ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 37' 51.4459"
13.6309572
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 4' 20.1454"
101.0722626
เลขที่ : 195454
กระยาสารทอาภรณ์
เสนอโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 587
รายละเอียด

“กระยาสารทอาภรณ์”ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกของจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำการค้าขายมานานในอดีตการทำกระยาสารทเป็นการทำแบบรวมกลุ่มรวมวัตถุดิบและกวนกระยาสารทกันที่บ้านโดยมีรองศาสตราจารย์วิมลศรี ชำนาญเวช อดีตรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย และคุณยายจิตรเกษม เหล่าสินชัย เป็นคนสำคัญในการทำกระยาสารท เพราะมีฝีมือในการทำอาหารทั้งคาวและหวาน โดยที่บ้านของนายสมภพ วงศ์พยัคฆ์ กำนันตำบลบางกรูดและเป็นคนเชื้อสายมอญ บ้านตั้งอยู่ริมน้ำ มีเรือบรรทุกน้ำอ้อยมาขาย และได้เคี่ยวน้ำอ้อยใส่โอ่ง ซึ่งการทำน้ำตาลอ้อยเป็นภูมิปัญญาของชาวมอญ ทั้งนี้คุณยายจิตรเกษม เหล่าสินชัย เป็นน้องสาวของคุณยายเฮียง (อารีพันธุ์ น้อยใจบุญ) ซึ่งเป็นคุณยายของ กำนันสมภพ วงศ์พยัคฆ์ และเป็นต้นตำรับตำนานกระยาสารทน้ำอ้อยและตำนานถั่วลิสงซอย

ในสมัยก่อนมีการทำไร่ ทำนา ทำสวน กันมาก ซึ่งผลผลิตจากการทำไร่ ทำนา ทำสวน ก็มีเป็นจำนวนมากด้วยจึงเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำผลิตผลดังกล่าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารและขนม “กระยาสารท” เป็นชื่อขนมที่คนไทยรู้จักและทำสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เพราะเป็นขนมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีของไทย คือ ใช้ในการทำบุญสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี โดยคนที่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องนำขนมกระยาสารทไปทำบุญใส่บาตรที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วตามประเพณีสารทไทย ที่ได้ทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวตำบลบางกรูด ในสมัยก่อนจะกวนกระยาสารท ในเทศกาลสารทไทยเดือนสิบ การกวนกระยาสารทนอกจากกวนไว้เพื่อทำบุญสารทเดือนสิบแล้ว ก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องที่ไปอยู่ถิ่นอื่น และแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันในชุมชน นับเป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบสานกันมา ซึ่งกระยาสารทที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย คือ “กระยาสารทอาภรณ์” หรือ “กระยาสารทกำนันมด” ที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำอาหารมาจากบรรพบุรุษชาวบางกรูด โดยเริ่มต้นคุณแม่อาภรณ์ กวนกระยาสารทขายมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และด้วยเกรงว่าสูตรการทำกระยาสารทแบบดั้งเดิมจะสูญหายไปตามกาลเวลา “ผู้ใหญ่มด” (ตำแหน่งในอดีต) จึงคิดว่าตนจะสืบสานภูมิปัญญานี้ไว้เอง ซึ่งจะทำกระยาสารท จำหน่ายในช่วงเทศกาลสารทไทย เพียง ๒ เดือน คือ เดือนเก้าและเดือนสิบ และชื่อเสียงเรื่องความอร่อย หวาน หอม เหนียวนุ่มกำลังดี ไม่มีกระด้าง ชื่อเสียงของกระยาสารทอาภรณ์ นั้นไม่ใช่อยู่ในเฉพาะตำบลบางกรูดเท่านั้น ยังเป็นที่รู้จักของชาวฉะเชิงเทรา มีการนำมาขายตามร้านค้าต่าง ๆ ในตัวจังหวัด ในช่วงเทศกาลสารทไทย โดยเพื่อนของคุณพ่อ คุณแม่ที่ค้าขายในตลาดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แนะนำให้ทำกระยาสารทไปจำหน่ายเนื่องจากเห็นว่าฝีมือดี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คุณแม่อาภรณ์ วงศ์พยัคฆ์ ได้นำกระยาสารทไปฝากขายที่ร้านสมสมัยและร้านธโนดมตามคำแนะนำ โดยได้ตั้งชื่อกระยาสารทตามผู้เป็นเจ้าของ คือ “กระยาสารทอาภรณ์”ต่อมาก่อนที่คุณแม่อาภรณ์ วงศ์พยัคฆ์ จะเสียชีวิตลง ได้ทำการถ่ายทอดการทำกระยาสารทให้กับนายสมภพ วงศ์พยัคฆ์ หรือกำนันมด ไว้เพื่อสืบทอดการทำกระยาสารทต่อไป

กำนันมดได้รับมรดกความพิถีพิถันละเอียดลออในการคัดสรรวัตถุดิบมาจากคุณแม่ แม้เมื่อทำเพื่อขาย ก็ยังคงรักษามาตรฐานเหมือนทำกินเอง กำนันมดคงมาตรฐานทุกส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็น ซื้องาดำมาขัดเอง ให้เป็นงาขาว โดยนำงาที่แช่น้ำไว้มาตำในครกไม้ใหญ่ และใช้ สะโพกจาก ตำงาเพื่อกะเทาะเปลือกให้ออก นับเป็นภูมิปัญญาที่กำนันสมภพรักษาคุณภาพของงา และนำวัสดุที่เตรียมไว้มาอบควันเทียนให้หอมก่อนนำไปกวน ซึ่งจะทำให้กระยาสารทมีคุณภาพแตกต่างจากที่อื่นนั่นเอง

กระยาสารทอาภรณ์ มีวัตถุดิบส่วนผสม ดังนี้

ส่วนผสมของกระยาสารท

  1. ถั่วลิสง นำมาคั่วและซอยให้ละเอียด
  2. งาดำ
  3. ข้าวเม่า
  4. ถั่วเขียวบด
  5. น้ำตาลอ้อย (ในอดีตใช้อ้อยพันธุ์สิงคโปร์ ปัจจุบันใช้อ้อยเปลือกเขียว) น้ำตาลอ้อยที่เคี่ยวดั้งเดิม
  6. ข้าวตอก อบด้วยควันเทียน
สถานที่ตั้ง
กระยาสารทอาภรณ์
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล บางกรูด อำเภอ บ้านโพธิ์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กระยาสารทอาภรณ์
บุคคลอ้างอิง นายสมภพ วงศ์พยัคฆ์
ชื่อที่ทำงาน กระยาสารทอาภรณ์
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล บางกรูด อำเภอ บ้านโพธิ์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์ 038821156
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่