ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 30' 38.4966"
6.5106935
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 57' 53.059"
100.9647386
เลขที่ : 195371
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารโภชนาการ (การทำขนมโค)
เสนอโดย สงขลา วันที่ 28 มกราคม 2565
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 27 เมษายน 2565
จังหวัด : สงขลา
1 1456
รายละเอียด

ขนมโค คือ ขนมโค ขนมพื้นบ้านชาวปักษ์ใต้ คล้ายขนมต้มขาวของคนภาคกลาง เชื่อว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ขนมโคยังมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโค เป็นขนมมงคล ใช้บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือทั้งผีพราหมณ์-พุทธ เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเณศ เป็นต้น

ขนมโคนั้น มีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพราะมักทำขึ้นในโอกาสหรือพิธีทางศาสนา เช่น จะใช้เป็นขนมไหว้เจ้าที่เจ้าทาง หรืออย่างเด็กเกิดใหม่ สมัยก่อนเขาจะทำขนมโค เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือที่เรียกว่า “ตั้งราษฎร์” จะด้วยว่าเป็นขนมที่ทำไม่ยาก วัตถุดิบหาง่าย และรสชาติก็อร่อยแบบพื้นบ้าน จึงนิยมทำกันจนทุกวันนี้ขนมดอกจอก ในสมัยก่อนเป็นที่นิยมมากจะเป็นหนึ่งในขนมที่จัดขึ้นในงานและพิธีการสำคัญต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ไม่แพ้ขนมไทยอย่างทองหยิบ ทองหยอด หรือฝอยทองที่เป็นที่นิยมทั่งในอดีตและปัจจุบัน

ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในราชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น “ของเทศ” เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์

ส่วนผสมการทำขนมโค

  • ๑. แป้งข้าวเหนียว ๑/๒ ถ้วย
  • ๒. น้ำ ๔-๕ ช้อนโต๊ะ
  • ๓. น้ำตาลแว่นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • ๔. สีผสมอาหารหรือสีที่ได้จากธรรมชาติ
  • ๕. มะพร้าวขูด
  • ๖. เกลือ

วิธีการทำขนมโค

๑. ค่อยๆผสมน้ำลงในแป้งและผสมสีตามที่ชอบลงไป นวดจนเนียน แป้งไม่ติด อย่าแฉะหรือแห้งเกินไป พักแป้งไว้ในอ่างปิดอย่างน้อย 1 ชม (หนึ่งพักในตู้เย็น 1 คืน แล้วนำออกมานวดก่อนปั้น)

๒. ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ใส่ไส้น้ำตาลแว่น คลึงให้กลม ขนาดเล็กพอประมาณ แต่ต้องใหญ่พอจะใส่น้ำตาลแว่นได้

๓. น้ำใส่หม้อ ตั้งไฟปานกลางจนร้อน (ถ้ามีใบเตยใส่ลงไปต้มกับน้ำจะได้หอมๆ) นำแป้งขนมที่ปั้นเสร็จไปต้ม พอขนมสุกจะลอยขึ้น ช้อนเอาขนมที่สุกไปคลุกกับมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้ รอให้เย็นแล้วพร้อมเสิร์ฟรับประทานได้

คำสำคัญ
การทำขนมโค
สถานที่ตั้ง
ตำบล จะแหน อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวยาลิณี แวสากอ
บุคคลอ้างอิง อินทิรา แก้วขาว อีเมล์ intira_ka@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 074327147 โทรสาร 074326823
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่