เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลเดือน ๑๐ ของชาวภาคใต้ซึ่งใช้ในพิธีทำบุญและตั้งเปรต ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ โดยแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราชจะเรียกขนมชนิดนี้ว่า
“ลาเช็ด” กล่าวคือใช้ไข่แดงผสมน้ำมัน “เช็ด” หรือ “ทา” กระทะ แล้วทอดเส้นแป้งลงไปแล้วตักขึ้นมาเป็นแผ่นลา ส่วนจังหวัดกระบี่ จะเรียกขนมชนิดนี้ว่า “ลาลอยมัน”
คือ ทอดเส้นแป้งลงไปในน้ำมันที่เคี่ยวจนเดือด แล้วยกขึ้นมาทำเป็นรูปต่าง ๆ
ขนมลา จึงใช้เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม เพราะมีลักษณะเป็นเส้นใยเสมือนใยที่ถักทอเป็นผืนผ้าแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
แล้วอุทิศบุญไปให้ “ตายาย” หรือ “เปรตชน” ซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ขนมลาลอยมัน นอกจากจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมทั่วไปแล้ว
ก็จะพัฒนาแปรรูปให้มีลักษณะต่าง ๆ ได้ เช่น ม้วนเป็นทรงกลมยาว หรือทำเป็นรูปหมวกเล็กๆ เป็นต้น ทั้งนี้ภูมิปัญญายังสามารถเก็บขนมลาไว้รับประทานได้นาน โดยนำขนมลามาใส่ไว้ในภาชนะประเภทเครื่องปั้นดินเผาและปิดฝาผนึกไม่ให้ลมเข้าได้ เรียกว่า“ทับลา”ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารที่สืบต่อกันมาเนิ่นนาน
ส่วนผสม
- ข้าวเจ้า
- ข้าวเหนียว
- น้ําตาลทราย
- น้ําตาลจาก นํามาเคี่ยวจนข้นเป็นสีน้ําตาลแดง ชาวบ้านเรียกว่า “น้ําผึ้งจาก” ซึ่งเป็นน้ําตาลที่
สามารถหาได้ในท้องถิ่น หากเป็นพื้นที่อื่นอาจใช้น้ําตาลทรายแทน
วัสดุ/อุปกรณ ์
- กระทะใบใหญ่
- เตาถ่าน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเตาแก็ส)
- ไม้หรือช้อนส้อมไว้เขี่ยขนมลาที่ทอดเสรจแล ็ ้ว
- ผ้าชุบน้ํามันพืชและไข่แดง (ใช้ทากระทะเพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดกระทะ)
- ที่โรยเส้น อดีตชาวบ้านนิยมใช้กะลามะพร้าวแล้วเจาะรูเล็กๆ เรียกว่า “พรกลา” แต่
ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้กระป๋องนมแทน เนื่องจากทําง่าย ทนทานกว่า อีกทั้งสามารถเจาะรูได้เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ
ง่ายกว่าการเจาะกะลามะพร้าว
สภาวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่
สนับสนุนงบประมาณโดย: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม