ประวัติความเป็นมา
:การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของโรงเรียนวัดเลขธรรมกิตต์วิทยาคม เริ่มมาจากทางโรงเรียนได้สะสมสิ่งของบ้างแล้วและได้มีผู้บริจาคสร้างอาคาร จึงอยากให้เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องใช้พื้นบ้านให้นักเรียนได้ศึกษา
ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพ-รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเปิดพิพิธภัณฑ์
ลักษณะของแหล่ง/ความสำคัญ/อัตลักษณ์/ความโดดเด่น
สิ่งของพื้นบ้านที่นำมาจัดแสดง ส่วนใหญ่ได้มาจากการบริจาคของผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน สิ่งที่เด่นคือ สัญญาเช่ากระบือ ถือเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ใช้กันในสมัยก่อน สิ่งของที่จัดแสดงมีป้ายอธิบายประกอบและได้ทำทะเบียนไว้ทุกชิ้น บริเวณกลางห้องเป็นเครื่องใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ทามหรือสะพานคอควาย ใช้สำหรับรัด
ใต้คอสัตว์พาหนะ ชนาง ใช้ช้อนปลา ดักปลา เบ็ดธง เบ็ดไม้ ใช้สำหรับตกปลาหรือตกกุ้ง ข้องใช้ใส่ปลา สุ่มใช้ดักปลา
พวกของใช้ภายในบ้านมีเชี่ยนหมากทองเหลือง โต๊ะเครื่องแป้งหีบไม้ ตะเกียง ตะกร้า เตารีดปิ่นโต เครื่องครัวมี ไหเต้าเจี้ยว ไหกระเทียมดอง ไหใส่น้ำ โม่หิน หม้อดินกระต่ายขูดมะพร้าว สิ่งของอื่นๆ มีเครื่องพิมพ์ดีด สมุดข่อย ดาบ ซองพลู
ชามกระเบื้อง ตาชั่ง ถังตวงข้าว เลื่อย ลูกคิด ระฆังโบราณ ที่คล้องภาชนะหาบน้ำ หมวกจีน ขันลงหิน ถ้วยรางวัล
หม้อทรงหวดอลูมิเนียม กระด้ง กระบุง ตะกร้าเชี่ยนหมาก ศาลาที่อยู่ติดกัน จัดแสดงเรือ มีเรือสำปั้น เรือสำปั้นเพรียวเรือพายม้า ส่วนเรือที่มีความยาวมาก เรียกว่า เรือม่วงทำจากต้นไม้ทั้งต้น ส่วนเรือลำเล็กเป็นเรือบิณฑบาต ส่วนที่เห็นมีหุ่นแกะสลักรูปคนอยู่ที่หัวเรือ เป็นเรือของกำนันปลา เป็นรูปสลักแทนตัว ซึ่งตอนนี้เจ้าของเรือเสียชีวิตแล้ว สมัยก่อนตำบลบางอ้อมีลำคลองอยู่มากมาย เมื่อเวลาผ่านไปมีการถมคลองเป็นถนนการใช้เรือเป็นพาหนะจึงหายไป นอกจากเรือก็มีเครื่องสีฝัดตั้งแสดงรวมอยู่ด้วย