ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 38' 16.3627"
13.637878514777505
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 40' 24.5815"
101.67349485887449
เลขที่ : 195982
ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
เสนอโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 1303
รายละเอียด

จังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดให้มีการจัดทำผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทราขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตลอดจนเพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน โดยรณรงค์เชิญชวนคนไทย ให้สวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน ซึ่งผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นลวดลายกับส่วนที่เป็นผ้าพื้นส่วนที่เป็นลวดลาย ลวดลายบนผืนผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา สื่อความหมายถึง แสงอรุณของแม่น้ำบางปะกงสะท้อนโบสถ์หลวงพ่อโสธร เป็นการเริ่มต้นวิถีแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต ซึ่งลายเอกลักษณ์นี้ คือลายที่มีรูปร่างด้านบนเป็นสามเหลี่ยม สองชั้น ด้านข้างสามเหลี่ยม เป็นเส้นแนวนอน ปลายเส้นเป็นเส้นทแยงมุม ดูคล้ายหลังคาพระอุโบสถส่วนด้านล่างเป็นแบบเดียวกัน กล่าวคือ วัดโสธรเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวแปดริ้ว ยังเปรียบได้กับพระอุโบสถสะท้อนแม่น้ำ ไม่ว่ามองไปทางพระอุโบสถเป็นรูปทรงแบบใด ลายที่สะท้อนก็จะเป็นแบบนั้น โดยมีความหมายของสีบนลายเอกลักษณ์ ดังนี้

๑) สีเหลือง หมายถึง หลวงพ่อโสธร

๒) สีฟ้าเทา (สีด่อน) หมายถึง หลังคาโบสถ์หลวงพ่อโสธร

๓) สีขาว หมายถึง สายแม่น้ำบางปะกง ที่เป็นแหล่งชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา

๔) สีเลือดนก หมายถึง ธงประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

๕) สีน้ำตาล หมายถึง ความเป็นเมืองเก่าโบราณ มีตำนาน มีความสงบ ความเรียบง่าย ความมั่นคงของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ส่วนที่เป็นผ้าพื้น สีผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ

“สีด่อน” (เหลือบฟ้าหม่น) เป็นสีของกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร มีความพิเศษที่ขนาดกระเบื้องจะเล็กใหญ่ไม่เท่ากันตามระดับความสูง ซึ่งการเลือกใช้สีของกระเบื้องสีด่อนเป็นสีหลักของกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถนั้นเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

คำว่า “ด่อน” เป็นภาษาอีสาน หมายถึง เผือก ขาว หรือด่างขาว เช่น ควายด่อน ก็คือ ควายเผือก มีผิวเป็นสีครีมขาว ซึ่งเมื่อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถกระทบกับแสงแดดจะสะท้อนออกมาเป็นสีฟ้าหม่นที่มีความสวยงาม จึงเป็นที่มาของสีผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยกำหนดการทอด้วยเส้นทางยืน เป็นฝ้ายสีน้ำเงินเข้มเส้นทางพุ่ง เส้นทอ เป็นการใช้ฝ้ายสองสีตีเกลียว (ควบหรือเข็น) ด้วยสีฟ้าและสีขาวให้เป็นด้ายเส้นเดียวกัน แล้วนำมาทอด้วยกี่ทอมือของคนในชุมชนจนออกมาเป็นผืนผ้า เรียกว่า “ผ้าหางกระรอก” จะได้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินที่มีความเก่า ออกเป็นสีหม่นที่ชาวฉะเชิงเทรา เรียกว่า “สีด่อน” ความสวยงามและลวดลายเกิดขึ้นไปตามธรรมชาติของการทอผ้าด้วยมือ ผ้าสีด่อนนี้ ทอโดยกลุ่มแม่บ้านจาก ๒ ชุมชน โดยมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ ได้แก่

๑) กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านนายาว ตั้งอยู่ ณ บ้านนายาว หมู่ที่ ๑๕ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ มีนางบุญเลิศ อาญาเมือง เป็นประธานกลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านนายาว ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๑๕ คน ซึ่งมีที่ทำการกลุ่มอยู่บริเวณศาลากลางบ้านบ้านนายาว

๒) กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านเนินน้อย ตั้งอยู่ ณ บ้านเนินน้อย หมู่ที่ ๒๐ ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2562 มีนางทองใบ จงกฎ เป็นประธานกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านเนินน้อย ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 15 คน ซึ่งมีที่ทำการกลุ่มอยู่บริเวณศาลากลางบ้านบ้านเนินน้อย

ทั้ง ๒ ชุมชนเป็นพื้นที่ที่ประชากรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนืออพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากเป็นจำนวนมาก โดยมีอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก และนำภูมิปัญญาด้านการทอผ้าติดตัวมาด้วย และเกิดการถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น แต่เดิมนิยมทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือเป็นของฝากญาติผู้ใหญ่หรือใช้ในพิธีการต่างๆ โดยจังหวัดฉะเชิงเทราได้มีการรณรงค์ให้ข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สวมใส่ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทราในทุกวันอังคารของสัปดาห์ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปร่วมสวมใส่เครื่องแต่งกายหรือใช้ผลิตภัณฑ์จากผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
บ้านนายาว
หมู่ที่/หมู่บ้าน 15
ตำบล ท่ากระดาน อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายพงศ์ศักดิ์ ประเสริฐสังข์ อีเมล์ cqm275@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000
โทรศัพท์ 038512554
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/chachoengsao
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่