คนมอญบ้านเกาะได้มีการอพยพมาจากหมู่บ้านกะวัก เมือมะละแม่ง ประเทศเมียนมาร์ (พม่า) เข้ามายังไทย และลงหลักปักฐานที่ประเทศไทย ซึ่งคนมอญมีการนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับคนไทย จึงทำให้มีการปรับตัวได้ง่าย เนื่องจากประวัติการอพยพของคนมอญเข้ามาในสมุทรสาครนั้นไม่ได้มีการจดบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กลับพบวัดที่เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของมอญที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัด เช่น วัดเกาะ สร้างเมื่อปี ๒๓๑๘ และวัดบางปลาปี ๒๓๒๐ อุโบสถวัดเกาะ มีรูปแบบ สถาปัตยกรรม อันเป็นศิลปะแบบมอญในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย
กลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากหมู่บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง ประเทศเมียนมาร์ (พม่า) เข้ามายังประเทศไทย และเลือกลงหลักปักฐานอยู่ที่บริเวณชุมชนบ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยลักษณะของพื้นที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่ริมน้ำมีคลองล้อมรอบ วิถีชีวิตส่วนใหญ่จึงผูกพันกับสายน้ำ ผู้คนใช้แม่น้ำเป็นการสัญจรทางหลัก และประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องมาจากสภาพพื้นที่มีการทำสวนและเป็นป่าชายเลน การทำมาหากินในอดีตจึงเน้นการ ทำนา ตัดฟืน เผาถ่าน เย็บจาก เป็นต้น คนมอญบ้านเกาะส่วนใหญ่เป็นคนคนไทยเชื้อสายมอญ ซึ่งในชุมชนบ้านเกาะมีอาชีพเย็บจากในบริเวณชุมชนจึงมีการปลูกต้นจากเป็นส่วนใหญ่ แต่ละส่วนของต้นจากสามารถนำมาทำอาหาร และสร้างอาชีพ
คุณป้าฐานันท์ ชาวบ้านเกาะ และคุณลุงจิตมั่น ชาวบ้านเกาะ เป็นปราชญ์ชาวบ้านในการทำกระทงสะโพก ซึ่งเกิดจากการที่ในบริเวณท้องถิ่นมีการปลูกต้นจากเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการทำเย็บจาก หรือการนำแต่ละส่วนของต้นจากไปเป็นทำอาหาร ซึ่งในส่วนของสะโพกจากเป็นส่วนไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์อะไร คนมอญจึงในส่วนของสะโพกมาทำเป็นกระทงสะโพกจาก และการนำมาประดิษฐ์ของเล่นได้ด้วย จึงมีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน เมื่อถึงประเพณีลอยกระทง คนมอญบ้านเกาะจึงตัดส่วนของสะโพกจากมาประดิษฐ์และการแกะเป็นในรูปแบบต่างๆ เช่น เรือตังเก เรือหางยาว เรือสองตอน และเรือบรรทุก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันการทำกระทงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประดิษฐ์
ที่มา :https://www.77kaoded.com/news/kittikorn/2199566
(https://communityarchive.sac.or.th/community/BanKo)
https://km-ir.arts.tu.ac.th/s/ir/media/1726
https://www.77kaoded.com/news/kittikorn/2199566