ยวใจใฝ่ทำดี และโซนให้แล้วรวย ชั้นที่ ๒ ประกอบด้วย โซนกำเนิดผู้มีบุญ โซนธุดงค์ โซนธุดงค์ ๓ ประเทศ ๓ พรรษา โซนพัฒนาวัดบ้านไร่ โซนทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัว โซนมรดกทาน มรดกธรรม และโซนมหาทานบารมีทวีคูณ นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณยังมีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ขนาดเท่าองค์จริง ให้ญาติโยมจากทั่วสารทิศที่มากราบไหว้ วิหารเทพพิทยาคม เป็นวิหารขนาดใหญ่อาคารสูง ๕ ชั้น ทรงกลมกว้างประมาณ ๖๐ เมตร กลางบึงขนาด ๓๐ ไร่ ของวัด วิหารประดับด้วยกระเบื้องโมเสกจำนวนเกือบ ๒๐ ล้านชิ้น มีภาพจิตรกรรม และงานปูนปั้นประดับกระเบื้อง โมเสก แฝงด้วยคติธรรมะ มีซุ้มโดยรอบ ๔ ทิศ ได้แก่ ทิศตะวันตก พระพิรุณ ทิศเหนือ พระกุเวร ทิศตะวันออก พระอินทร์ ทิศใต้ พระยม สร้างโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสืบสานและเผยแพร่แก่นของคำสอนในพระพุทธศาสนานั่น คือ พระธรรมจากพระไตรปิฎกทั้ง ๓ ตะกร้า คือ พุทธประวัติ พระวินัย และพระอภิธรรม เสารอบนอกวิหารประดับด้วย ภาพเขียนสีที่วาดลงบนแผ่นเซรามิก ทั้งหมด ๒๘ ต้น ระหว่างเสาเเต่ละต้นจัดเเสดงภาพสัตว์ประจำปีนักษัตร นอกจากนี้ในช่วงเวลาเย็นวิหารจะเริ่มเปิดไฟประดับวิหารซึ่งมีความงดงามสดุดตา เป็นจุดสนใจของผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชม

คำสำคัญ
วัดเก่าแก่
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดบ้านไร่
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 6
ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดบ้านไร่
บุคคลอ้างอิง พระสมุห์อาทิตย์ อนาลโย
ชื่อที่ทำงาน วัดบ้านไร่
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 6
ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30210
โทรศัพท์ 0942711908
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่